

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ66 นอกจากกระทรวงคมนาคมจะดำเนินการสานต่อเนื่องในโครงการเดิมในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจากปี 65 แล้ว จำนวนกว่า 17 โครงการ ในปีงบประมาณ 66 นี้ คมนาคมจะยังเดินหน้าในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางรางใหม่รวมอีกกว่า 14 โครงการใหญ่ สำหรับโครงการแผนการดำเนินการในปี 66 จำนวน 14 โครงการ ประกอบด้วย 1.มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยายยกระดับอุตราภมิขุ(ดอนเมืองโทลเวย์)(M5) ระยะทาง 22 กม. วงเงินลงทุน 28,700ล้านบาท ,2.โครงการวงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน – บางบัวทอง(M9) ระยะทาง36 กม. วงเงินลงทุน56,035 ล้านบาท เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรบนวงแหวนรอบนอก ,3 .มอเตอร์เวย์ สายนครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กม. วงเงินลงทุน 79,006 ล้านบาท ,4.มอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา(M7) ระยะทาง 1.92 กม. วงเงินลงทุน4,508 ล้านบาท 5.มอเตอร์เวย์ เมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ ระยะทาง 30 กม. วงเงินลงทุน30,896 ล้านบาท และช่วงกะทู้-ป่าตอง ระยะทาง 3.98 กม.วงเงินลงทุน 14,470 ล้านบาท ช่วงนี้ปัจจุบันอยู่ระหว่าวคัดเลือกเอกชนลงทุน คาดเปิดให้บริการปี 70
6.โครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา จ.กระบี่ วงเงินลงทุน 1,849.50 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบ,7.โครงการสะพานข้ามทะเลสาปสงขลา อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา-อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง วงเงินลงทุน4,829.25 ล้านบาท ,8.โครงการ MR-MAP(ทางรถไฟและมอเตอร์เวย์)จำนวน 10 เส้นทางทั่วไทย,9.โครงการเชื่อมเศรษฐกิจฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน(แลนด์บริดจ์) 10.โครงการพัฒนาท่าเรือยอร์ชคลับ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา ซึ่งโครงการดังกล่าจะมีรูปแบบการลงทุนแบบ PPP
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ส่วนการพัฒนาทางด้านอากาศ 11.เพิ่มศักยภาพ สนามบินดอนเมืองระยะที่ 3 มูลค่าลงทุน32,292ล้านบาท ในการปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 1 และ หลังที่ 3 พร้อมทั้งปรับปรุงทางขับ แท็กซี่เวย์ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 70 เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสาร 40 ล้านคน/ปี, 12.พัฒนาสนามบินภูเก็ต ระยะที่ 2 ทั้งการขยายอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ขยายหลุมจอดอากาศยานและจานลอด คาดเปิดให้บริการได้ในปี 70 เพื่อรองรับผู้โดยสาร 18 ล้านคน/ปีจากเดิมรองรับได้ที่ 12.5 ล้านคน/ปี และการพัฒนาสนามบินในท่าอากาศยานภูมิภาคประกอบด้วย 13.ก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง ก่อสร้างทางขับ พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบินโดยต่อเติมทางวิ่งจากเดิมความยาว 2,100 เมตร เป็น 2,400 เมตร ที่สนามบินระนอง และ 14.ออกแบบรายละเอียดอาคารที่พักผู้โดยสารสนามบินมุกดาหาร และ สนามบินบึงกาฬ
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ส่วนโครงการสานต่อในโครงการเดิมในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจากปี 65 จำนวน 17 โครงการ ประกอบไปด้วย โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-โคราช (M6) ,โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี(M81) ,โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว(M82) ,ทางพิเศษสายพระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก ,นอกจากนั้นยังมีโครงการขยายผลที่ได้ทำไว้คือ ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น(M-FLOW)ไปยังมอเตอร์เวย์สายทางอื่นๆ และ ขยายผลโครงข่ายถนนที่รองรับความเร็วสูงสุดไม่เกิน 120 กม./ชม.
ขณะเดียวกันจะเร่งรัดโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า เชียงของ จ.เชียงรายเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางถนนบนเส้นทางสาย R3Aเชื่อมต่อการขนส่งไปยัง สปป.ลาว และจีนตะวันตก(มณฑลยูนนาน)และรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งกับระบบรางผ่านแนวรถไฟทางคู่สาย เด่นชัย-เชียงราย วงเงินลงทุน 2,864 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ได้ทดลองการให้บริการแล้วและอยู่ะหว่างการคัดเลือกเอกชนร่วมทุนในรูปแบบPPP Net Cost นอกจากนั้นเร่งรัดโครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จังหวัดนครพนม รองรับขนส่งสินค้าบนถนนเส้นทางสาย R12เชื่อมต่อไปยัง ลาว เวียดนามและจีนตอนใต้ รองรับการขนส่งผ่านแนวรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนมวงเงินลงทุน 1,361.36 ล้านบาท โดยรูปแบบลงทุนให้เอกชนลงทุน PPP Net Cost มีแผนเปิดให้บริการในช่วงปลายปี67
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ส่วนระบบรางจะเร่งรัดพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในเขต กทม. และ ปริมณฑล ใน4สายทาง คือรถไฟฟ้าชมพูเส้นทางแคราย-มีนบุรีและ ศรีรัช-เมืองทองธานี , รถไฟฟ้าเหลือง เส้นทาง ลาดพร้าว-สำโรง/แยกรัชดา-ลาดพร้าว-แยกรชั โยธิน ,รถไฟฟ้าสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎรบ์รูณะซึ่งขณะนี้เตรียมประกวดราคา เปิดบริการ ธ.ค.70 ขณะที่รถไฟทางคู่นั้นจะมีการดำเนินการระยะท่ี 1 จำนวน 5 สายทางและรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 สายทาง นอกจากนั้นจะเร่งรัดโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ในเส้นทาง กทม.-โคราช และ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา
ส่วนการพัฒนาการคมนาคมทางน้ำนั้นจะเร่งรัดโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ,ปรับปรุงท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา,โครงการพัฒนาท่าเรือบก และโครงการฟื้นฟูชายหาดจอมเทียน ระยะที่ 2 นอกจากนั้นจะเดินหน้าในการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ โดยขณะนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้จัดทำสรุปรายงานผลการศึกษาฯประกอบด้วย การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติและแนวทางการพัฒนากองเรือพาณิชย์ไทยและการจัดตั้งบริษัทสายการเดินเรือแห่งชาติตามหลกัเกณฑ์การจัดตั้ง ร่วมทุน และ การดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ ตามที่ สคร. กำหนด ต่อ คค. เพื่อพิจารณา