“ศักดิ์สยาม” มั่นใจ ”แลนด์บริดจ์ภาคใต้” เกิดแน่! สั่งระดมกึ๋นสรุปที่ตั้งท่าเรือสองชายฝั่งทะเล อ่าวไทย-อันดามัน



นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน(แลนด์บริดจ์) ว่า ได้เร่งรัดติดตามความก้าวหน้า ของโครงการสาคัญ 3 โครงการ คือ  1) โครงการศึกษา ความเหมาะสม ออกแบบ เบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการLand bridge โดยมอบหมายให้ สนข. ดำเนินการ 2) การพัฒนามอเตอร์เวย์เชื่อม Land Bridge มอบหมายให้ กรมทางหลวง ( ทล.) ดำเนินการ และ 3) การพัฒนารถไฟทางคู่เชื่อมLand Bridge มอบหมายให้ รฟท. ดำเนินการ โดยมีนายชยธรรม์พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานติดตามความคืบหน้า  ร่วมกับผู้บริหารทล. การรถไฟฯ

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า การดำเนินศึกษาความเหมาะสม ,ออกแบบเบื้องต้น ,ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการ Land bridge ต้องคำนึงถึงภาพรวมในการขนส่งทางทะเลของโลกด้วย ซึ่งในปัจจุบัน การขนส่งสินค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกใช้เส้นทางผ่านช่องแคบมะละกาเป็นเส้นทางหลัก โดยจากสถิติการขนส่งสินค้าประเภทน้ำมันดิบในปี พ.ศ. 2559 พบว่าปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตจากพื้นที่เอเชียตะวันออกกลาง ขนส่งผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมระหว่างอ่าวเปอร์เซียกับอ่าวโอมาน ประมาณ 19.0 ล้าน บาร์เรลต่อวัน และผ่านทางช่องแคบมะละกา ประมาณ16.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อขนส่งไปยังประเทศ แถบมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ที่มีการนาเข้ามากกว่า 80 %

ในขณะที่ การขนส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ผ่านช่องแคบมะละกาอยู่ที่ประมาณ24.7 ล้านตู้ต่อปี คิดเป็น4.3 % ของปริมาณสินค้าที่ขนส่งทั่วโลก ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ทาให้ท่าเรือสิงคโปร์กลายเป็นท่าเรือที่มีคลังน้ามันและท่าเทียบเรือ น้ามันใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย และเป็นท่าเรือที่มีตู้สินค้าผ่านมากเป็นอันดับ 2 ของโลก 

ดังนั้นพื้นที่ภาคใต้ ของประเทศไทย จึงมีความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ทั้งจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาค สาหรับการเป็นประตูในการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างทวีปต่าง ๆ ของโลก และยังมีความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์จากตาแหน่งที่ตั้งโครงการ ซึ่งสามารถลดเวลาและระยะทางการขนส่ง จากเดิม ทำให้ประหยัดต้นทุนการขนส่งหลีกเลี่ยงปัญหาการติดขัดของช่องแคบมะละกาสามารถจูงใจ ผู้ประกอบการขนส่งและนักลงทุนให้ใช้ประโยชน์จากเส้นทางนี้มากขึ้น