

- โควิด-19 เร่งการเข้ามาของอีคอมเมิร์ซและการจ่ายแบบคอนแทคเลส
- ในประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
- เปิดโอกาสให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ ขณะที่ผู้บริโภคยังคงมีความปลอดภัยในการดำรงชีวิต
โควิด-19 ได้กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการนำอีคอมเมิร์ซ การส่งของถึงบ้าน การจ่ายแบบดิจิทัลและการจ่ายแบบคอนแทคเลสมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างรวดเร็ว โดยอ้างอิงจากผลสำรวจผลกระทบของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจประเทศของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Impact Studies) ฉบับล่าสุด ถึงแม้หลายๆ ประเทศในภูมิภาคเริ่มผ่อนปรนมาตรการต่างๆ และเตรียมพร้อมเข้าสู่ New Normal แต่ผลสำรวจกลับชี้ให้เห็นว่าเทรนด์และพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นเพื่อปรับตัวต่อโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะคงอยู่ในระยะยาว
จากการรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคใน 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อสำรวจผลกระทบของวิกฤตการณ์ต่อทัศนะคติและพฤติกรรมผู้บริโภคและนักธุรกิจ ผลสำรวจชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมระดับภูมิภาคที่เกิดขึ้นคือวีธีการจ่ายเงิน ซึ่งจากการสำรวจผู้บริโภคส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่ามีการใช้เงินสดลดน้อยลง โดยในประเทศไทยน้อยลง 59 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศมาเลเซียและฟิลิปปินส์น้อยลง 64 เปอร์เซ็นต์ และในประเทศสิงคโปร์มีการใช้เงินสดน้อยลงถึง 67 เปอร์เซ็นต์
ในขณะเดียวกันการจ่ายแบบคอนเทคเลสเพิ่มสูงขึ้น โดยในประเทศไทย การจ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือและกระเป๋าเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 27 เปอร์เซ็นต์ การจ่ายผ่านบัตรเครดิตแบบคอนเทคเลสเพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์ และการจ่ายผ่าน บัตรเดบิตแบบคอนเทคเลสเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์
ผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ที่ร่วมทำผลสำรวจระบุว่ามีการทำกิจกรรมออนไลน์มากขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยมีการช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้นถึง 43 เปอร์เซ็นต์ การใช้วีดีโอสตรีมมิ่งออนไลน์มากขึ้นถึง 49 เปอร์เซ็นต์ และการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อข่าวและความบันเทิงเพิ่มขึ้นถึง 55 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของออนไลน์ช้อปปิ้งเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
เมื่อถามถึงกิจกรรมในชีวิตประจำวันภายหลังการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนที่ไปร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าและสถานบันเทิงน้อยลงในช่วงโควิด-19 ระบุว่าไม่คิดจะกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม ในขณะที่การช้อปปิ้งออนไลน์ การส่งของถึงบ้าน และการทำงานจากบ้านมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อในระยะยาว
“โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อทุกคนทั่วโลกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ผู้บริโภคและธุรกิจหลายรายมีการปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัล และการจ่ายแบบคอนแทคเลสอย่างรวดเร็วเพื่อความปลอดภัย และเพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปอย่างเป็นปกติในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ ในขณะที่องค์กรและประเทศต่างๆ เตรียมพร้อมกลับสู่สภาวะปกติ ผู้บริโภคยังมีความกังวลต่อความปลอดภัย โดยเห็นได้จากวิธีการช้อปปิ้งและทำธุรกรรมทางการเงินทั่วภูมิภาค และในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ มาสเตอร์การ์ดมุ่งมั่นใช้พลังของดาต้าช่วยให้ธุรกิจทุกขนาด สามารถปรับตัวและพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคผ่านเครื่องมือทางอีคอมเมิร์ซ การเพิ่มวงเงินการจ่ายแบบคอนแทคเลส พร้อมการเปลี่ยนแปลงไปสู่การจ่ายแบบคอนแทคเลสทั่วภูมิภาคจะถือเป็นหลักสำคัญในการวางกลลยุทธ์ต่างๆ เมื่อนำความรู้สึกและความกังวลของผู้บริโภคเป็นที่ตั้งในการตัดสินใจ ทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐก็จะสามารถก้าวต่อไปอย่างมั่นใจยิ่งขึ้นในท่ามกลางสถานการณ์ เช่นในปัจจุบันและบรรเทาผลกระทบที่จะมากับวิกฤตการณ์ในอนาคต” นายซาฟดาร์ คาน ประธานฝ่ายภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ มาสเตอร์การ์ดกล่าว
มาสเตอร์การ์ดได้นำอีคอมเมิร์ซมาปรับใช้หลายปีก่อนที่จะเกิดสถานการ์ณโควิด-19 เพื่อเพิ่มตัวเลือกและความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคในการช้อปปิ้งและใช้จ่าย ไม่ว่าจะผ่านการแตะบัตรหรือโทรศัพท์มือถือที่จุดชำระเงินแบบคอนเทคเลสในร้านค้า รวมถึงการใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลในสมาร์ทโฟน การซื้อของออนไลน์ และการโอนเงินหรือจ่ายบิลอย่างราบรื่น ในส่วนของร้านค้า ไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ มาสเตอร์การ์ดมีโซลูชั่นและบริการด้านอีคอมเมิร์ซ การชำระเงิน ความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ การป้องกันจากการฉ้อโกง การวิเคราะห์ข้อมูล และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
วิธีการสำรวจ
• สัมภาษณ์ผู้บริโภค 10,000 คนจาก 10 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกผ่านช่องทางออนไลน์
• มีการสุ่มตัวอย่างที่สามารถใช้เป็นตัวแทนของประเทศได้ โดยสุ่มผู้บริโภคจำนวน 300 – 2,000 คนจากประเทศต่อไปนี้: ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวันและไทย
• รายงานเดือนเมษายนถูกจัดทำขึ้นในเดือนมีนาคม 2020 และรายงานเดือนพฤษภาคมถูกจัดทำขึ้นในเดือนเมษายน 2020