มาทำความรู้จักกับ ความปกติในรูปแบบใหม่(New Normal)ที่ชัดเจนในตลาดน้ำมันดิบโลก

  • ปริมาณน้ำมันดิบในสหรัฐฯล้นตลาด
  • เหตุจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ระบาด

ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานอย่างนายมนูญ ศิริวรรณอรรถธิบายว่าการที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส(WTI)ของสหรัฐที่มีราคาลดลงอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 20เม.ย.ที่ผ่านมา ก็เนื่องจากเป็นราคาส่งมอบของเดือนพ.ค.นี้ ที่ได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ที่ถือสัญญาซื้อขายน้ำมันดังกล่าว ซึ่งก็คือกองทุน เก็งกำไรหรือกลุ่มผู้ค้าน้ำมันตลาดโลกต้องจำใจเทขายออกมา เพราะถ้าไม่ขายออกมาก็ต้องแบกรับภาระ สต็อกน้ำมันดิบที่ถือไว้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะในสหรัฐฯเท่านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ค้าน้ำมันรายอื่นๆ ในตลาดโลก
นายมนูญ กล่าวว่า สาเหตุที่ราคาน้ำมันเวสต์เท็กซัสต้องเผชิญวิกฤตราคาตกต่ำอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเพราะขณะนี้ความต้องการใช้น้ำมันในโลกลดลงต่อเนื่อง ในทุกๆประเทศเพราะปัญหาไวรัสโควิด-19 การที่กองทุนเก็งกำไรน้ำมันต้องเทขายน้ำมันเวสต์เท็กซัสออกมา โดยขายในราคาติดลบ 37 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลหรือเท่ากับว่า ต้องแถมเงินให้กับลูกค้าอีก 37 เหรียญต่อบาร์เรล เพื่อระบายน้ำมันที่ล้นสต็อกออกไปโดยเร็วที่สุด ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงวันเดียวคือวันที่20 เม.ย.ที่ผ่านมา เพราะตั้งแต่วันที่ 21เม.ย.เป็นต้นไปราคาน้ำมันเวสต์เท็กซัสก็กลับเข้าสู่ภา วะปกติ เพราะวันที่ 21 เม.ย.เป็นวันเริ่มต้นของราคาน้ำมันดิบสำหรับส่งมอบในเดือนมิ.ย.เป็นต้นไป ซึ่งราคาเวสต์เท็ก ซัสก็ดีดตัวกลับไปที่ระดับ 20 เหรียญต่อบาร์เรลแล้ว

.สถานการณ์บ่งชี้ หากไวรัสโควิด-19 ยืดเยื้อ
.ตลาดน้ำมันดิบของโลกย่ิงดิ่งนรกลงไปอีก
สำหรับกรณีดังกล่าว เป็นสัญญานบ่งชี้ว่าตลาดน้ำมันโลก อยู่ในภาวะปริมาณการผลิตน้ำมันดิบล้นโลก และหากไวรัสโควิด-19 ยังยืดเยื้อ ก็จะทำให้ราคาน้ำมันตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ต่อไปอีกหลายๆเดือน โดยล่าสุดทุกประเทศทั่วโลก ใช้น้ำมันรวมกันวันละ 70 ล้านบาร์เรล ขณะที่กำลังการผลิตจากโอเปกและนอกโอเปกมีกำลังการผลิตรวมกันวันละ 80 – 90ล้านบาร์เรล
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่าแนวโน้มราคาน้ำ มันดิบตลาดโลกในขณะนี้อยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจากตลาดน้ำมัน ยังกังวลเกี่ยวกับความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกชะลอตัวลง ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกหดตัว หลังรัฐบาลหลายๆประเทศประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมไวรัสโควิด-19 อีกทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในสหรัฐและประเทศในทวีปยุโรปยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“โควิด-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก จนทำให้มีการปิดเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้และราคาน้ำมันโลก โดยมุมมองของนักลงทุนในตลาประเมินว่าแม้กลุ่มโอเปก และพันธมิตรจะร่วมกันลดปริมาณการผลิตในเดือน พ.ค.-มิ.ย.นี้ก็อาจไม่มีผลต่อราคาน้ำมันมากนัก ”
นอกจากนี้ จากการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกเมื่อวันที่ 13-19 เม.ย. ที่ผ่านมา พบว่าราคายังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการลดลงต่ำสุดในรอบ 25 ปี และรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯเพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 20.78 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 3.38 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และตลาดเวสต์เท็กซัสเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 20.11 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 4.28 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่เม่ือวันที่ 21 เม.ย.ตามเวลาไทย น้ำมันดิบที่เวสเท็กซัสอยู่ที่ 9.42 เหรียญต่อบาร์เรล

.ข้อมูลดิบจากเทรดเดอร์น้ำมันที่สิงคโปร์ แจง
.ทำไมน้ำมันดิบที่ WTI : เวสเท็กซัสจึงติดลบ!?

1) น้ำมันดิบ Brent มาจากแหล่งในทะเลเหนือ (North Sea) คือทะเลระหว่างเกาะอังกฤษและกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เนื่องจาก Brent มาจากแหล่งในทะเล ค่าขนส่งทางเรือจึงถูกกว่า .. ราคา Brent กินสัดส่วน 2 ใน 3 ของการอ้างอิงราคาน้ำมันดิบในโลก .. OPEC ก็อ้างอิงราคาตาม Brent

2) น้ำมันดิบ WTI มาจากแหล่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่แถบ Texas Louisiana และ North Dakota และเนื่องจาก WTI มาจากแหล่งบนบก ค่าขนส่งจึงแพงกว่า

3) ก่อนยุค 2000 WTI มีราคาต่อบาร์เรลใกล้เคียงหรือค่อนไปทางสูงกว่า Brent แต่หลังจากต้นยุค 2000 เป็นต้นมา สหรัฐฯ ผลิต shale oil (น้ำมันที่แทรกอยู่ในชั้นหิน) ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ supply จากฝั่งสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ทำให้ราคา WTI กลับเป็นฝั่งที่ถูกกว่า Brent ตั้งแต่นั้น

4) ที่ผ่านมา Brent มีแนวโน้มที่จะผันผวนมากว่า WTI เพราะเป็นราคาที่ใช้อ้างอิงกันทั่วโลก (รวมถึงโดย OPEC) ส่วน WTI ซึ่งมีฐานอยู่ในแผ่นดินสหรัฐฯ จะแนวโน้มที่จะผันผวนน้อยกว่า

5) น้ำมันดิบจะซื้อขายกันด้วยสัญญาล่วงหน้า (Futures Contract) ซึ่งมีสัญญาเรียงกันไปเป็นรายเดือน เลือกซื้อขายได้ช่วงเวลาที่ชอบ และตามวัตถุประสงค์ ทั้งที่ใช้ลงทุนในเชิงการเงินและที่ต้องการซื้อขายน้ำมันดิบจริง

6) Brent Futures จะซื้อขายในตลาด Intercontinental Exchange หรือ ICE ส่วน WTI Futures จะซื้อขายในตลาด New York Mercantile Exchange หรือ NYMEX ซึ่ง NYMEX อยู่ภายใต้ Chicago Mercantile Exchange Group หรือ CME Group อีกที

7) Brent Futures ใน ICE จะส่งมอบด้วยเงินสดหรือด้วยน้ำมันดิบจริงก็ได้ ส่วน WTI Futures ใน NYMEX ต้องส่งมอบด้วยน้ำมันดิบจริงเท่านั้น

8) สถานการณ์ล่าสุดเมื่อคืนที่ราคา WTI Futures ในสัญญา Front Month (ชื่อเรียกสำหรับสัญญา Futures ตัวที่ใกล้หมดอายุมากที่สุด ในกรณีนี้คือ พ.ค. 63) ลงไปติดลบ มีเหตุผลใหญ่ ๆ คือ อุปสงค์ของน้ำมันลดลงสถานการณ์จาก COVID-19 แต่อุปทานยังเยอะอยู่ ทำให้อุปทานล้น และเนื่องจาก WTI Futures ต้องส่งมอบกันเป็นน้ำมันดิบจริง ๆ ทำให้คลังน้ำมันกลางของ WTI Futures ซึ่งอยู่ในเมือง Cushing รัฐ Oklahoma เริ่มถูกคาดการณ์กันว่าจะมี capacity ไม่พอเก็บ

9) เมื่อ WTI Futures ต้องสงมอบของกันจริง ๆ และปรากฎว่าสัญญาตัว Front Month จะหมดอายุในวันที่ 21 เม.ย. 63 ทำให้ผู้ที่ถือสัญญานี้อยู่ กังวลว่าจะเจอภาระในการหาที่เก็บน้ำมัน จนเทขายสัญญาออกมา ราคาจึงดิ่งลงมาเรื่อยจากแถว ๆ $20 ลงมาอยู่ในแดนลบในที่สุด (เท่าที่เห็นลบสูงสุดคือ -$38 ตามรูป) .. นั่นหมายความว่า ใครที่ซื้อแล้วถือสัญญานี้ไว้่จนครบอายุ นอกจากจะได้รับน้ำมันดิบแล้ว ยังได้เงินอีก $38 ด้วย แต่จะเอาน้ำมันไปเก็บที่ไหน ณ ต้นทุนเท่าไร ก็ไปว่ากันอีกที .. ซึ่งฝั่งคนยอมขายแบบให้ทั้งน้ำมันและแถมเงิน ก็น่าจะคิดว่าราคานี้คุ้มแล้ว เมื่อเทียบกับต้องไปจ่ายค่าเก็บรักษาน้ำมันเอง เจ็บตัวบ้าง ดีกว่าเจ็บตัวมากกว่า

10) ทั้งนี้ WTI Futures ตัวถัดไปคือ มิ.ย. 63 ที่ยังมีเวลารอส่งมอบ แม้ราคาจะไม่ร่วงขนาดติดลบเหมือนตัว พ.ค. 63 (ที่จะหมดอายุและเตรียมส่งมอบแล้ว) แต่ก็ร่วงถึง 15% เช่นกัน .. ส่วน Brent Futures ที่ไม่ได้มีปัญหาด้านการจัดเก็บ เพราะผลิตใกล้ทะเล มีช่องทางขนส่งออกที่ยืดหยุ่นมากกว่า ราคาก็ร่วงเช่นกัน แต่ไม่มากเท่า แค่ประมาณ 8%

11) แต่ในภาพรวมก็สะท้อนว่า เศรษฐกิจโลกที่เจอปัญหาจาก COVID-19 ในช่วงก่อนหน้า ซึ่งเราอาจจะเห็นผลกระทบในเชิงการเงิน ในเชิงตัวเลข แต่ปัจจุบันเริ่มสะท้อนออกมาในเชิงสิ่งที่จับต้องได้จริงแล้ว นั่นคือ น้ำมันดิบที่มีอุปทานล้นเกินความสามารถในการจัดเก็บ

12) คาดหวังว่าปัญหานี้จะเป็นภาวะระยะสั้น เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ก็อาจสามารถบริหารจัดการน้ำ มันที่รอจัดเก็บได้ดีขึ้น หรือหากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายลง อุปสงค์การใช้น้ำมันก็จะเพิ่มขึ้นเอง จนมาดึงน้ำมันดิบคงคลังออกไปใช้ได้ผลิตน้ำมันขั้นปลายน้ำได้มากขึ้น หรือหากสถานการ COVID-19 ยังลากยาว กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันก็ยังมีทางเลือกในการลดกำกลังการผลิตอีกรอบ เพื่อลดอุปทานที่ล้น และดันให้ราคาในภาพรวมทั้ง Brent และ WTI ให้สูงขึ้นได้ ยกเว้นแต่ OPEC อยากทุบ shale oil ในสหรัฐฯ ซ้ำ ๆ ก็อาจปล่อยให้ราคาถูกติดดินต่อไป เพราะ shale oil มีต้นทุนการผลิตสูงกว่า หากราคาขายต่ำลงมาก ผู้ผลิตก็จะบาดเจ็บและล้มตายกันไปเอง เหลือแต่ฝ่ายที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าที่ยังรอด

13) การที่ราคาน้ำมันดิบขยับลง มักส่งผลกดดันราคาหุ้นพลังงานในตลาดหุ้นไทย รวมถึง SET Index โดยรวม