“พิพัฒน์” พบ 16 สภาองค์การลูกจ้าง ถกแนวทางพัฒนาแรงงาน

“พิพัฒน์” ประชุมหารือ 16 สภาองค์การลูกจ้าง 8 สหภาพแรงงานแลกเปลี่ยนแปลงควาใคิดเห็นการพัฒนาแรงงาน

  • พร้อมสานต่อโครงการดีๆ ที่อดีต รมว.สุชาติ ด้ทำไว้ จะไม่นับหนึ่งใหม่
  • ชี้ประเทศจะพัฒนาได้ จะเจริญได้ ต้องพึ่งพาแรงงานเป็นส่วนสำคัญ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาด้านแรงงานกลุ่มสภาองค์การลูกจ้างต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยมี นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ประธานสภาองค์การลูกจ้าง 16 สภา และประธานสหภาพแรงงาน 8 สหภาพ เข้าร่วมด้วย ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน 

นายพิพัฒน์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ในวันนี้ผมได้มาพบปะหารือกับประธานสภาองค์การลูกจ้าง 16 สภา และประธานสหภาพแรงงานอีก 8 สหภาพ เพื่อรับฟังสภาพปัญหา ข้อเสนอแนะ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆในด้านการพัฒนาแรงงานว่าหลังจากที่ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภาในวันที่ 11-12 ก.ย.นี้แล้ว จะได้มาหารือกันอีกครั้งเพื่อนำนโยบายที่ได้แถลงเกี่ยวกับแรงงานว่าจะเราเดินไปในทิศทางไหนซึ่งในวันนี้สภาองค์กรลูกจ้างก็ได้มีการนำเสนอว่ามีเรื่องอะไรบ้าง รวมทั้งสิ่งที่ท่านรัฐมนตรีสุชาติได้ทำไปแล้วอะไรที่ทำดีอยู่แล้ว ผมจะได้สานต่อ จะไม่นับหนึ่งใหม่ ที่สำคัญกระทรวงแรงงานเราต้องเป็นกระทรวงเศรษฐกิจเต็มรูปแบบเพราะทุกองคาพยพในประเทศไทย ยกเว้นข้าราชการ 

โดยที่เหลือมีผู้ใช้แรงงานเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน เพราะประเทศจะพัฒนาได้ จะเจริญได้ ต้องพึ่งพาแรงงานเป็นส่วนสำคัญ ถ้าเราไม่มีแรงงานที่ดี เราไม่มีการพัฒนาฝีมือแรงงาน ประเทศก็จะไม่เจริญไปกว่านี้ ส่วนเรื่องค่าแรงนั้นขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายให้เรียบร้อยก่อนแล้วจะมาหารือกันว่าจะมีแนวทางอย่างไร

นายพิพัฒน์ ยังกล่าวต่อว่า สิ่งที่สภาองค์การลูกจ้างต้องการให้ผลักดันจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในวันนี้ อาทิ การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องเดิม นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการถูกเอารัดเอาเปรียบของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งจะต้องลงไปดูให้ครบทุกมิติ สิ่งเหล่านี้ผมเอง ผู้บริหาร และข้าราชการกระทรวงแรงงาน จะต้องเดินหน้าร่วมมือไปพร้อมๆ กัน ซึ่งหากมีหากนโยบายอะไรออกไปก็จะต้องขอรับฟังความคิดเห็นชอบจากทุกฝ่ายทั้ง นายจ้าง ลูกจ้าง ข้าราชการด้วย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมแก่พี่น้องผู้ใช้แรงงาน