ปลดล็อกศักยภาพการส่งออกไทยสู่ตลาดโลก

จากการแพร่ระบาดของโควิดทำให้วิถีการดำเนินธุรกิจทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปให้ปรับตัวเข้าสู่ตลาดออนไลน์เร็วขึ้นอย่างก้าวกระโดด 

  • ไทยมีความพร้อมที่จะเติบโตตามการขยายตัวของตลาดออนไลน์ทั่วโลก
  • อีเบย์  จะสร้างโอกาสให้กับผู้ขายชาวไทยได้นำเสนอสินค้าสู่มาร์เก็ตเพลสที่มี
  • เครือข่ายผู้ซื้อมหาศาลมากกว่า 132 ล้านคนในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก

นายวิทเมย์ ไนยนี ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคตลาดเกิดใหม่ของอีเบย์ กล่าวว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 อีเบย์มียอดขายสุทธิ (GMV) 1,820 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีสินค้าพร้อมขายมากกว่า 1,900 ล้านรายการพร้อมผู้ซื้อมากกว่า 132 ล้านคนใน 190 ตลาดทั่วโลก เจตนารมณ์ของเราคือ การส่งมอบพลังและขีดความสามารถ พร้อมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ทุกคนด้วยเทคโนโลยีที่สามารถรองรับผู้ใช้จากทั่วโลก ด้วยการให้บริการแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ที่พิเศษไม่เหมือนใคร จะทำให้สินค้าของคุณเปิดตัวสู่ตลาดและเชื่อมโยงกับลูกค้าทั่วโลกมากกว่า 190 ตลาด” 

“ภูมิภาคแห่งนี้ ดึงดูดคนนับล้านให้เข้ามาเป็นผู้ใช้บริการอีเบย์ที่รวมทั้งผู้ซื้อและผู้ขายซึ่งสุดท้ายแล้วก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกผ่านการซื้อขายและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งในตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีบทบาทสําคัญในฐานะผู้ป้อนสินค้าให้เรา มีส่วนผลักดันให้อีเบย์เติบโตถึงจุดสูงสุดใหม่ ประเทศไทยจึงเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในเรื่องราวความสําเร็จของเรา”

วิทเมย์ ไนยนี ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคตลาดเกิดใหม่ของอีเบย์ 

นายนิษณะ ทวีพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ย้ำถึงความสําคัญของอีคอมเมิร์ซในช่วงโควิดและบทบาทของ DITP ในการส่งเสริมการส่งออกว่า “การแพร่ระบาดของโควิดทำให้ตลาดออนไลน์แข็งแกร่งมากขึ้น และในฐานะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เราตระหนักถึงบทบาทสําคัญของอีเบย์ในการช่วยให้ผู้ขายและส่งออกสินค้าไทยเติบโต แพลตฟอร์มของอีเบย์เป็นประตูสู่ตลาดขนาดใหญ่ที่มีโอกาสมากมายสําหรับผลิตภัณฑ์ไทย ด้วยฐานลูกค้ามากกว่า 132 ล้านราย รวมถึงออสเตรเลียและหลายประเทศในยุโรป ประโยชน์ที่ได้จากการเข้าถึงตลาดและฐานลูกค้าที่กว้างขวางของอีเบย์ ช่วยให้ผู้ขายไทยนำผลิตภัณฑ์ของตนไปโชว์ให้ผู้คนจากหลายประเทศทั่วโลกได้เห็น และขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลาดสากล ที่แข่งขันกันสูงมาก” 

นิษณะ ทวีพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล

นายสิทธิชัย ปริญญานุสรณ์ รองผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (GIT) ได้ย้ำถึงศักยภาพที่ผู้ขายไทยมีในตลาดโลกว่า การแพร่ระบาดของโควิดได้พลิกโฉมพลวัตตลาดการค้าโลกไปอย่างไม่ต้องสงสัย อีคอมเมิร์ซกลายเป็นช่องทางที่ทรงพลังในการสร้างธุรกิจให้เติบโต ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2566 การส่งออกเครื่องประดับ ไม่รวมทองคํา มีการเติบโตต่อเนื่องในอัตรา 5% โดยมีตลาดผู้ซื้อเด่น ๆ เช่น สหรัฐฯ และฮ่องกง การที่อีเบย์มีแพลตฟอร์มที่ช่วยให้เข้าถึงตลาดขนาดใหญ่และกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ผู้ส่งออกเครื่องประดับไทยจึงมีความพร้อมในการเติบโตไปกับเทรนด์ของตลาด นอกจากนี้ เมื่อการท่องเที่ยวฟื้นตัวและนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาเที่ยวเมืองไทย จึงคาดว่าอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทยจะยิ่งมีโอกาสมากขึ้น อีกทั้งมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์และความประณีตของเครื่องประดับไทย ยิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว และเพิ่มโอกาสการส่งออกของผู้ขายอีเบย์ในตลาดโลกอย่างแน่นอน

สิทธิชัย ปริญญานุสรณ์ รองผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ