ปตท.-CEA โรดโชว์ TGIF เจาะนักศึกษาทั่วไทย 11 มหาลัยนำร่อง “จุฬา-ศรีปทุม-มจธ.” ต่อยอดซอฟท์เพาเวอร์ไทย

  • ปตท.จับมือCEAดันโปรเจกต์“TGIF – Technology is Fun”บุกโรดโชว์ทั่วประเทศ11มหาลัย
  • ดึงนิสิตนักศึกษาร่วมอัพสกิลเทคโนโลยีและนวัตกรรมยุคใหม่นำร่อง3สถาบันจุฬาฯศรีปทุมพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปูพรมอนาคตต่อยอดซอฟท์เพาเวอร์ธุรกิจไทยในเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ

นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตทจำกัด (มหาชน) “ปตท.” เปิดเผยว่า ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (สสศ.) หรือ CEA ทำโครงการ TGIF-TECHNOLOGY IS FUN : อัปสกิลเทคโนโลยีใหม่ ปลุกแรงบันดาลใจ ให้ Next-Gen เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับซอฟท์เพาเวอร์ เช่น Metaverse Augmented Reality (AR) Virtual Reality (VR) และVolumatric 360 โดยมุ่งสร้างแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ผลงานและได้ฐานข้อมูลที่มีศักยภาพของกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อนําไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจเป็นซอฟท์เพาเวอร์ของประเทศในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต

โครงการนี้ ปตท.กับ CEA จะร่วมมือกันขับเคลื่อนพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ไทยสนับสนุนเยาวชนทั่วประเทศ 11 สถาบันการศึกษาให้สากลยอมรับครอบคลุมหลากหลายมิติ ตั้งแต่มีนาคม –กันยายน 2566 ล่าสุดช่วงเมษายน 2566 ทำโรดโชว์นำเสนอ 3 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย

กิจกรรมที่ 1 Talk : ฟังการบรรยาย อัปเดตเนื้อหาด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี สมัยใหม่ รวมถึงการเข้ามามีบทบาทต่อสังคมในโลกอนาคต จาก Speaker ชั้นนำของเมืองไทย

กิจกรรมที่ 2 Workshop :  กระตุ้นนักศึกษาร่วมใช้ไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ และได้ทดลองปฏิบัติจริง โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับประกาศนียบัตรจาก ปตท

กิจกรรมที่ 3 Showcase เปิดนวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง  ที่นํามาจัดแสดง เพื่อให้ความรู้ และร่วมสนุกไปพร้อมกันกับ  Drone Metaverse Classroom Virtual Gallery AR และ VR  

ตั้งเป้ารุกสู่กลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศทั้ง นักศึกษา อาจารย์ และผู้ที่สนใจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมกว่า 2,000 คน จากสถาบันการศึกษา 11 แห่ง ได้แก่ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. มหาวิทยาลัยศรีปทุม 3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 4. มหาวิทยาลัยรังสิต 5. มหาวิทยาลัยบูรพา 6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 7. มหาวิทยาลัยนเรศวร8. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 9. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 10. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 11. สถาบันวิทยสิริเมธี(VISTEC) ระยอง

โดยนำร่องจัดทั้งเรียบร้อยแล้ว 3 กิจกรรม ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเข้าร่วมด้วยกว่า 1,000 คนจาก 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อ 14-15 มีนาคม 2566 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 23-24 มีนาคม 2566 และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อ 27-28 มีนาคม 2566 

ตลอดงานแต่ละมหาวิทยาลัยจะปรับเปลี่ยนหัวข้อบรรยายและกิจกรรม Workshop ต่างกันในแต่ละสถานที่ ดังนี้

มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัด Workshop ด้าน Film Production ทดลองทำหนังสั้นด้วยเทคโนโลยี AR, VR, 3D Volumetric ทำกิจกรรม Talk 2 คน 2 หัวข้อ คือ อโรชา กิตติวิทยากุล Product Manager, Entertainment Lighting บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชนนำเสนอหัวข้อแรก How Virtual Production is Changing Landscape of Entertainment Industry   และพัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ บรรณาธิการนิตยสารคิด Creative Thailand  นำเสนอหัวข้อที่สอง เจาะเทรนด์โลก : Tech & Innovation Trends Reshaping the Future   

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรม Workshop  โดย ปณัตตกรกตัญญู CTO, Metaverse XR  สอนเทคนิคการเรียนรู้เทคโนโลยี AR Point Cloud  และจัดกิจกรรม Talk โดยขจร เจียรนัยพานิชย์CEO & Founder, Mango Zero, Rainmaker บรรยายหัวข้อ Data Storytelling 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” (มจธ.)นำโดย พรรษวุฒิเคหสุขเจริญSenior Develop Unity, Metaverse XRจัดWorkshopด้านAR Metaverse Workshopส่วนเสถียรบุญมานันท์CEO & Founder, Metaverse XR จัดกิจกรรมTalkด้านMetaverse, AR, VR, and Synthetic Media | How These Technologies will Reshape Our Future

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen