บพท.เปิดสัมมนา “พหุภาคีสู้ชนะความจน” ชงรัฐบาลใหม่ ดึงผู้ว่าฯ-มหาลัย นำร่อง 7 จังหวัด ปั้นโมเดลแก้จนข้ามรุ่น

  • บพท.ร่วมสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ สัมมนาใหญ่พหุภาคีสู้ชนะความจนชงรัฐบาลใหม่
  • อว.ชี้เป้าเดินหน้านโยบายโมเดลแก้จน” 2 มิติ สร้างคุณภาพชีวิตครัวเรือนมีรายได้และอาชีพ
  • จัดลงนามผู้ว่าจังหวัดกับมหาลัยพัฒนาพื้นที่ปั้นต้นแบบ 7
    • จังหวัดแก้จนข้ามรุ่นให้สำเร็จ

ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวักตรรม (อว.) เปิดเผยว่าได้เป็นประธานเปิดสัมมนาพหุภาคี “สู้ชนะความจน บนฐานพลังความรู้ พลังภาคี” โดยมีเจ้าภาพจัดเป็นหน่วยงานในกระทรวงร่วมกันจัดทั้ง สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จับมือกับหน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาพื้นที่ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาความสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดทำแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (PPAP -Provincial Poverty Alleviation Platform ) สร้างผลลัพธ์ให้เกิดเป็นรูปธรรม

เดินหน้าจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายให้กรรมการจัดทำยุธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในยุทธศาสตร์ที่ 4 มีอยู่ 3 แนวคิด คือ

แนวคิดที่ 1 สร้างกลไกความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจนระดับจังหวัดด้วย 5 ร่วม คือ การใช้ข้อมูลร่วม สร้างกลไกที่มีเป้าหมายร่วม มีโครงสร้างและกติการ่วม ทำยุทธศาสตร์และกิจกรรมร่วม

แนวคิดที่ 2 จัดทำระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนแบบชี้เป้า ทำให้เห็นถึงปัญหาและฐานทุน แบบรายครัวเรือน รายพื้นที่แบบเรียลไทม์ เพื่อค้นหาและสอบฐานพื้นที่ที่จะต้องบริหารจัดการด้วยการสร้างเป้าหมายส่งต่อความช่วยเหลือกับเสียงสะท้อนกลับเพื่อให้ส่วนกลางรับช่วงมาบริหารจัดการให้สำเร็จ

แนวคิดที่ 3 ระบบส่งต่อความช่วยเหลือสรางกลไกคามร่วมมือกับทระบบข้อมูลชี้ตรงเป้าไม่ซ้ำซ้อน ช่วยกันยกระดับครัวเรือน ด้วยการใช้ทรัพยากรและงบประมาณอย่างคุ้มค่า

โดยจะต้องสร้าง “โมเดลแก้จน” ให้ครบ 2 มิติ คือ มิติที่ 1 สร้างคุณภาพชีวิตครัวเรือนเป้าหมาย โดยใช้โครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม สร้างการีส่วนร่วมโดยนำคนจนเข้ามาอยู่เพื่อให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ด้วยวิธีสร้างกองบุญ กองทุนหมู่บ้าน หรือใช้กองทุกสวัสดิการชุมชน มิติที่ 2 อาชีพและเศรษฐกิจ โดยใช้การพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมให้พื้นที่ ทำให้เกิดดห่วงโซ่คุณค่าจากธุรกิจในชุมชนตามฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ (Pro-Poor Value Chain) แล้วบริหารจัดงานแบบพมุ่งเป้าไปถึงขั้นสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ครัวเรือนยากจนได้

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านวิจัยระดับพื้นที่ (บพท.) เปิดเผยว่าบพท.จับมือกับสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดสัมมนาพหุภาคี “สู้ชนะความจน บนฐานพลังความรู้ พลังภาคี” เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2566 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว มุ่งบูรณาการความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนความร่วมมือจากพหุภาคีเพื่อพาประเทศออกจากหลุมดำความยากจน และตอบโจทย์วาระระดับโลกขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) 17 ประการ โดยมีประเด็นเรื่องกำจัดความยากจนและกำจัดความหิวโหย รวมอยู่ด้วย

เพราะความยากจน เป็นปัญหาใหญ่กัดกร่อนรากฐานความมั่นคงสังคมไทยมายาวนาน ขณะนี้ บพท.มุ่ง “ขจัดความจนคนไทยแบบข้ามรุ่น” เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลคนจนในระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน (Practical Poverty Provincial Connext-PPPConnext) สรุป ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2566 พบพื้นที่ 20 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ลำปาง พิษณุโลกเลย สกลนคร มุกดาหาร ศรีสะเกษ นครราชสีมา อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร บุรีรัมย์ สุรินทร์ชัยนาท พัทลุง ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส มีคนจนรวมกันได้ 1,039,584 คน จึงจำเป็นต้องแก้ไขให้ได้แบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ด้วยการสานพลังความรู้จากงานวิจัย เข้ากับพลังความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ-ชุมชน-เอกชน-สถาบันการศึกษา หรือแม้กระทั่งองค์กรทางศาสนา ภายใต้กลไกกระบวนการที่มีการออกแบบและขับเคลื่อนร่วมกัน

ส่วนการจัดสัมมนาพหุภาคีครั้งนี้ต้องการนำเสนอ 5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.ชุดข้อมูลสะท้อนปัญหาความยากจน 2.ชุดความรู้โมเดลแก้จน ที่ผ่านการพิสูจน์ประสิทธิผลทำสำเร็จแล้วในพื้นที่นำร่องครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ 20 จังหวัด3.ชุดประสบการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการแก้ปัญหาความยากจน 4.ชุดมาตรการซึ่งจะเป็นแนวทางขยายผลต่อยอดความร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน

ดร.กิตติ คาดหวังเมื่อเสร็จสิ้นการจัดสัมมนาพหุภาคี ทาง บพท.จะเร่งประมวลข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ ข้อคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ คณาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ตลอดจนสื่อมวลชน พัฒนาเป็นชุดข้อมูลแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำให้สอดคล้องกับบริบทภูมินิเวศน์และภูมิสังคม พร้อมทั้งนำเสนอให้รัฐบาล และรัฐสภา จะได้นำไปใช้ประโยชน์กำหนดนโยบาย และแนวทางมาตรการแก้ปัญหาความยากจนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

ภายในงานมีพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับขับเคลื่อนพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนและยกระดับฐานะทางสังคมซึ่งเป็นตัวของตัวแทน 2 องค์กร คือ องค์กรแรก ผู้ว่าราชการ 7 จังหวัด กับองค์กรที่ 2 อธิการบดีมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ 7 แห่ง ประกอบด้วย “ภาคอีสาน” 3 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด “ภาคใต้” 3 จังหวัด คือ พัทลุง ปัตตานี ยะลา “ภาคเหนือ” 1 จังหวัด คือ ลำปาง ตั้งเป้าเดินหน้านำเสนข้อที่ค้นพบจากงานวิจัยเพื่อนำเสนอเป็นเชิงนโยบาย กลไกและกระบวนการขับเคลื่อนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน (PPAS -Proveincial Poverty Alleviation Sandbox) แบบบูรณาการ และการจัดนิทรรศการเพื่อนำเสนอภาพรวมบวกเข้าผลงานการพัฒนาที่สำคัญต่าง ๆ

สำหรับงานสัมมนาพหุภาคี ตลอดวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่ 8.00-16.00 น.มีผู้ทรงคุณวุฒิที่ถึงพร้อมด้วยข้อมูลความรู้และประสบการณ์แก้ปัญหาความยากจน ขึ้นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เช่น นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันทำหน้าที่ประธานสภานักธุรกิจตลาดทุนไทย ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และประธานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณกรรมการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

นายฉัตรชัย พรพมเลิศ ประธานคณะกรรมการบริหาร บพท. กล่าวว่า ปี 2566 นับเป็นอีกก้าวของความสำเร็จภารกิจงานแก้จนด้วยโครงการ “พัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดปัญหาความยากจน หรือ SRA -Strategic Reserch Areas ของตัวแทนสององค์กรที่ได้ลงนามร่วมกันทั้ง 7 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ดพัทลุง ปัตตานี ยะลา พร้อมจะเดินหน้าจจัดความยากจนและยกระดับฐานทางสังคม บนหลักการสำคัญ 2 ด้าน คือ

ด้านที่ 1 ยุทธศาสตร์ จะต้องทำให้ครบ 4 เรื่อง คือ การคลี่คลายปัญหาความยากจนใน 7 จังหวัดให้ได้ภายในปี 2570 ยกระดับจังหวัดยากจนเพิ่มระดับให้ดีขึ้นกว่าฐานเดิม ลดหนี้สินครัวเรือน และ ยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างกลไกและกระบวนการบูรณาการ แก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม

ด้านที่ 2 การวิจัย ทางบพท.จะทำแบบอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาความยากจนและการพัฒนาบทบาทวิจัย 3 ประการได้แก่ 1.ยกระดับนวัตกรรมทางเทคโนดลยีแก้จนให้สอดคล้องกับศักยภาพกลุ่มเป้าหมายและบริบทของแต่ละพื้นที่ 2.บูรณการทำงานวิจัยของทั้ง บพท.และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) 3.มุ่งให้สถาบันวิชาการเป็นสถาบันความรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen