นโยบายด้านสาธารณสุขพรรคก้าวไกล

-ตรวจสุขภาพประจำปีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต พร้อมกับให้ค่าเดินทางสำหรับเดินทางมาตรวจสุขภาพ

-ตรวจสุขภาพประจำปี รวมคัดกรองมะเร็ง 6 ชนิดฟรี สำหรับกลุ่มเสี่ยง

-วัคซีนเพิ่มเติมฟรีในเด็กและผู้ใหญ่

-ให้แว่นตาฟรี สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่มีปัญหาทางสายตา อยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

-สุขภาพดี มีรางวัล (Health Score) เช่น ได้รับคูปองอาหารอินทรีย์/สินค้าสุขภาพ 300 บาท/ปี หรือรางวัลอื่น ๆ ที่จูงใจประชาชนให้รักษาสุขภาพ

-ทบทวนสิทธิประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ และกองทุนประกันสังคม  โดยจะทบทวนบัญชียาหลักในระบบและสิทธิประโยชน์ในกองทุนสุขภาพให้เท่าทันกับวิทยาการทางแพทย์

-กำหนดให้มีการตรวจสุขภาพจิตฟรี รวมเข้าไปในแพคเกจของการตรวจสุขภาพประจำปีตามสิทธิการรักษาพยาบาลของประชาชน

-ดูแลสุขภาพจิตครบวงจร เพิ่มบุคลากร-ขยายบัญชียา-ใช้เทคโนโลยี

-จัดตั้งคลินิกเยาวชน เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการดูแลปัญหาด้านสุขภาพจิตให้เยาวชนโดยไม่จำเป็นต้องรายงานกับผู้ปกครองหรือโรงเรียน (ที่บางครั้งเป็นสาเหตุของปัญหา) และทำหน้าที่คัดกรองเบื้องต้นก่อนส่งต่อ

-สร้างสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี

-สร้างแนวหน้าสุขภาพจิต ช่วยดูแล-บำบัด-ฟื้นฟูสุขภาพจิตของคนใกล้ตัว

-ยกระดับ รพ. สต. และศูนย์สาธารณสุขชุมชน Primary Care Unit (PCU)

-ปลดล็อกระบบการแพทย์ออนไลน์ Telemedicine

-ยุติการตั้งครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ รับยาฟรี ทุก รพ.สต.

-ลดความแออัดในโรงพยาบาล – ห้องฉุกเฉิน (ER) กันไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน

-ส่งต่อ-หาเตียงแบบไร้รอยต่อ ด้วยศูนย์รวมเตียง-ระบบเชื่อมข้อมูลสุขภาพ

-เพิ่มยอดบริจาคอวัยวะเชิงรุก ถามทุกครั้งที่ทำบัตรประจำตัวประชาชน

-กองทุนดูแลผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยติดเตียง งบประมาณเฉลี่ย 9,000 บาท/คน/เดือน

-ศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในชุมชน อย่างน้อยอำเภอละหนึ่งแห่ง

-จัดตั้งธนาคารอุปกรณ์ให้ยืมอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (เช่น เครื่องปั๊มออกซิเจน เครื่องให้ยาชั่วคราว) โดยให้เทศบาลหรืออบต. เป็นผู้บริหารจัดการธนาคารอุปกรณ์ โดยเป็นผู้จัดซื้ออุปกรณ์ให้ประชาชนยืม หรือรับบริจาคจากประชาชนหรือภาคเอกชนที่ประสงค์จะสนับสนุนอุปกรณ์

-เพิ่มสวัสดิการวันลาสำหรับแรงงาน เพื่อดูแลพ่อแม่ที่ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยการเพิ่มไปในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

-อนุญาตให้บุคคลที่ป่วยจากโรคทางกายที่รักษาไม่ได้ มีสิทธิเข้าสู่กระบวนการยุติชีวิตตนเองอย่างมีศักดิ์ศรีโดยความช่วยเหลือจากแพทย์ โดยผู้ทำต้องมีสติและได้รับการรับรองโดยจิตแพทย์ว่าไม่มีอาการป่วยทางสุขภาพจิต

-ลดชั่วโมงการทำงานบุคลากรทางการแพทย์  เช่นกำหนดชั่วโมงการทำงานของแพทย์ไม่เกิน 60 ชั่วโมง/สัปดาห์ ,กำหนดให้ได้พัก 8 ชั่วโมง หลังจากทำงานมาแล้วติดกัน 24 ชั่วโมง, กำหนดให้ได้พัก หากทำงาน 24.00-08.00 น. (เวรดึก), ลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ (เช่น เอกสารที่ไม่จำเป็น)

-ค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์เป็นธรรม

-พัฒนา อสม. เฉพาะทาง

-เปลี่ยนอาสากู้ชีพเป็นอาชีพ มีทุนพัฒนาทักษะ-สวัสดิการ

โปรดติดตามพรรคต่อไป……