ทอท.วิ่งสู้ฟัดหลังโควิดทำธุรกิจการบินวูบยาวเดินหน้าลุย Airport City ดึงเอกชนลงทุนในที่ดิน 2 ผืนงามหวังปั้นรายได้ต่อยอด

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) เปิดเผยถึงแผนดำเนินงานในปีงบประมาณ  2564  โดยยอมรับว่ายังเป็นปี ที่ธุรกิจสนามบินพาณิชย์  ยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิดทั่วโลก และรายได้หลักของผู้ให้บริการสนามบิน ที่ มาจาก 2 ส่วนหลัก คือ 1.รายได้จากธุรกิจการบิน (Aero)  ทั้ง ฤดูร้อน กับฤดูหนาว แต่ในปัจจุบันชัดเจนว่า ในไตรมาส 1-2  หรือเดือนมกราคม-มิถุนายน  การบินระหว่างประเทศ  แบบบินตามตารางบินยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้   โดย ทอท. ได้มองข้ามไปเริ่มต้นในการบินช่วงฤดูหนาว  หรือ  ปลายเดือนตุลาคมปีนี้  โดยตามปกติสายการบินทั่วโลกจะเริ่มวางแผนจัดตารางบินช่วงเมษายนของปี    

ดังนั้นจึงคาดการณ์ในเรื่องของรายได้ของปี 2564     ทอท.จะยังไม่ฟื้นอย่างแน่นอน   เพราะตามปีงบประมาณ ซึ่งจะสิ้นสุดเดือนตุลาคมของปี  ถึงแม้สถานการณ์เที่ยวบินจะดีขึ้น  แต่ก็ต้องไปนับรวมอยู่ในปีงบประมาณ  2565

นายนิตินัย กล่าวว่าใน ปี   2564  เที่ยวบินในประเทศก่อนเกิดเหตุการณ์ระบาดระลอกใหม่ ในจังหวัดสมุทรสาคร ปริมาณผู้โดยสาร เกือบกลับสู่ภาวะปกติ  เฉลี่ยวันละ 200,000 คน ซึ่งเดิมจะเป็นผู้โดยสารต่างประเทศบินมาต่อเครื่องในประเทศ 80,000 คน คนไทย 120,000 คน  แต่ใน ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 มีคนไทยบิน  เฉลี่ยเกือบวันละ 200,000 คน แทบจะไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติเหมือนในอดีต   แต่พอเกิดการแพร่ระบาดใหม่อีกครั้งบางสนามบิน ในกำกับ ของ  ทอท.มีปริมาณผู้โดยสารลง  เฉลี่ยเหลือประมาณ 60,000-70,000 คน/วัน 

สำหรับรายได้ในส่วนที่ 2คือ รายได้ในเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการบิน (Non Aero Revenue) ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าไปด้วยดีทั้ง 4 โครงการ ได้แก่ 1.การจัดทำดิจิทัลแพลตฟอร์ม 2.Certify Hub Cargo หรือ การออกใบรับรองศูนย์กระจายสินค้าขนส่งทางอากาศ เมื่อธันวาคม 2563 ได้มีการจัดตั้งบริษัทเสร็จเรียบร้อย พร้อมเปิดให้บริการได้ประมาณเดือนมิถุนายน 2564

และ 3.ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ   ในโครงการการสร้างเมืองการบิน  หรือ  Airport City ซึ่งจะแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนแรก พื้นที่เช่าจากกรมธนารักษ์  ในบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ  เนื้อที่ 700 ไร่เศษ ซึ่งล่าสุด ทอท. ได้เสนอกรมธนารักษ์ ขอแก้ไขปรับปรุงสัญญาเช่าใช้ที่ดิน   หากกรมธนารักษ์ พิจารณาเสร็จเรียบร้อย สัญญาฉบับใหม่จะขยายการเช่าจากปัจจุบันสุดสุด ปี 2575  เป็น 2595   หรือเพิ่มอีก 20ปี  เพื่อให้เปิดทางให้โครงการขนาดใหญ่สามารถเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการได้ ส่วนที่ 2 ทอท.ได้ซื้อที่ดินโดยเป็นเจ้าของเอง   ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว  ทอท.ได้จัดซื้อตอนจัดสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และย้ายชุมชนออกไป 723 ไร่ ซึ่งปัจจุบันเหลือพื้นที่ใช้ประโยชน์กว่า 600 ไร่  

นอกจากนี้ ยังมี ธุรกิจที่สามารถเข้ามาลงทุนได้ เบื้องต้น จะต้องเกี่ยวเนื่องกับการบิน เช่น ศูนย์ฝึกอบรมทางการบิน (Training Center) ศูนย์กระจายสินค้าขนส่งทางอากาศ (Cargo) ซึ่งจะเชื่อมโยงกับโครงการ Cargo Cirtifly Hub เพื่อความคล่องตัวทางการค้าระหว่างภูมิภาค