“ททท.-ดาราศาสตร์ชาติ” ปลุกกระแส Dark Sky Tourism บูม 12 พื้นที่อีสาน โกยเรียบหนุนขึ้นทะเบียนเพิ่มทั่วไทย



  • ททท.กอดคอ “องค์การสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ปลุกกระแสเที่ยว “Dark Sky Tourism”
  • นำร่องแนะนำเส้นทางพร้อมคู่มือทัวร์ 12 พื้นที่ “ภาคอีสาน” กวาดไปมากที่สุด
  • เผยยังเปิดรับพื้นที่สนใจขอขึ้นทะเบียนได้ 4 โซน
  • “เขตอนุรักษ์ในอุทยานแห่งชาติ-ท้องถิ่น-โรงแรม/รีสอร์ต ฟาร์ม-ชานเมือง” 2 ประเภท “ท้องฟ้ามืด+พื้นที่ส่วนบุคคล”

ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.จับมือกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ส่งมอบประสบการณ์ใหม่ด้วยโครงการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์หรือ “Dark Sky Tourism” ตั้งแต่ฤดูหนาวปลายปี 2565 เป็นต้นไป โดได้แนะนำเส้นทางท่องเที่ยวดูดาวทั่วไทย ภายใต้แนวคิด “Amazing Dark Sky in Thailand” พร้อมกับประกาศพื้นที่ท่องเที่ยวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย 12 แห่ง และเปิดตัวคู่มือท่องเที่ยว “ชวนเธอ ไปชมดาว” ต้อนรับปีท่องเที่ยวไทย2565 – 2566 -Visit Thailand Year 2022 – 2023 : Amazing New Chapters”

กิจกรรมท่องเที่ยวดูดาวทั่วไทย ททท.มุ่งขยายฐานกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจพิเศษ (Hyper Personalization) ที่ชื่นชอบการดูดาว สนใจในด้านดาราศาสตร์ ชมปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง เช่นสุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก หรือชมความสวยงามของดวงดาวต่าง ๆ และกลุ่มดาวจักรราศีที่ปรากฏในท้องฟ้าแต่ละเดือน  

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  กล่าวว่า โครงการ Dark Sky in Thailand หรือ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยที่ได้ร่วมกับ ททท.ทำกิจกรรมมาตั้งแต่ปี 2563 รณรงค์ให้สังคมตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากมลภาวะทางแสงและอนุรักษ์ความมืดของท้องฟ้ายามค่ำคืนผ่านการจัดตั้งเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด

ขณะนี้มีสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแต่ละประเภท ซึ่งท้องฟ้ามีความมืดอย่างเหมาะสม พร้อมวิธีบริหารจัดการแสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพปราศจากแสงรบกวน เป็นพื้นที่เปิดโล่งซึ่งสามารถสังเกตท้องฟ้าได้โดยรอบ มองเห็นดาวเหนือ และวัตถุท้องฟ้าเด่น ๆ ได้ด้วยตาเปล่า รวมถึงมีบุคลากรในพื้นที่ที่สามารถให้ความรู้ทางดาราศาสตร์เบื้องต้นแก่นักท่องเที่ยวได้ พร้อมมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แก่ผู้มาใช้บริการ เช่น เส้นทางคมนาคม ห้องน้ำ ที่พัก ร้านอาหาร เป็นต้น  

ปี 2565 ได้จัดพิธีมอบโล่และขึ้นทะเบียนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยขึ้นเป็นปีแรกภายใต้แคมเปญ“Amazing Dark Sky in Thailand” ขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย 12 แห่ง มีระยะเวลาการขึ้นทะเบียนรวม 3 ปี ดึงดูดทั้งคนไทยและต่างชาติใช้เป็นสถานที่ถ่ายรูปของกลุ่มนักดาราศาสตร์สมัครเล่นด้วย

สำหรับ 12 พื้นที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณมีทั้งอุทยานท้องฟ้ามืด หลัก ๆ จะมี 4 โซน คือ

โซนที่ 1 เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด กระจายอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ

โซนที่ 2 ชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด (Dark Sky Communities) คือ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้านเทศบาล ตำบล

โซนที่ 3 เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดส่วนบุคคล (Dark Sky Properties) คือ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล เช่นรีสอร์ท โรงแรม ฟาร์ม ศูนย์การเรียนรู้

โซนที่ 4 เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง

ขณะนี้ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว 12 พื้นที่ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ท้องฟ้ามืด 6 พื้นที่คือ 1.อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จ.เชียงใหม 2.อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชบุรี ใน จ.ชัยภูมิมี 3 แห่งคื 3.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกระมัง 4.อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม 5.อุทยานแห่งชาติภูแลนคา 6.ชุมชนออนใต้ อำเภอสันกำแพง จ.เชียงใหม่

ประเภทที่ 2 เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดส่วนบุคคล  อีก 6 พื้นที่ ซึ่งมีมากที่สุดในอำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา ถึง 4 แห่งได้แก่ 1.ไร่องุ่นไวน์ อัลซิดินี่ 2.ไร่องุ่นไวน์กราน-มอนเต้ 3. เดอะเปียโน รีสอร์ท 4.โรงแรมเรนทรี เรซิเดนซ์ เขาใหญ่และใน อำเภอมวกเหล็ก จ.สระบุรี อีก 2 แห่ง คือ 5.สนามมวกเหล็ก เอทีวี 6.บ้านไร่ยายชะพลู

ทางองค์กรได้เปิดให้พื้นที่ที่สนใจสมัครขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยได้ที่https://darksky.narit.or.th/  

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza,www.facebook.com/penroongyaisamsaen