ททท.ดันท่องเที่ยวนคราธานี 3 จังหวัด 3 เดือนโกย 2.7 พันล้าน ครึ่งหลังปี’66 ชูขายอีสานเขียว เที่ยวหน้าฝน 6 เส้นทาง 5 ตลาด

  • ททท.นำท่องเที่ยวนคราธานี” 3 จังหวัด อุดรธานีหนองคายบึงกาฬครึ่งปีแรกทำรายได้เกินเป้าเฉพาะ ..-มี..66 โกย 2,772 ล้านบาท
  • ลุยขายอีสานเขียวเที่ยวหน้าฝน ปลุกกระแสตลาด 5 สายมูเตลูศรัทธาธรรมชาติครอบครัวผู้สูงวัยขาย 6 เส้นทาง
  • บึงกาฬไฮไลต์ถ้ำนาคากับวัดป่าเมืองเหือง และน้ำตกกินรีอุดรพิพิธภัณฑ์พระธาตุพระอริยสงฆ์ไทยกับชุมชน
  • หนองคายวัดเทพพลประดิษฐาราม เปิดแผนตลาดปี’67 ชูธีมกินแล้วได้ ไหว้แล้วปังบูมอาหารถิ่น โรงแรม พลังศักดิ์สิทธิ์

นางธนภร พูลเพิ่ม ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุดรธานี เปิดเผยว่า พร้อมเดินหน้าขาย “อีสานเขียวเที่ยวหน้าฝน” หรือ Green Season “นคราธานี” ซึ่งมีพื้นที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในความรับผิดชอบ 3 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ พุ่งเป้ากระตุ้นนักท่องเที่ยว 5 ตลาดหลัก 1.สายมูเตลู 2.สายศรัทธา 3.สายธรรมชาติ 4.ครอบครัว 5.ผู้สูงวัย ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามความชื่นชอบ ขณะนี้มีเที่ยวบินตรงเข้าออกอุดรธานี วันละ 54 เที่ยวบิน โดยมีทั้งต่างชาติและคนไทย ตัวอย่างการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงของนักท่องเที่ยวจีนมาทางรถไฟความเร็วสูงผ่านหนองคายเดินทางต่อมายังอุดรธานีเพื่อขึ้นเครื่องไปเที่ยวเมืองไทยต่อในกรุงเทพฯพัทยา และภาคอื่น 

สามารถสร้างกระแสการเที่ยวข้ามภาคทั้งคนไทยและต่างชาติเดินทางได้สะดวกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพรวมตามปีงบประมาณ 2566 ตลอดครึ่งปีแรก ระหว่าง 1 ตุลาคม 2565-30 มีนาคม 2566 พื้นที่ท่องเที่ยว “นคราธานี” ประสบความสำเร็จทำรายได้เติบโตเกินเป้าหมาย

ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาการท่องเที่ยวสรุป 3 เดือนแรก มกราคมมีนาคม 2566 ในอีสานทั้ง  3 จังหวัดสามารถสร้างรายได้รวมไม่น้อยกว่า 2,772 ล้านบาท จากผู้เยี่ยมเยือน 1.646,457 ล้านคน

ททท.จึงเดินหน้าเร่งนำเสนอขายสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีสานเขียวเที่ยวหน้าฝน จะเริ่มเปิดอย่างคึกคักต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกสาย นำร่องด้วย “สายมูเตลูและสายศรัทธา” เริ่ม มิถุนายนนี้  2 เส้นทาง ได้แก่

เส้นทางที่ 1 “ถ้ำนาคา” อุทยานห่งชาติภูลังกา .บึงโขงหลง .บึงกาฬ ที่สุดแห่งศรัทธา เริ่ม 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป ตอนนี้กลับมาเปิดให้บริการท่องเที่ยวตามปกติแล้ว และทางอุทยานแห่งชาติฯ ประกาศข่าวให้นักท่องเที่ยวเข้าไปได้เพิ่มเป็นวันละ 1,000 คน จากเดิมวันละ 700 คน ผ่าน 2 ช่องทาง คือ ช่องทางที่ 1 เข้าไปลงทะเบียนทางแอพลิเคชั่นQueQ ช่องทางที่ 2 วอล์คอินนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังอุทยานแล้วซื้อบัตรโดยไม่ต้องจองล่วงหน้าได้ เพื่อผ่อนคลายตามสถานการณ์โควิดปัจจุบัน แต่ยังคงรักษาใช้กฎเข้มด้านมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัย ก่อนเดินทางแนะนำไปเข้าไป portal.dnp.go.th  หรือโทร.081-725-2684, 084-792-3505

เส้นทางที่ 2 วัดป่าเมืองเหือง .เมือง .บึงกาฬ เชื่อมต่อจากถ้ำนาคา ล่าสุดได้รับการเสนอชื่อเป็น Unseen New Chapters มีพระพุทธรูปหน้าทอง พร้อมพระอุโบสถสีทอง และปู่ย่าให้กราบไหว้ขอพร

ส่วน “นักท่องเที่ยวสายธรรมชาติ” ที่ชื่นชอบความเย็นสีเขียวรอบตัวแนะนำ 1 เส้นทาง “น้ำตกกินรี” .บึงโขงหลง.บึงกาฬ เป็นจุดเช็คอินช่วงหน้าฝนต้นไม้ป่ากับต้นมอสจะขึ้นตามโขดหินธรรมชาติสวยงามมาก มีหินลักษณะเป็นรูปโลมา พ่อแม่ลูก ตื่นตาตื่นใจสำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม

ขณะที่ “นักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวและผู้สูงวัย” ได้จัดเตรียมแหล่งท่องเที่ยวรองรับโดยจะเน้นท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เที่ยวง่าย สะดวกสบาย 3 เส้นทาง ได้แก่

เส้นทางที่ 1 การท่องเที่ยวในชุมชุม นำร่องโดยนครอุดรธานี นำเสนอ พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี สามารถชิมอาหารถิ่นอย่าง น้ำดื่มสมุนไพรกับชาดอกจานซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด รวมทั้ง “ข้าวจี่สูตรดั้งเดิมต้นตำรับ มีเนื้อหาเล่าเรื่องราว มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวร่วมทำ D.I.Y.สูตรวิถีพื้นบ้านข้าวจี่สูตรใส่เกลือธรรมดา กระทั่งพัฒนาฟิวชั่นชุบฟักทองและสารอาหารอื่น  ขณะนี้มีชุมชนบ้านเดื่อ ชุมชนประโค สร้างสรรค์ขายการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์และยั่งยืนเปิดทุกวัน

เส้นทางที่ 2 พิพิธภัณฑ์พระธาตุพระอริยสงฆ์ไทย .หนองบัว .เมือง .อุดรธานี สถานที่เก็บอัฐิพระเกจิในอีสานและทั่วเมืองไทยทั้งหมด โดยมีคุณขรณีเก็บสะสมมาเรื่อย  กระทั่งไปปรึกษากับพระเกจิท่านหนึ่งแนะนำให้จัดทำสถานที่ขึ้นมาเพื่อให้เผยแพร่ให้คนอื่นมาร่วมบุญด้วย ปัจจุบันมีกิจกรรมพระเกจิอาจารย์ในวันสำคัญทางศาสนา เป็นที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานของเยาวชน และผู้ใหญ่ ร่วมกันด้วย เป็นอีก 1 Unseen New Chapters ที่ได้รับการเสนอชื่อให้คนทั้งประเทศเข้ามาร่วมโหวต ตอนนี้มีคะแนนเสียงโหวตติดอันดับ 6

เส้นทางที่ 3 วัดเทพพลประดิษฐาราม (วัดสิริเทพพล.เวียงคุก .เมือง .หนองคาย อายุกว่า 100 ปี ช่วงเปิดวัดเปิดโบสถ์จะเห็นแสงทองส่องมายังพระพุทธรูป จึงเรียกกันว่า “แสงธรรม” จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้คนทุกกลุ่มเดินทางมาได้ตลอดทุกวัน

ผอ.ธนภร กล่าวว่า ช่วงครึ่งปีหลัง ตั้งแต่กรกฎาคมกันยายน 2566 เดินหน้าทำ “โครงการ The Link” ตามคอนเซปต์ Local to Local ในชื่อแคมเปญ “เอาข้าวหลาม(พัทยามายามข้าวจี่ (อีสาน)” ระหว่าง “นคราธานี 3 จังหวัด กับพัทยา .ชลบุรี” ตามพฤติกรรมความสนใจชาวอีสานชอบเที่ยวทะเล ส่วนคนในพัทยาก็จะมาเที่ยวสายมูและสายธรรมชาติ ด้วยกลยุทธ์การนำตัวแทนบริษัทท่องเที่ยวกลุ่มซื้อ และสื่อต่าง  มาจับคู่เจรจาซื้อขายพร้อมกับลงสำรวจพื้นที่เพื่อนำกลับไปรีวิวกระตุ้นคนสนใจมาเที่ยวแลกเปลี่ยนข้ามภาค ทำให้เกิดจุดขายใหม่ ได้แก่ 1.เส้นทางการท่องเที่ยว 2.การจัดกิจกรรมเพื่อสื่อให้ทุกคนเห็นภาพการท่องเที่ยวสะดวกสบายสามารถเดินทางข้ามภาคได้ง่ายมาก

ขณะนี้พื้นที่ “นคราธานี” ยังได้ทำแผนการตลาดท่องเที่ยวปี 2567 ต่อยอดทำแคมเปญ “กินแล้วได้ ไหว้แล้วปัง” รองรับ 2 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มครอบครัวและผู้สูงวัย โดยจะเพิ่มกิจกรรมในชุมชนมากขึ้น จากปี 2566 ชูขาย “มูกลางคืนก็ปัง มูกลางวันก็เฮง” พร้อมกับรณรงค์ทำกิจกรรมรักษ์โลก ตอบโจทย์กลุ่ม Gen Y จำนวนมาก และได้รับสนใจและติดตลาดมากพอสมควร ส่วนแคมเปญใหม่ “กินแล้วได้” นำจุดเด่นอาหารถิ่นมาผสมผสานการส่งต่อประสบการณ์ที่มีคุณค่าและความหมาย (meaningful travel) ให้กับนักท่องเที่ยว ด้วยคอนเซ็ปต์ “กินดีอยู่ดี –พลังดี” อาหารอร่อยมีที่พักสะดวกสบายและพลังจากการไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย

สำหรับสถานการณ์ท่องเที่ยวภาพรวมในอีสาน ระหว่างมกราคมมีนาคม 2566 มีการกระจายท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัด ประกอบด้วย

จังหวัดอุดรธานี” มีรายได้ 1,689.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.17 % ใช้จ่ายเงินเฉลี่ย 1,851.67 บาท/คน/ทริป ลดลง4.09 % จากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 912,317 คนครั้ง เพิ่มขึ้น 44.24 % มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 64.81 % เพิ่มขึ้น20.79 %

จังหวัดหนองคาย” มีรายได้ 839.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.28 % ใช้จ่ายเงินเฉลี่ย 1,511.38 บาท/คน/ทริป เพิ่มขึ้น11.72 % จากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 555,408 คนครั้ง เพิ่มขึ้น 32.72 % มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 65.69 % เพิ่มขึ้น20.20 %

จังหวัดบึงกาฬ” มีรายได้ 243.37 ล้านบาท ลดลง 0.54 % ใช้จ่ายเงินเฉลี่ย 1,361.65 บาท/คน/ทริป เพิ่มขึ้น 7.91 % จากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 178,732 คนครั้ง ลดลง 7.83 % มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 52.59 % ลดลง 2.09 %

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน#gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen