ดาวโจนส์ปิดบวกเล็กน้อย 2 จุด รอดูทิศทางเศรษฐกิจ-ตลาดแรงงาน

  • บรรยากาศตลาดซื้อขายซบเซากังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันนี้
  • ตลาดรอผลประกอบการบริษัทที่จะประกาศออกมาโดยเฉพาะภาคธนาคาร

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดวันที่ 6 เม..ที่ 33,485.29 จุด เพิ่มขึ้น 2.57 จุด หรือ +0.01%, ดัชนีS&P500 ปิดที่ 4,105.02 จุด เพิ่มขึ้น 14.64 จุด หรือ +0.36% และดัชนีแนสแด็ก คอมโพซิส ปิดที่ 12,087.96 จุดเพิ่มขึ้น 91.09 จุด หรือ +0.76%

บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯเป็นไปอย่างซบเซาก่อนที่จะถึงวันหยุดยาว โดยตลาดจะปิดทำการในวันศุกร์ที่ 7 เม..เนื่องในวัน Good Friday ขณะที่วอลุ่มการซื้อขายมีเพียง 9 พันล้านหุ้น เมื่อเทียบกับวอลุ่มเฉลี่ยในรอบ20 วันทำการที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 1.27 หมื่นล้านหุ้น

นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ หลังมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจและแรงงานที่อ่อนแอลง อันเป็นผลมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 18,000 ราย สู่ระดับ 228,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 1 เม.ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาด

 นักลงทุนจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด 

ดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและการสื่อสารพุ่งขึ้น 1.71% โดย หุ้นอัลฟาเบท พุ่งขึ้น 3.78% หุ้นสแนป ดีดขึ้น 1.64% หุ้นเมตา แพลตฟอร์มส์ พุ่งขึ้น 2.18% หุ้นไมโครซอฟท์ พุ่งขึ้น 2.55%

หุ้นแคทเธอร์ พิลลาร์ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องมือก่อสร้างรายใหญ่และเป็นหนึ่งในดัชนีวัดแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมสหรัฐ ร่วงลง 2% เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

หุ้นลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค (Levi Strauss & Co) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องแต่งกายชั้นนำของสหรัฐ ดิ่งลง 16% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรลดลงในไตรมาส 1/2566

นักลงทุนจับตารายงานผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่สหรัฐในสัปดาห์หน้า ซึ่งรวมถึงเจพีมอร์แกน และซิตี้กรุ๊ปเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มความแข็งแกร่งของภาคธนาคารจากการเกิดวิกฤตสถาบันการเงิน

นายเจมี ไดมอน ซีอีโอของธนาคารเจพีมอร์แกนระบุในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (4 เม..) ว่า ระบบธนาคารของสหรัฐเผชิญแรงกดดันระลอกใหม่ โดยคาดว่าวิกฤตสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อเนื่องอีกหลายปี และทำให้มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย