ญี่ปุ่นเสี่ยงศูนย์กลางแพร่เชื้อไวรัส หลังตัวเลขพุ่งวิพากษ์รัฐบาลกลัวเศรษฐกิจพังมากกว่ากลัวเชื้อโรค ผู้ว่าโตเกียวลงมือคลอดมาตรการเอง

ภาพจาก Kyodo News


ญี่ปุ่นเสี่ยงศูนย์กลางแพร่เชื้อไวรัส หลังตัวเลขพุ่งวิพากษ์รัฐบาลกลัวเศรษฐกิจพังมากกว่ากลัวเชื้อโรค ผู้ว่าโตเกียวลงมือคลอดมาตรการเองความกังวลของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสในประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นกำลังหวั่นวิตกกันว่าสถานการณ์จะวิกฤตหนัก หากรัฐยังไม่มีมาตรการที่เด็ดขาดออกมารับมือ

ล่าสุดตัวเลขผู้ป่วยยังคงอยู่ระดับสูง จำนวนเพิ่มขึ้นถึง 658 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 6 ราย จำนวนผู้ป่วยสะสม 6,005 ราย เสียชีวิต 99 ราย จากวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมาจำนวนผู้ติดเชื้อในระดับสูงสุด 680 ราย

คำถามมีอยู่ว่า ประเทศญี่ปุ่นรับมือกับปัญหานี้ได้ดีหรือไม่ 

จุดเสี่ยงของญี่ปุ่นตั้งแต่ในช่วงการเริ่มต้นแพร่ระบาด รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักโดยเฉพาะในกรณีของ การจัดการ ผู้ป่วยบนเรือไดมอนด์ พรินเซส ที่มีลูกเรือและผู้โดยสารประมาณ 3,700 คน

การรับมือผู้ป่วยบนเรือไดมอนด์ พรินเซส ไร้ประสิทธิภาพ

ณ​ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ญี่ปุ่นมีผู้ป่วยติดเชื้อ เพียง 94 ราย เสียชีวิตเพียง 1 คน แต่บนเรือดังกล่าวพบผู้ติดเชื้อถึง 634 คน 

รัฐบาลถูกตำหนิว่าดำเนินมาตรการห้ามนักท่องเที่ยวจากจีนเดินทางเข้าญี่ปุ่นล่าช้าเกินไป และขาดความเข้มงวดในการกักกันตัวผู้โดยสารของเรือไดมอนด์ ปรินเซส การจัดการภายในเรือถูกวิพาษ์วิจารณ์กันมาเช่น ผู้โดยสารและลูกเรือสามารถเดินเข้าออกได้อย่างอิสระระหว่างเขตสีเขียวและเขตสีแดง, ผู้คนรับประทานอาหาร และใช้พื้นที่ส่วนนั่งเล่นร่วมกัน, คนบนเรือไม่สวมชุดป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ขณะที่ทีมแพทย์จากหน่วยสนับสนุนด้านการแพทย์ในสถานการณ์ภัยพิบัติ ที่เข้าไปก็ไม่มีความรู้ด้านระบาดวิทยามากนัก

นั่นเป็นตู้ฟักเชื้อดีๆ นี่เอง

ซึ่งในเวลานั้นทางฝ่ายการเมืองซึ่งเป็นฝ่ายบริหารรัฐบาลของญี่ปุ่นได้ดาหน้าออกมาตอบโต้ถึงกับระบุว่า มีประเทศไหนที่จัดการสถานการณ์ได้ดีกว่านี้ไหม

แม้จำนวนผู้ป่วยบนเรือดังกล่าวไม่ได้ถูกนับรวมกับผู้ป่วยในประเทศ แต่ทางการได้อนุญาตให้ผู้โดยสารออกจากเรือได้แม้จะตรวจไม่พบเชื้ออาจเป็นไปได้ว่าอาจจะมีผลบวกภายหลัง ขณที่แนวโน้มมีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นในหลายๆ พื้นที่ 

รวมถึงปัจจัยต่างๆ ประชากรผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และจริยธรรมในการทำงานของชาวญี่ปุ่น ที่เชื่อในการทำงานหนักและความขยัน อาจยิ่งทำให้การระบาดมีความเสี่ยงสูงมาก

ชินโซะ อาเบะ ภาพจาก Getty Images

ประกาศภาวะฉุกเฉินแต่ไม่เบ็ดเสร็จ

 แม้หลังจากรัฐบาลส่วนกลางประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 โดยให้ผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดมีอำนาจในการปิดสถานที่ต่างๆ ใน 7 จังหวัดได้แก่ โตเกียว, คะนะงะวะ, ไซตะมะ, ชิบะ, โอซากา, เฮียวโงะ และ ฟุกุโอะกะ

แต่ก็ยังพบว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยยังคงใช้ชีวิตตามปกติ โดยจะเห็นว่าจำนวนผู้โดยสารในรถไฟยังคงหนาแน่น ขณะที่ประชาชนบางคนรู้สึกสับสนเกี่ยวกับการจำกัดการเดินทางในช่วงเวลานี้

“ยูริโกะ โคอิเกะ” ผู้ว่าราชการกรุงโตเกียว ได้ขอร้องสถานบันเทิง ร้านปาจิงโก๊ะ ฟิตเนส สถานศึกษา และ พิพิธภัณฑ์ ปิดให้บริการเป็นการชั่วคราว รวมถึงลดเวลาการเปิดของร้านอาหารลง  ร้านอาหารปิด 2 ทุ่ม ร้านขายเหล้าปิด 1 ทุ่ม

ผู้ว่าโตเกียวจวก “อาบะ” กลัวเศรษฐกิจพังมากกว่ากลัวโรค

ร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจที่สำคัญได้รับการยกเว้นเช่นเดียวกับห้างสรรพสินค้าซึ่งรัฐบาลตั้งใจจะปิดในขั้นต้นโดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคมเพื่อป้องกันแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ทั้งนี้แม้กรุงโตเกียวจะเป็นหนึ่งในจังหวัดที่รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉิน โดยรัฐบาลกลาง แต่ในกรุงโตเกียวยังใช้ชีวิตปกติกัน ขณะที่ผู้ว่ากรุงโตเกียวมองว่าต้องใช้มาตรการอย่างเข้มงวดและรวดเร็ว เพราะที่ผ่านมามาตรการรับมือมีน้อยมากอาจทำให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ และอาจจะสายเกินไปสำหรับการป้องการโรคระบาด

ยูริโกะ โคอิเกะ ภาพโดย Arisa Moriyama

แต่รัฐบาลของ “ชินโซะ อาบะ” นายกรัฐมนตรี ดูเหมือนจะเกรงปัญหาการส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยตรง ถึงกับออกโรงจวกว่าให้อำนาจผู้ว่าในการสั่งการต่างๆ  ซึ่งเท่ากับตนเองเหมือนเป็น “ซีอีโอ” แต่มีอำนาจการบริการเหมือนผู้จัดการขนาดกลางเท่านั้น ขณะที่อีกหลายเมืองผู้ว่าได้เริ่มประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกัน 

ก่อนหน้าไม่กี่ว่าแม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นไม่มีมาตรการปิดสถานที่ใดๆ ปรากฏว่าบรรดาร้านต่างๆ ได้ดำเนินการปิดตัวเองลงโดยไม่ต้องรอคำร้องขอหรือคำสั่ง เช่น ร้านกาแฟ “สตาร์บัคส์” ​ ปิดให้บริการ 850 สาขา เมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา โดยโฆษกของร้านกาแฟชื่อดังระบุว่า มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะร่วมมือในการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส

ร้านค้าปิดตัวเองก่อนทางการขอร้อง

ร้านแฟชั่นเสื้อผ้าชื่อดังอย่าง “ยูนิโคล่” เริ่มปิดบางสาขาตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน โดยเมื่อวันที่ 10 เมษาบน ปิดไปแล้ว 198 สาขา ส่วนอีก 208 สาขา ได้ลดเวลาให้บริการลง

สำหรับห้างสรรพสินค้าชั้นนำบางแห่งได้ปิดบริการลงหลังการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 7 จังหวัด เช่นห้างสรรพสินค้าไดมารู ปิดไป 9 สาขา ยกเว้นแผนกอาหาร ห้างทากาชิมายะ ปิดไป 13 สาขา เหลือแต่แผนกอาหารเช่นกัน ห้างอีเซตัน มัตสุโกชิ แถลงการณ์ปิดสาขาในกรุงโตเกียวทั้งหมด 

หลายๆ ฝ่ายมองกันว่าความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นสถานการณ์การสั่งปิดสถานที่ต่างๆ ชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นไม่ได้มีการเตรียมตัวสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน มหานครโตเกียวถูกมองว่าจะเหมือนมหานครนิวยอร์ค เป็นศูนย์กลางโรคระบาด หากยังไม่มีมาตรการที่เข้มงวดมากว่านี้