“การบินไทย” ยื่นฟื้นฟูกิจการต่อศาลสวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน ญี่ปุ่น กันถูกยึดทรัพย์ในต่างประเทศ

  • วิษณุ” รายงานความคืบหน้าให้ ครม.รับทราบ
  • พนักงานเจอถูกงดใบส่งตัวไปโรงพยาบาล 
  • ธนาคารไม่โอนเบี้ยเลี้ยงให้นักบิน

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์  โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชนได้รายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้รับทราบความคืบหน้าการแก้ปัญหาการบินไทย สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการก่อนการไต่สวนคำร้องตามที่ศาลได้รับคำร้องไปเมื่อวันที่  26 .. 2563 และกำหนดนัดไต่สวนวันที่ 17 ..2563 และเพื่อให้กระบวนการฟื้นฟูเป็นไปอย่างราบรื่น ระหว่างนี้ต้องมีการเจรจากับเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดการคัดค้าน

ปัจจุบันการบินไทยอยู่ระหว่างการแบ่งกลุ่มประเทศยื่นคำร้องต่อศาลต่างประเทศเพื่อขอฟื้นฟูกิจการ เพื่อไม่ถูกยึดทรัพย์ในต่างประเทศ ที่ยื่นไปแล้ว ประกอบด้วย สวิสเซอร์แลนด์  เยอรมัน ญี่ปุ่น และอยู่ระหว่างดำเนินการยื่นต่อศาลสหรัฐฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทยได้จัดทำรายงานให้ รับทราบว่า ฐานะการเงินของการบินไทย   สิ้นปี 2562 มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 12,017 ล้านบาท อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 20.81% มีสินทรัพย์รวม 256,665 ล้านบาท และมีหนี้สินรวมอยู่ที่ 244,899 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากรวมหนี้สินของการบินไทย ทั้งหมดจากเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินกู้ยืมสมาบันการเงิน เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้อง หนี้สินตามสัญญาดำเนินงาน หนี้สินภายใต้สัญญาเช่าทางการเงิน หุ้นกู้ รายรับล่วงหน้าประมาณการหนี้สินไม่หมุนเวียนและอื่นๆ ในส่วนของคู่ค้า รายรับล่วงหน้า และหุ้นกู้ ที่บันทึกไว้ในบัญชี  ปัจจุบันจะมีหนี้สินสะสมกว่า 352,484 ล้านบาท 

ส่วนการประมาณการสถาพคล่องของการบินไทยมีภาระที่ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถลดได้ประมาณเดือนละ 5,000 – 6,000 ล้านบาท จากการประมาณการคาดว่าหากการบินไทยไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องเงินสดของการบินไทยจะไม่เพียงพอที่จะใช้หมุนเวียนในเดือน มิ.. 2563 ทั้งนี้การบินไทยอยู่ระหว่างการเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งหากเจรจาเป็นผลสำเร็จจะทำให้สามารถมีสภาพคล่องได้มากกว่าประมาณการ โดยการเจรจากับเจ้าหนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่การบินไทยต้องดำเนินการก่อนที่ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูในวันที่ 17.. 2563 เพื่อให้กระบวนการฟื้นฟูเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งนอกจากการป้องกันการถูกยึดทรัพย์สินแล้วยังป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าไปยื่นคัดค้านผู้ทำแผนและคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งจะทำให้การฟื้นฟูกิจการล่าช้าออกไป ซึ่งในเรื่องนี้ที่ปรึกษากฎหมายและการบินไทยกำลังเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน 

ทั้งนี้ การดำเนินการตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการประกอบไปด้วยคณะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งประกอบไปด้วยกรรมการของการบินไทย 5 คน และนิติบุคคล 1 แห่ง ได้แก่ บริษัท สำนักงาน อี วาย จำกัด โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินและที่ปรึกษาทางกฎหมายได้แก่ บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชนและบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แมคเค็นซี่ จำกัด โดยปัจจุบันการบินไทยแบ่งการดำเนินการเป็น 7 กลุ่มย่อย ดังนี้ 1.การดำเนินการกับเจ้าหนี้ คู่ค้า และการชำระหนี้ 2.การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับศาลต่างประเทศ 3.การดำเนินการทางด้านทรัพยากรบุคคล 4.การติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก 5.การบริหารจัดการข้อมูลและเอกสารที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการ 6.การสนับสนุนการจัดเตรียมสำเนาเอกสารเพื่อแจ้งเจ้าหนี้ และ7.การดำเนินการเรื่องงบประมาณและประมาณการผลการดำเนินงาน ทั้งนี้จะต้องได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐเพื่อบรรลุผลการการดำเนินการแก้ไขปัญหาของฃการบินไทยต่อไป

นอกจากนี้ คณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาการบินไทยฯได้ขอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณากฎหมายต่างๆในความรับผิดชอบว่าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานะที่เปลี่ยนไปของการบินไทยจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนหรือไม่อย่างไร  เช่น โรงพยาบาลเอกชน 4 แห่ง งดรับใบส่งตัวพนักงานที่ต้องการรับการรักษา ทำให้ต้องมีการสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน ขณะที่การเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของการบินไทย มีปัญหาคือสถานบริการน้ำมันไม่จ่ายน้ำมันให้บริเวณลานจอด ตั้งแต่วันที่ 26 ..2563ที่ผ่านมา อย่างไรก้ตาม ปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงไทย ยังให้ใช้ Fleet card เติมน้ำมันต่อไปได้ และ ธนาคารพันธมิตรระงับการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้นักบินและลูกเรือ ทำให้การบินไทยแก้ไขโดยโอนเงินโดยตรงให้ ตลอดจนมีปัญหาผู้ผลิตวัตถุดิบระงับส่งสินค้าให้ครัวการบิน  จึงต้องพิจารณาปรับลดค่าใช้จ่ายต่างๆเพื่อรักษาสภาพคล่องและใช้เงินสดเท่าที่จำเป็น เป็นต้น