กรมเจ้าท่าจับมือกรมอุตุฯประมวลข้อมูลอากาศหวังเพิ่มความปลอดภัย-ลดอุบัติเหตุชาวเรือในท้องทะเล

กรมเจ้าท่าไม่หยุดนิ่งจับมือกรมอุตุฯผนึกข้อมูลประมวลผลบอกสภาพอากาศ-แม่น้ำ-ทะเล ให้ชาวเรือเดินเรือปลอดภัยตรงจุดสถานการณ์ลดอุบัติเหตุ มั่นใจรับการตรวจมาตรฐานจาก IMO ในเดือนกุมภาปีหน้า พร้อมทำงานสอดประสานชาวเรือไทยต้องรายงานสถานการณ์ในทะเลจุดเดินเรือแบบเรียลไทม์

นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า(จท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานลงนามบันทึกข้อตกลงการปฎิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยาเพื่อประสานงานและแลกเปลี่ยนหรือเชื่อมโยงข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยากับกรมอุตุนิยมวิทยา ว่า ความร่วมมือร่วมกันเพื่อเป็นไปตามมาตรฐานและการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในตราสารขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ(International Maritime Organization Instrument :IMO Instrument) ซึ่งการร่วมมือทาง จท. จะนำข้อมูลการพยากรณ์อากาศจาก กรมอุตุฯมาประมวลผลถึงสภาพอากาศไปยังชาวเรือได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้ชาวเรือประกอบการตัดสินใจเพื่อหลบหลีก และรับมือสภาพทางท้องทะเลที่อ่จจะแปรปรวนได้อย่างทันเวลามากที่สุด โดยทาง IMO จะเข้ามาตรวจและประเมินมาตรฐานหลักเกณ์ภายในเดือน ก.พ.ปี64นี้

นอกจากนั้นการนำข้อมูลจากกรมอุตุฯมาประมวลผลสภาพอากาศเพื่อบอกชาวเรือนั้น ในความร่วมมือเพื่อเป็นไปตามมาตรฐานขอ IMO จะกำหนดให้ ชาวเรือ ที่จดทะเบียนสัญชาติไทยและวิ่งขนส่งสินค้า เรือระหว่างประเทศกว่า 400-500ลำ ในปัจจุบันนอกจากการรับข้อมูลจากกรมเจ้าท่าแล้วจะต้องมีการรายงานสภาพอากาศ ณ. บริเวณการเดินเรือนั้นๆกลับมายังกรมเจ้าท่าด้วย เพื่อให้ศูนย์ของกรมเจ้าท่ามาประมวลผลสภาพภูมิอากาศผสมข้อกับข้อมูลอากาศจากกรมอุตุฯ ได้ละเอียด และ แม่นยำขึ้น จากเกิมไม่มีข้อกำหนดให้ชาวเรือต้องรายงานกลับซึ่งจะเป็นไปตามมาตรฐาน IMOของโลก ที่กรมเจ้าท่าจะเป็นคนประมวลผลอากาศเพื่อบอกชาวเรือ

  • “การร่วมมือครั้งนี้เพื่อให้ได้มาตาตรฐาน  IMOจะเป็นครั้งแรกที่จะทำให้การรับข้อมูลข่าวสารของสภาพภูมิอากาศก่อน ขณะเดินเรือ และหลังเดินเรือจากกรมเจ้าท่าหน่วยงานเดียวที่จะทำหน้าที่ประมวลผลสภาพอากาศประกอบการตัดสินใจที่เดียว ซึ่งทั่วโลกก็ดำเนินการแบบนี้ จากที่ก่อนหน้านี้ชาวเรือ จะฟังข้อมูลจากกรมอุตุฯแหล่งเดียว แต่แบบใหม่การรับข้อมูลข่างสารจะครบถ้วนเพราะกราเจ้าท่านอกจากรับข้อมูลจากกรมอุตุฯ และจากทั่วโลกแล้วจะมาประมวลผลให้ ขณะเดียวกันชาวเรือจะเจ้องรายงานสถานการณ์แบบเรียลไทม์ให้ศูนย์ของกรมเจ้าท่าด้วยเพื่อประมวลผล ซึ่งจะแม่นยำมากเช่นแต่ก่อนเมื่อออกเรือจะบอกแค่คลื่นสูง2-3เมตร แต่เมื่อมีการรายงานจากสถานที่เกิดขึ้นจริงคลื่นอาจจะสูง4-5 เมตรก็ได้ ซึ่งตรงนี้จะช่วยด้านความปลอดภัยมากขึ้น”