กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แจงความคืบหน้าการศึกษากัญชาเพื่ออุตสาหกรรม

  • ประสานพลังจากผู้เชี่ยวชาญทุกภาคส่วน
  • เตรียมความพร้อมผลิตสารสกัดกัญชา ยืนยัน
  • พร้อมสนับสนุนเครื่องมือ หลังมีกฎหมายรองรับชัดเจน

นายจารุพันธุ์ จารโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)เปิดเผยความคืบหน้า การดำเนินงานของคณะทำงานขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ กลุ่มกัญชาและสมุนไพร ท่ีมีตนเป็นรองประธานคณะทำงานฯ ว่า ล่าสุดที่ประชุมได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากทั้ง สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรของสหประชาชาติ เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
ท้ังนี้ ที่ประชุม ได้มีการหารือแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาพืชกัญชา โดยบทบาทของกสอ. จะมีการส่งเสริมและพัฒนาพืชกัญชา 2 ส่วน คือ 1 กลุ่มวิสาหกิจ 2 กลุ่มเอสเอ็มอี ซ๋ึง ในส่วนนี้มีเรื่องกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง กสอ.จึงเตรียมความพร้อมในเรื่องการผลิตสารสกัดกัญชา แต่ขณะนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยัง ไม่ได้มีความรู้ทั้งกระบวนการ จึงต้องขอความร่วมมือกับหน่วยงาน ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อนำมาขับเคลื่อนการทำงานของคณะทำงาน
“ในเบื้องต้น หากสามารถเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับโรงพยาบาล ที่ต้องการผลิตสารสกัดกัญชา กสอ.ก็จะสามารถส่งเสริมและพัฒนา ในด้านการสกัดสารกัญชาได้เพราะมีเครื่องมือ ขณะที่โรงพยาบาลหลายแห่งอาจไม่มีเครื่องสกัด แต่ส่วนการปลูก เป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ต้องกำกับดูแล หลังจากสกัดแล้วส่งสารสกัดให้กับหน่วยงานที่สามารถตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารสกัดเป็นผู้ตรวจสอบอีกครั้ง แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย”
ขณะเดียวกัน กสอ.ท่ี มีความพร้อมในการดำเนินการสนับสนุน ด้านการสกัดสารกัญชาทางการแพทย์ เพราะมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย ในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ไอทีซี4.0) ของกสอ. แต่ทั้งนี้ต้องรอการดำเนินการเรื่องกฎหมายให้มีความถูกต้อง ชัดเจนก่อน
นอกจากนี้ กสอ.ยังมีความคืบหน้าการดำเนินงานของศูนย์ ไอทีซี4.0 ที่ ปัจจุบันมีให้บริการจำนวน 105 แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ และเครือข่ายศูนย์ ไอทีซี ที่ให้บริการเฉพาะทาง เช่น ไอทีซีเอสเอ็มอี ผ่าน ศูนย์บริการ เอสเอ็มอีของกสอ.รวม 13 แห่ง ขณะนี้มีผู้เข้ารับบริการศูนย์ ดังกล่าว 15,000 ราย ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 2,500 ล้านบาท และในปี2564 มีเป้าหมายที่จะให้ผู้รับบริการเข้าถึงได้ง่าย50,000 ราย และก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ50,000 ล้านบาท