กกร. คงคาดการณ์จีดีพีที่ 3.0-3.5% ลั่นมีความกังวลความเสี่ยงภัยแล้ง



  • เผยเตรียมส่งหนังสือถึงนายกฯพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • เร่งจัดทำแผนรับมือสถานการณ์ภัยแล้งระยะเร่งด่วน3ปีและระยะยาว
  • ชี้ต้นทุนราคาสินค้าเพิ่มเหตุค่าไฟฟ้าแพงขึ้นส่งผลราคาสินค้าปรับตัวเฉลี่ยประมาณ5-10%

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จัดประชุมคณะกรรมการประจำเดือน .กล่าวว่า ที่ประชุม กกร.ประมาณการเศรษฐกิจปี 66 เดือน .ยังคงคาดการณ์เดิมว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพีอยู่ที่ 3.0-3.5% ตัวเลขการส่งออก อยู่ที่ติดลบ1.0-0.0% อัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ 2.7-3.2% ขณะที่เศรษฐกิจไทยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากภาคการท่องเที่ยว ประเมินจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2566 มีโอกาสแตะระดับ 30 ล้านคน สูงกว่าประมาณการเดิมที่ 28 ล้านคน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนทำให้จีดีพีช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มเติบโตได้มากกว่าครึ่งปีแรก

นายเกรียงไกร กล่าวด้วยว่า ค่าไฟฟ้างวดเดือนพ..-.. 2566 ปรับอยู่ที่ระดับ 4.70 บาทต่อหน่วย ส่งผลต่อราคาสินค้าบางประเภทที่ปรับขึ้นบ้างแล้ว โดยอยากฝากถึงกระทรวงพาณิชย์ให้ติดตามราคาสินค้าให้อยู่ระดับเหมาะสมกระทรวงพาณิชย์สามารถดูแลได้แน่นอนคือสินค้าควบคุม แต่สินค้าที่ควบคุมไม่ได้อยากขอร้องให้ปรับราคาอย่างเหมาะสมต่อต้นทุนผู้ประกอบธุรกิจ และคำนึงถึงรายจ่ายของประชาชนด้วย ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันสูงขึ้นมีการปรับราคาสินค้าแล้ว 1 ครั้ง ขณะนี้จะมีการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 2 จากค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น เป็นต้นทุนหลักในการผลิต

นายเกรียงไกร กล่าวว่า กกร.ยังมีความกังวลความเสี่ยงภัยแล้งที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคตะวันออก สาเหตุจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝนที่คาดว่าจะมีปริมาณลดลงและทำให้ปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นในช่วงเดือน .. 2566 และอาจรุนแรงติดต่อกันมากถึง 3-5 ปีทำให้ซัพพลายเชนโลกด้านผลผลิตหายไป 20%

นอจากนี้ กกร.เตรียมส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีฯ ขอให้พิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนรับมือสถานการณ์ภัยแล้งระยะเร่งด่วน 3 ปี และระยะยาว เช่น โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด .จันทบุรี เป็นต้น คาดว่าจะส่งหนังสือภายในสัปดาห์นี้ หรือต้นสัปดาห์หน้า

ต้นทุนราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวเฉลี่ยประมาณ 5-10% หากไทยได้รับผลกระทบภัยแล้งและน้ำน้อย ซึ่งต้องรีบกักเก็บน้ำตอนนี้ เพราะถ้าไปเก็บช่วงเสี่ยงน้ำน้อย น้ำจะมีราคาแพง และจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรจะออกน้อยลง ส่งผลให้ราคาสินค้าประเภทต่างๆ จะถูกปรับขึ้นอีกครั้ง หากรัฐไม่มีแผนตั้งรับ” 

นอกจากนี้ ต้องเตรียมการใช้น้ำจำนวนมาก เพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตร เช่น ปีนี้ไทยส่งออกทุเรียนไปจีนประมาณ 7 แสนตัน มีมูลค่า 1 แสนกว่าล้านบาท ซึ่งการใช้น้ำเพื่อเลี้ยงผลผลิตจากเดิมอยู่ที่ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรขณะนี้ต้องใช้ถึง 150 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับผลิตผลที่ส่งออก แม้ปีนี้จะไม่มีปัญหาแต่ปลายปีน้ำแล้ง ทำให้ส่งออดผลผลิตปีหน้าจะได้รับผลกระทบ