

- เศรษฐกิจติดลบหนักสุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
- คาดจะฟื้นในปี 2564
- ILO เตือน การระบาดใหญ่ครั้งนี้ก่อให้เกิด “วิกฤตที่ร้ายแรงที่สุด”
สำนักข่าวบีบีซี ได้รายงานว่า นางคริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ออกมาระบุว่า การระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธ์ใหม่-20 19 (โควิด-19) จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปีนี้ ติดลบอย่างรุนแรง โดยโลกต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ 1930 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยในปี 2564 จะเริ่มเห็นการฟื้นตัวบางส่วนเท่านั้น
สำหรับการประกาศปิดเมืองของรัฐบาลหลายประเทศ ทำให้บริษัทต้องปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน จากผลการศึกษาของสหประชาชาติเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาระบุว่า 81% ของแรงงานทั่วโลกจำนวน 3.3 พันล้านคนมีสถานที่ทำงานเต็มจะต้องตกลงจากมาตรการปิดเมืองของแต่ละประเทศ โดยไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก จะมีการประชุมหารือถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในต้นสัปดาห์หน้า ซึ่งตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดซึ่งต้องการความช่วยเหลือจากต่างประเทศหลายร้อยล้านล้านดอลลาร์
“ เมื่อสามเดือนที่แล้วเราคาดว่ารายได้ต่อหัวของประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นบวกใน 160 ประเทศสมาชิกของเราในปี 2563 แต่วันนี้เรากลับพบกว่า รายได้ต่อหัวของประชากรกว่า 170 ประเทศจะมีรายได้ลดลงในปีนี้ โดยถือว่าเป็นการปรับตัวลดลงที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในทศวรรษ 1930”
นางจอร์จิว่า กล่าวเพิ่มเติมว่า หากการระบาดใหญ่คลี่คลายลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดว่าจะมีการฟื้นตัวบางส่วนในปีหน้า แต่ในขณะเดียวกัน เธอก็ไม่แน่ใจว่าสถานการณ์อาจจะเลวร้ายลงต่อก็ได้ เพราะมีปัจจัยที่มีความไม่แน่นอนอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว
ทั้งนี้ความคิดเห็นดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีรายงานข่าวว่า สหรัฐอเมริกา มีจำนวนผู้ตกงานเพิ่มขึ้นโดยมีมากกว่า 16 ล้านคนในช่วงที่ผ่านมาโดยมีการตกงานเพิ่มขึ้นถึง 6.6 ล้านคนในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยธนาคารกลางสหรัฐระบุว่าจะปล่อยเงินกู้เพิ่มเติมอีก 2.3 พันล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
ขณะที่องค์กรการกุศลในสหราชอาณาจักรออกซ์แฟมเตือนว่าการล่มสลายทางเศรษฐกิจจากการแพร่กระจายของโควิด-19 สามารถบังคับให้คนมากกว่าครึ่งล้านเข้าสู่ความยากจน และเมื่อถึงเวลาที่การระบาดใหญ่สิ้นสุดลงองค์กรการกุศลกล่าวว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกที่มีประชากรถึง 7.8 พันล้านคนอาจมีชีวิตอยู่ในความยากจน ในขณะที่สหภาพยุโรปได้บรรลุข้อตกลงรวมกันในการใช้งบประมาณ 500,000 ล้านยูโร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป
อย่างไรก็ตามเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติเตือนว่าการระบาดใหญ่ครั้งนี้ก่อให้เกิด “วิกฤตที่ร้ายแรงที่สุด” ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยไอแอลโอ กล่าวว่าการระบาดของโรคคาดว่าจะลดชั่วโมงการทำงานออก 6.7% ของชั่วโมงการทำงานทั่วโลกในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2563 – เทียบเท่ากับแรงงานเต็มเวลา หรือมีประชากรกว่า 195 ล้านคนที่สูญเสียงานของพวกเขา