“เมืองโบราณศรีเทพ” มรดกโลกใหม่เมืองไทย เสริมท่องเที่ยวคุณค่าสูงดึงดูดตลาดทั่วโลก

“เมืองโบราณศรีเทพ” ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 4 ในรอบ 31 ปีนายกฯเศรษฐาสายตรงจากนิวยอร์กแสดงความยินดีเป็นแม่เหล็กท่องเที่ยวใหม่คุณค่าสูงของไทยในตลาดโลก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แสดงความยินดีมาจากมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กรณีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่กรุงริยาดประเทศซาอุดีอาระเบีย ประกาศเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ให้ “เมืองโบราณศรีเทพ” เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 4 ของไทย ซึ่งว่างเว้นมานานถึง 31 ปี โดยก่อนหน้านี้ไทยได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ แห่งที่ 1 เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร แห่งที่ 2 นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 3 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ปัจจุเป็นประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกแล้วถึง 7 แห่ง

ตามขั้นตอนกว่า “เมืองโบราณศรีเทพ” จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ใช้เวลาดำเนินการต่อเนื่องมาตลอด 4 ปี เริ่มตั้งแต่คณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 9 เมษายน 2562 มีมติเห็นชอบเอกสาร “นำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ” เพื่อบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก โดยให้ประธานกรรมการแห่งชาติ ว่าอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ลงนามในหนังสือถึงศูนย์มรดกโลก (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)

จากนั้นเมื่อปี 2562 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 ที่ประชุมให้การรับรองแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของไทย โดมี “เมืองโบราณศรีเทพ” อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลกจากนั้นทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าจ้างที่ปรึกษาจัดทำเอกสารการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลก แล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มีคำสั่งต่อมา เมื่อ 10 ธันวาคม 2563 แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการนำเสนอเเหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลก

ต่อมาที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ลงมติเห็นชอบเอกสารนำเสนอเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก เมืองโบราณศรีเทพ และ เห็นชอบให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ลงนามในเอกสารนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก ต่อศูนย์มรดกโลก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

แล้วประธานกรรมการแห่งชาติฯ ได้ลงนามในหนังสือถึงศูนย์มรดกโลกเมื่อ ต่อมา เมื่อ 10 ธันวาคม 2563 จัดส่งเอกสารการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพฉบับสมบูรณ์ เข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก

กระทั่ง 16 กันยายน 2565 Ms.Jigna Desai ผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดียจากองค์กรที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรม (ICOMOS) ได้เดินทางมาตรวจประเมินพื้นที่เมืองโบราณศรีเทพ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำเสนอเป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2565 สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ ICOMOS ได้จัดการประชุมทางไกลหารือICOMOS World Heritage Panel เพื่อประเมินการเสนอขึ้นทะเบียนแหล่งเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก โดยมีผู้แทนกรมศิลปากร เข้าร่วม พร้อมมีข้อเสนอแนะให้เปลี่ยนชื่อแหล่งจาก The Ancient Town of Si Thep เป็นชื่ออื่นให้สามารถสื่อถึงแหล่งที่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกัน แล้วทาง ICOMOS มีหนังสือถึงเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ในฐานะผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก 21 ธันวาคม 2565 ขอให้จัดส่งรายงานความก้าวหน้าการประเมินการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก พร้อมขอรับข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ พร้อมได้จัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก ตามคำร้องขอ เพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 พิจารณานำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลก เข้าวาระการประชุมที่ 45COM 8B.41 (ร่าง) ข้อมติเสนอให้ขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลก (Inscribe) พร้อมขอให้ไทยดำเนินการรวม 11 ข้อ

สำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำเสนอเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยได้จัดงาน “มหัศจรรย์แสงสี ณ ศรีเทพ สู่มรดกโลก : THE MAGICAL SI THEP to World Heritage” ไปเมื่อต้นเดือนกันยายน 2566 ภายในพื้นที่ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญ ได้แก่

จุดที่ 1 ศูนย์บริการข้อมูล ในอาคารจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณสถานของเมืองโบราณศรีเทพ พร้อมด้วยห้องจัดแสดงนิทรรศการ ส่วนจำหน่ายหนังสือ สินค้าที่ระลึก

จุดที่ 2 อาคารหลุมขุดค้นทางโบราณคดี และ จุดที่ 3 อาคารจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์และโครงกระดูกช้าง ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ. 2531 ปรางค์สองพี่น้องเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตีประทับนั่งอยู่เหนือโคอุศุภราช อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนต่อนครวัด ปรางค์ศรีเทพ เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟักแบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมรทั่วไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ

การขุดค้นบริเวณนี้พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โบราณสถานเขาคลังใน สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 โดยผังเมืองและศิลปะการก่อสร้างเป็นสมัยทวารวดีคล้ายกับการค้นพบที่จังหวัดนครปฐม และเมืองโบราณบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ตรงบริเวณฐานมีรูปปูนปั้นบุคคลและสัตว์ประดับเป็นศิลปะสมัยทวารวดี เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติจึงเรียกว่า “เขาคลัง”

ทำให้ “โบราณสถานเขาคลังนอก” มีลักษณะเป็นมหาสถูป อาจรับคติการสร้างจากพุทธศาสนามหายานที่นิยมสร้างอาคารบนฐานสูง รูปแบบผังมณฑลจักรวาล พบโบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่

ไฮไลต์ที่ 1 พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี สลักจากหินทรายสีเขียว มีลักษณะประทับยืนปางแสดงธรรม (วิตรรกะ) 2 พระหัตถ์

ไฮไลต์ที่ 2 ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ เป็นศาลที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป มีงานบวงสรวงทุกปี ในวันขึ้น 2-3 ค่ำ เดือน3 ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ เปิดทุกวัน เวลา 08.00–16.30 น.

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen