

- การฟื้นฟูสามารถลดต้นทุนค่าแรงพนักงานลงได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์
- ก่อนเข้าสู่กฏหมายล้มลาย Chapter 11 หนี้สินเกือบ 19,000 ล้านดอลลาร์
- ขาดทุนติดต่อกัน 5 ปีซ้อนถึง 7,500 ล้านดอลลาร์
- แผนฟื้นฟูยุบบริษัทเดิมทิ้ง ตั้งบริษัทใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ออกหุ้นใหม่ให้เจ้าหนี้
- มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านดอลลาร์ ขึ้นมาเป็นอันดับสองรองจาก Southwest
ท่ามกลางความสนใจของการที่รัฐเข้าอุ้มบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) ได้มีการศึกษาถึงความสำเร็จของแผนการฟื้นฟูสายการบินต่างๆ ซึ่งสายการบินเดลต้า แอร์ไลน์เป็นหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาด้วย
ศาลล้มละลายของสหรัฐอเมริกา ได้มีคำสั่งให้สายการบินเดลต้าแอร์ไลน์อออกจากกระบวนการล้มละลายตามกฏหมายบทบัญญัติที่ 11 หรือ Chapter 11 ในวันที่ 30 เมษายน ปี 2550 นับเป็นเวลาปีครึ่งภายหลังจากการยื่นเข้ากระบวนการดังกล่าวเพื่อทำการฟื้นฟูธุรกิจการบินที่ประสบปัญหาจนบริหารต่อไม่ได้
เดลต้าแอร์ไลน์ เป็นสายการบินยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐในช่วงเวลานั้นและเป็นหนึ่งในบริษัทขนาดใหญ่ที่ขอยื่นล้มละลายเป็นประวัติศาสตร์ของสหรัฐ ที่สามารถฟื้นฟูธุรกิจได้และถูกปลดออกจาก Chapter 11
“เจอรัลด์ กรินสไตน์” ซีอีโอ ของเดลต้า ระบุในช่วงเวลานั้นว่า “ในที่สุดเราเป็นอิสระ ผมรู้สึกมีความสุขมาก”
เดลต้าแอร์ไลน์ได้แจ้งเกิดอีกครั้ง ในขณะที่อุตสาหกรรมการบินในสหรัฐกำลังฟื้นฟูอย่างช้าๆ เนื่องจากความต้องการหรือดีมานด์อ่อนตัวลง

ในสหรัฐมีสายการบินจำนวนมาก รวมถึงสายการบิน Southwest และ JetBlue Airways บ่นกันว่าการจองตั๋วโดยสารที่ซบเซาก่อนฤดูการท่องเที่ยวในช่วงซัมเมอร์
แต่ เดลต้าแอรไลน์ เชื่อว่าการขยายตัวสู่ตลาดต่างประเทศจะสร้างผลกำไรที่ดีกว่า และต้นทุนที่ต่ำลงจะช่วยธุรกิจให้อยู่ได้ในช่วงขาลง มีการคาดการณ์กำไรก่อนหักภาษีสำหรับรายการพิเศษของ 816 ล้านดอลลาร์ในปีนี้หลังจากที่ขาดทุน 452 ล้านดอลลาร์ในปี 2549
นับตั้งแต่ยื่นเข้า Chapter 11 ในเดือนกันยายน 2548 เดลต้าได้ลดค่าใช้จ่ายต้นทุนค่าแรงงานลงประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ ลดจำนวนเที่ยวบินในเส้นทางบินบินภายในประเทศสหรัฐที่มีการแข่งขันสูง และเพิ่มการให้บริการตลาดในทวิปลาตินอเมริกาและตะวันออกกลางซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟู 3,000 ล้านดอลลาร์
เดลต้า แอร์ไลน์ถูกผลักเข้าสู่ภาวะล้มละลายหลังจากที่เพิ่มหนี้เกือบถึง 19,000 ล้านดอลลาร์และมีการขาดทุนถึง 7,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2544-2548 ท่ามกลางต้นทุนที่สูงและการแข่งขันขายตั๋วโดยสารราคาถูก
ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งจากการล้มละลาย เดลต้าแอร์ไลน์ได้ วางแผนที่จะออกหุ้นใหม่ให้กับเจ้าหนี้ มีแผนจะนำหุ้นดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในวันที่ 3 พฤษภาคมภายใต้ชื่อ “DAL” หุ้นเดิมของเดลต้าแอร์ไลน์ถูกยกเลิกไปจึงไร้ค่า
เดลต้าแอร์ไลน์ คาดว่าจะหุ้นใหม่มีมูลค่าตลาดประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้ขึ้นเป็นอันดับสอง สหรัฐฯ ในด้านการมีมูลค่าในตลาดสุดรองจาก Southwest แอร์ไลน์
หนึ่งในการตัดสินใจครั้งสำคัญ ครั้งแรกที่เดลต้าจะต้องทำหลังจากถูกปลดออกจากการล้มละลายคือการเลือก ซีอีโอ คนใหม่
“กรินสไตน์”วัย 74 ปี ในขณะนั้นได้วางแผนที่จะเกษียณหลังประสบความสำเร็จ เขาแนะนำอย่างแรงให้เลือกผู้บริหารจากภายในองค์กรขึ้นมา