

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ทำหนังสือลงวันที่ 20 เม.ย.2563 ส่งถึงบรรดามหาเศรษฐีไทยทั้งที่ติดอันดับ 1 ใน 20 พร้อมระบส่งจดหมายหาเจ้าสัวในฐานะที่ท่านเป็นผู้อาวุโสของสังคมผมซาบซึ้งใจที่หลายท่านได้ลงมือช่วยเหลือประชาชนไปแล้วหลายเรื่อง แต่ผมต้องการขอให้ทุกท่านทำเพิ่มเติมโดยใช้ศักยภาพของท่านมาทำให้เกิดการช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องประชาชนคนไทยที่กำลังเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ล่าสุดธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ส่งหนังสือขอความร่วมมือตอบรับนายกรัฐมนตรี
“ผมถือเป็นหน้าที่ ที่จะต้องทำเพื่อประเทศโดยเฉพาะในยามวิกฤต เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) พร้อมสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่ และขอเป็นกำลังใจให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในการนำประเทศชาติ ก้าวผ่านสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ถือเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงของประเทศและของโลกในครั้งนี้ และขอยกย่องในความเสียสละของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ถือเป็นนักรบแนวหน้าในการรักษาชีวิตพี่น้องประชาชนไทย ทำให้วันนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลถึงวันที่ 30 เมษายน 2563)
นอกจากนี้ ทุกครั้งที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤตในอดีตจนถึงปัจจุบัน จะเห็นความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจของคนไทยจากทุกภาคส่วน ออกมาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเสมอมา เช่นเดียวกับวิกฤตในครั้งนี้ ที่จะเห็นได้ว่า ทุกภาคส่วนได้ออกมาร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่ของตนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของคนไทยอย่างดีมาโดยตลอด พร้อมทั้งเสนอสิ่งที่ผมและเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ดำเนินการแล้ว รวมยอดกว่า 700 ล้านบาท พร้อมเสนอโครงการที่จะดำเนินการในระยะต่อไป
เจ้าสัวธนินท์ ยังระบุว่า ในระยะต่อไป สิ่งที่ประเทศไทยควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การเตรียมการเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องรักษาความเชื่อมั่น และประคองระบบสังคม วิถีชีวิต ให้สามารถดำรงอยู่ได้ ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต้องไม่ล้มหายตายจากไป และ ยังรักษาการจ้างงาน พี่น้องประชาชน จะยังคงมีรายได้เลี้ยงชีพ อาชีพอิสระ อาชีพรับจ้าง เกษตรกร หรือแม้กระทั่งคนว่างงาน จะยังคงมีรายได้เพียงพอในการยังชีพ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ในยามที่ฟ้ามืด ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อยามฟ้าสว่าง นั่นคือ การเตรียมแผนฟื้นฟูประเทศไทยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และหากมองวิกฤตนี้เป็นโอกาส และ ประเทศไทย กล้าตั้งเป้าหมายให้ “ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก” ทั้งด้านการค้า การลงทุน การเงิน และเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมอยู่แล้ว

ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ โดยเฉพาะผู้ให้ความสนใจเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อรักษาพยาบาล และ ดูแลสุขภาพ ที่ปลอดภัยตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยในประเทศไทยมีจำนวนโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐาน JCI คือ โรงพยาบาลที่มีความเป็นเลิศในทุกมาตรฐาน เป็นจำนวน 69 โรงพยาบาล เป็นอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่ 2 รองจากจีนในเอเชีย และเป็นอันดับ 4 ของโลก ในช่วงโควิด-19 ทำให้คนในทุกมุมโลก ใส่ใจสุขภาพและ ต้องการเดินทางไปอาศัยอยู่ในที่ปลอดภัย มีความพร้อมด้านสาธารณสุข ทำให้ธุรกิจ Medical Tourism หรือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตหากเข้าสู่ขั้นตอนการฟื้นฟู แต่ละประเทศเริ่มเปิดให้เดินทางได้ จากวิกฤตด้านการท่องเที่ยวอาจกลายมาเป็นโอกาส โดยจะเป็นการตรวจสุขภาพตั้งแต่ต้นทางว่า ผู้ที่ต้องการเดินทางไม่ติดเชื้อโควิด-19 และมีการบริหารจัดการตลอดเส้นทางการเดินทาง เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัย
ทั้งนี้ พบว่า ในปัจจุบันมีชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลในประเทศ และรวมไปถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวพร้อมทั้งใช้บริการด้านสุขภาพ อาทิ ตรวจสุขภาพทั่วไป ทำฟัน ทำศัลยกรรมความงาม มีแนวโน้มเติบโตอย่างมาก และประเทศไทยก็มีชื่อเสียงด้านนี้อยู่แล้ว สำหรับประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดในภูมิภาคเอเชียกว่า 38% รั้งอันดับที่ 1 ของภูมิภาค
โดยมีจุดแข็งด้าน “อุปทาน” คือคุณภาพการรักษาและการดูแลผู้ป่วยอยู่ในระดับมาตรฐานสากล ดังนั้น จึงเป็นโอกาสหากรัฐบาลส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ Medical Hub พร้อมทั้งนำเสนอขั้นตอนในการดำเนินการ ผนึกกำลังกับประเทศต้นทาง: ร่วมมือกับบริษัทนำเที่ยว โรงแรมมาตรฐานสูง และโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับ โดยเปิดให้ซื้อแพคเกจเดินทางมายังประเทศไทย แต่ต้องมีการตรวจสุขภาพและเมื่อพบว่าไม่มีเชื้อ ก็จะมีการทำประกันสุขภาพให้กับผู้เดินทางทุกคน
จากนั้นเก็บตัวในโรงแรมต้นทาง 14 วัน สำหรับผู้ปลอดเชื้อทั้งหมด โดยมีบริการต่างๆครบวงจรในโรงแรมต้นทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวก่อนการเดินทาง ก่อนการเดินทางมายังสนามบิน มีการตรวจเชื้ออีกครั้ง หากปลอดภัย ก็สามารถเดินทางด้วยเครื่องบินเหมาลำ ที่มีการดูแลความปลอดภัยและมีมาตรฐาน เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยจะมีการตรวจเชื้อซ้ำอีกครั้ง
หากพบว่าปลอดเชื้อจะส่งตัวมาพักในโรงแรมระดับมาตรฐาน ที่มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลชั้นนำ โดยจะมีแพคเกจสุขภาพให้เลือกอย่างหลากหลาย โดยจะจำกัดพื้นที่ในโรงแรมที่กำหนดอย่างน้อย 14 วัน รวมถึงมีการบริการทางการแพทย์ กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจในโรงแรม ครบวงจร เพื่อครบกำหนด 14 วัน ก็จะประสานกับบริษัทนำเที่ยวในประเทศไทย กระจายสู่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ สามารถท่องเที่ยวหรือพักอาศัยในประเทศไทยได้ระยะเวลายาวขึ้น และ เกิดการใช้จ่ายระหว่างอาศัยอยู่ในประเทศไทย นำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอม และ ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน แต่หากทำสำเร็จ จะเป็นการปรับฐานการท่องเที่ยวสู่การท่องเที่ยวคุณภาพ และทำรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่าเดิม