“อาคม” ชี้ถึงเวลาแก้ปัญหาด้านแรงงาน หนุนเศรษฐกิจประเทศเติบโตยั่งยืน ลั่นไทยก้าวสู่สังคมสูงวัยเร็วเกินคาด

  • เล็งเสริมมาตรการลดหย่อนภาษี ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการ จ้างงานกลุ่มผู้สูงวัย
  • ชี้เศรษฐกิจไทยค่อยๆ ปรับระดับ แสดงให้เห็นว่า การเติบโตจะขยับไปเรื่อยๆ
  • ลั่นเรื่องเงินเฟ้อ ขณะนี้ได้ทยอยปรับลดลง เผยจะตั้งเป้ารักษาระดับให้อยู่ในกรอบ 1-3%

วันนี้ (9 มี.ค.66) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวในฐานะวิทยากรพิเศษงาน “THE NEXT THAILAND’FUTURE จุดเปลี่ยนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน” โดยระบุว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานในอนาคตที่จะเพิ่มขึ้น เป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องกลับมาพิจารณาจริงจัง เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความยั่งยืนของประเทศ โดยการขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะกรณีที่ประเทศไทยได้เริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเร็วกว่าที่คาด และการไม่กลับเข้าสู่ตลาดแรงงงานหลังเหตุการณ์โควิด-19 เนื่องด้วนแรงงานเหล่านั้นได้กลับภูมิลำเนา และเปลี่ยนตนเองไปประกอบอาชีพภาคการเกษตรแทน ดังนั้น กระทรวงการคลังควรมีนโยบายเรื่องของมาตรการการลดหย่อนภาษี เพื่อเข้ามาช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจ้างงานกลุ่มผู้สูงวัยมากขึ้นในอนาคต

นายอาคม กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาการจ้างงานจะปรับตัวดีขึ้น เพราะรัฐมีมาตรการรักษาระดับการจ้างงาน แต่อย่างไรก็ตาม เราคงต้องกลับมาพิจารณาเรื่องแรงงาน เพราะการขาดแคลนแรงงานในอนาคตจะเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะสังคมไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุเร็วขึ้น ฉะนั้น มาตรการของรัฐเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่เกษียณการทำงานอายุ 60 ปี ถามว่า เขาจะมีรายได้อยู่หรือไม่ คลังจะมีมาตการต่อในเรื่องมาตรการภาษีอย่างไร” 

นอกจากนี้ สำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนของประเทศนั้น ขณะนี้มีคำถามว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตช้ากว่าประเทศอื่นในอาเซียนหรือไม่ นายอาคม กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยค่อยๆปรับระดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เส้นทางการเติบโตจะขยับไปเรื่อยๆ แต่จะสูงสุดเมื่อไหร่ยังไม่ทราบ 

“การเติบโตตามศักยภาพของเศรษฐกิจไทยนั้นอยู่ที่ 4-5% แต่เราก็มองว่า จีดีพีของไทยในขณะนี้น่าจะเติบโตได้ 3-4% แต่หากไทยสามารถพัฒนาประสิทธิภาพของประชากรได้ ระดับจีดีพีจะเพิ่มขึ้นได้อีก 1% ซึ่งจะต้องเพิ่มทักษะทางด้านแรงงานให้มากขึ้น” นายอาคม กล่าว

นอกจากนี้ ในแง่เสถียรภาพเศรษฐกิจนั้น ถือว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งในเรื่องของเงินเฟ้อ ทุนสำรองระหว่างประเทศ หนี้สาธารณะ และหนี้ครัวเรือน โดยในเรื่องของเงินเฟ้อ ขณะนี้ได้ทยอยปรับลดลง ซึ่งประเมินว่าจะอยู่ในกรอบ 1-3% ซึ่งรัฐบาลก็ได้ใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง เข้าไปช่วยดูแล 

ส่วนหนี้สาธารณะอยู่ในระดับ 61.26% ต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นจากการกู้เงินขาดดุลงบประมาณ โดยปีงบประมาณ 66 ระดับขาดดุลอยู่ที่ 6.59 แสนล้านบาท ลดลงจากปีงบ 65 ซึ่งเป็นสัญญาณการเข้าสู่การเข้าสู่ความยั่งยืนทางการคลัง ทางด้านทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งก็อยู่ในฐานะการคลังไม่มีปัญหา 

อย่างไรก็ตาม วันนี้เราพูดเรื่องงงบประมาณสมดุล แต่ไม่ได้หมายความว่า ไทยจะไม่ใช้จ่าย ส่วนปัญหาหนี้ครัวเรือนทาง ธปท.มีไกค์ไลน์ขอความร่วมมือสถาบันการเงิน ให้ช่วยปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนการพักชำระหนี้ก็มีอยู่บ้าง แต่พักนานจะทำให้เรามีภาระสถาบันกาเงิน เราจึงเน้นปรับโครงสร้างหนี้มากกว่าการพักหนี้ ที่สุดแล้วต่อไปจะเกิดหนี้เสี