- จัดโรดโชว์สหรัฐ จีน ญี่ปุ่น ดูดนักลงทุน
- จีน แชมป์นักลงทุนไทยอันดับหนึ่งแซงหน้าญี่ปุ่น
- “สมคิด” สั่งบีโอไอหารือคลัง คลอดมาตรการส่งเสริมการลงทุนรอบใหม่
“สมคิด” มอบนโยบายบีโอไอปีนี้ หนุน 4 กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีไทย หวังเชื่อมโยงถึงเศรษฐกิจฐานราก พร้อมขอบคุณบีโอไอ ที่ทำงานผลงานทะลุเป้าหมายปี2562 แต่ยังไม่เพียงพอ สั่งบีโอไอหารือคลังวางแผนมาตรการสนับสนุนนักลงทุนไทยลง ทุนมากขึ้น ทั้งซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ ในช่วง 6 เดือนนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข็งขันในช่วงเงินบาทแข็ง ด้านบีโอไอ ชี้ นักลงทุนจีนได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอมากที่สุด 160,000 ล้านบาท แซงหน้านักลงทุนญี่ปุ่น
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายให้แก่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลง ทุน (บีโอไอ) ว่า ได้เน้นย้ำการส่งเสริมภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ใน 4 กลุ่มหลักให้เห็นผลภายในปีนี้ ประกอบด้วย 1.อุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวและแรงงาน ซึ่งไทยมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง โดยเน้นให้มีการส่ง เสริมด้านการท่องเที่ยวและบริการทุกประเภท 2.อุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy โดยขอเน้นส่งเสริมด้านเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ทั้งด้านสร้างภาพยนตร์ แอนิเมชั่น รวมถึงการพัฒนาด้านดีไซน์ การละครและศิลปะ 3.กลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพหรือ BCG (ไบโอ เซอคูล่า กรีน) มอบหมายให้บีโอไอออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้กับภาค ธุรกิจที่ลงทุนในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นอุตสาหกรรมหลัก
และ 4.อุตสาหกรรมที่เน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเรื่องนี้ บีโอไอจะทำงานร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยหากภาคธุรกิจใดเข้าไปมีส่วนร่วม หรือมีการลงทุนใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างงาน สร้างรายได้และพัฒนาชุมชนก็จะได้รับสิทธิประโยชน์จากบีโอไอ นอกจากนี้ บีโอไอต้องไปหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อออมมาตรการเร่งรัดให้นักลงทุนไทยลงทุนในประเทศมากยขึ้น ภายใน 6 เดือนนี้ เนื่องจากเงินบาทแข็งจะช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการในการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้
ส่วนผลการดำเนินงานของบีโอไอปี2562 ตนขอชื่นชมการทำงานของบีโอไอที่ทำผลงานได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยมียอดขอ รับการส่งเสริมการลงทุน 1,624 โครงการ มูลค่า 756,100 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 750,000 ล้านบาท โดยนักลง ทุนจีนมีมูลค่าสูงที่สุดถึง 260,000 ล้านบาท แซงหน้านักลงทุนญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก
ขณะที่ คำส่งเสริมการลงทุนขอพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีจำนวน 506 โครงการ มูลค่า 444,880 ล้านบาท หรือคิดเป็น 59% ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด โดยจังหวัดระยอง มีมูลค่าเงินลงทุนมากที่สุด ตามด้วยจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา สำหรับคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีจำนวน 838 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 286,520 ล้านบาท คิดเป็น 38% ของมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด โดยอุตสาหกรรมที่มูลค่าเงินลงทุนสูงสัด ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 80,490 ล้านบาท ยานยนต์และชิ้นส่วน 74,000 ล้านบาท และปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 40,100 ล้านบาท
“ในปีนี้บีโอไอมีแผนจะเดินสายเปิดตลาดในสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค.นี้ หลังจากได้รับการตอบรับจากทั้งจีน ญี่ปุ่น และฮ่องกงที่เข้ามาลงทุนในไทย โดยเชื่อมั่นว่า แม้เศรษฐกิจโลกจะมีความผันผวน นักลงทุนต่างชาติยังสนใจเข้ามาลงทุนในไทย”
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวว่า ในเร็วๆ นี้ บีโอไอจะนัดหารือกับกระทรวงการ คลัง โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับส่งออกเช่น กรมสรรพากรและกรมศุลกากร เพื่อให้กระทรวงการคลังออกมาตรการทางภาษีใหม่ๆ ช่วยสนับสนุน หรือลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่จะลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดย เฉพาะการลงทุนทางด้านปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และอุปกรณ์
“ตอนนี้ ต้องรอผลการหารือระหว่างกระทรวงการคลังกับบีโอไอก่อนว่า จะมีข้อตกลงอะไรใหม่ๆ หรือไม่ แต่ในหลักการแล้ว การลดภาษีของกรมสรรพากรและลดภาษีนำเข้าของกรมศุลกากร จะเพิ่มแรงจูงใจให้เอกชนลงทุนซื้อเครื่องจักร และอุปณ์ได้ โดยในช่วงนี้ เงินบาทแข็งจะยิ่งส่งผลดีของการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพราะมีราคาถูกลง”
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า ตัวเลขที่นักลงทุนจีนได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ มากเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 260,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ แยกเป็นการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) 160,000 ล้านบาท ที่เหลืออีก 100,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนในโรงงานผลิตยางล้อรถยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนโลหะรถยนต์ ทางระบบไอที และฟินเทค ( FinTech ) เป็นต้น
“โครงการที่บีโอไอส่งเสริมให้นักลงทุนจีน มีหลากหลายอุตสาหกรรมและธุรกิจ หากตัดโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมูลค่า 160,000 ล้านบาทออกไปแล้ว มูลค่าที่จีนได้รับการส่งเสริมในกิจการอื่นๆ ก็ยังแตะ 100,000 ล้านบาท มากกว่าปี2561 ที่มูลค่า 50,000 ล้านบาท ขณะที่ นักลงทุนญี่ปุ่นปีที่แล้วได้รับส่งเสริมการลงทุน 73,000 ล้านบาทมาเป็นอันดับสอง แต่ยอดการลงทุนสะสมตลอด 30-40 ปีที่ผ่านมา ยังคงเป็นอันดับ1 ส่วนเป้าหมายส่งเสริมการลงทุนในปีนี้ จะมีการนำเรื่องดังกล่าว หารือกับคณะกรรม การบีโอไอภายในเดือนก.พ.นี้”