วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมปรึกษาพิจารณาคดีกรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็น
ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวม 2 คำร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148
วรรคหนึ่ง 1 ว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้อง
ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่
ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ ซึ่งผลการลงมติ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า คดีนี้ไม่มีประเด็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อความหรือเนื้อหาสาระของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แต่อย่างใด ทั้งไม่มีประเด็นเกี่ยวกับความผิดทางอาญา หรือทางจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใด คงมีประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะเรื่องกระบวนการตราร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เท่านั้น ส่วนบุคคลใดจะต้องรับผิดรับโทษอย่างไรหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องไปดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า การกระทำโดยไม่สุจริตใช้สิทธิออกเสียงลงมติแทนผู้ที่ไม่ได้อยู่ร่วมประชุมด้วยนั้นเป็นการละเมิดหลักกาพื้นฐานของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่อยู่ในอาณัติมอบหมายของผู้ใด และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 114 ทั้งสมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งเสียงในการออกเสียงลงคะแนนตามฐธรรมนูญ มาตรา 120 วรรคสาม และการออกเสียงลงคะแนนจะกระทำแทนกันมิได้ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 80 วรรคสาม ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฎว่า ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 เวลาประมาณ 19.30 นาฬิกา ถึงวันที่ 11 มกราคม 2563 ซึ่งเป็นการพิจารณาวาระที่สอง และวาระที่สาม ปรากฎการแสดงตนและลงมติของนายฉลอง เทอดวีระพศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งที่นายฉลอง เทอดวีระพงศ์ รับเองว่าตนไม่อยู่ในที่ประชุมตามวันและ เวลาดังกล่าว การที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อยู่ในห้องประชุม แต่ปรากฎว่ามีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติแทน ย่อมมีผลเป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ไม่สุจริต ทำให้ผลการลงมติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในวันและเวลาดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ปัญหาว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ยประจำบึงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตกไปทั้งฉบับ ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/256 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3-42557 หรือไม่ เห็นว่า ประเด็นข้อวินิจฉัย พฤติการณ์แห่งคดีและบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวแตกต่างจากประเด็นข้อวินิจฉัย พฤติการณ์แห่งคดี และบทกฎหมายในคดีนี้อย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ คดีนี้ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับข้อความอันเป็นสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แต่มีปัญหาที่กระบวนการตราร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เท่านั้น ข้อเท็จจริงในคดีนี้ก็ปรากฎชัดว่าการพิจารณาออกเสียงลงมติของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ และการพิจารณาของคณะกรรมาธิการก่อนเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเรียงตามลำดับมาตราในวาระที่สองได้ดำเนินการไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทุกประการ ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่เสร็จสิ้นไปโดยสมบูรณ์ก่อนแล้ว นอกจากนี้ ยังมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ประเทศชาติจะต้องได้กฎหมายฉบับนี้ไปช่วยแก้ปัญหาความล่าช้าและอุปสรรคในการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดินอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พศ.2561 มาตรา 7 บัญญัติให้ศาลรัฐธรมนูญมีอำนาจกำหนดคำบังคับไว้ในคำวินิจฉัยได้ด้วยซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวนี้มิได้มีอยู่ในอดีต
อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2651 มาตรา 7 ให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการให้ถูกต้องเฉพาะในวาระที่สองและวาระที่สาม และ ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ แต่การพิจารณาลงมติในวาระที่หนึ่ง และในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการก่อนนำเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาออกเสียงลงมติเรียงตามลำดับมาตราในวาระที่สองซึ่งได้เสร็จสิ้นไปก่อนที่จะมีการกระทำอันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงเป็นขั้นตอนที่ชอบและมีผลสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญแล้ว จากนั้นให้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่แก้ขให้ถูกต้องดังกล่าวให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญต่อไป พร้อมทั้งให้สภาผู้แทนราษฎรรายงานผลการปฏิบัติตามคำบังคับต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำวินิจฉัย
ส่วนคำร้องที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 78 คน ขอให้
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 นั้น เห็นว่า เหตุแห่งคำร้องดังกล่าวเป็นเหตุเดียวกันกับที่
ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยไปในคดีนี้แล้ว กรณีไม่มีเหตุจำเป็นต้องรับไว้พิจารณาวินิจฉัยให้อีก จึงมีคำสั่ง
ไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย