

- สั่ง ทล.-กทพ. ร่วมวางแผนออกแบบและบริหารจราจร
- ดีเดย์ ก.ค. 63 ตอกเข็มสร้างทางด่วนพระราม 3-วงแหวนฯ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามการก่อสร้างโครงการ ปรับปรุงถนนพระราม 2 (ทางหลวงหมายเลข 35) ของกรมทางหลวง (ทล.) และโครงการก่อสร้างทางด่วนสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตกระยะทาง 18.7 กม.ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ว่า เนื่องจากทางด่วนสายสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกฯ จะต้องก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ดังนั้นจะต้องมีการบริหารแผนการก่อสร้างร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการจราจร

ทั้งนี้ในส่วนของการปรับปรุงถนนพระราม 2 ของกรมทางหลวงนั้น จะเสร็จภายในปีนี้ โดยตอนที่ 1 (กม.10+000- กม. 17+400) จะก่อสร้างผิวทางแล้วเสร็จในเดือนพ.ค. 2563 ตอนที่ 2 (กม.17+400- กม. 20+400) ก่อสร้างผิวจราจรเสร็จแล้ว ตอนที่ 3 (กม.20+400- กม. 21+500) จะ ก่อสร้างผิวทางแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2563
สำหรับทางด่วน สายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกฯ แบ่งงานโยธาเป็น 4 สัญญา และงานระบบ 1 สัญญา โดยสัญญา 1 (ทางยกระดับ จากทางต่างระดับบางขุนเทียน-ห้างเซ็นทรัล พระราม 2) สัญญาที่ 2 (ทางยกระดับ หน้าโรงพยาบาลนครธนถึงโรงพยาบาล บางประกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล) สัญญาที่ 3 (ทางยกระดับ จากโรงพยาบาลบางปะกอก9อินเตอร์เนชั่นแนล –ด่านดาวคะนอง) ระยะทางรวมประมาณ 13 กม. ซึ่งสัญญาที่ 2 ได้ลงนามกับผู้รับจ้างแล้ว ส่วนสัญญาที่ 1 และ 3 อยู่ระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งจะสรุปผลในเดือนมิ.ย. 2563
ส่วน สัญญาที่ 4 (สะพานขึงคู่ขนาน ) ขณะนี้ผู้รับจ้างได้เริ่มก่อสร้างแล้ว ส่วนสัญญาที่ 5 (งานระบบเก็บค่าผ่านทาง ระบบสื่อสาร ควบคุมการจราจร) จะเปิดประกวดราคาต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ได้ให้นโยบายในการก่อสร้างทางด่วน นั้นจะต้องไม่ให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด โดยให้ปิดพื้นผิวจราจรเฉพาะจุดที่มีความจำเป็นใช้สำหรับก่อสร้างเท่านั้น ซึ่งจะเป็นไปตามความสามารถของผู้รับจ้างในการก่อสร้างเท่านั้น จะไม่มีการปิดผิวจราจรเป็นระยะทางยาว โดยไม่มีเครื่องจักรทำงาน
อย่างไรก็ตามได้ให้นโยบายที่จะใช้ในการก่อสร้างในหลัก 5 มิติ ด้วยกันคือ
- มิติการออกแบบ โดยกทพ.และทล.บูรณาการออกแบบของโครงสร้างทางยกระดับที่สอดคล้องกัน โดยใช้ Precast Box Segment เพื่อลดระยะเวลาก่อสร้าง เป็นการหล่อโครงสร้างสำเร็จจากโรงงาน นำมาติดตั้งในพื้นที่ได้รวดเร็ว
- มิติการประชาสัมพันธ์ให้ประชาขนทราบ ซึ่งสำคัญมาก เพื่อให้ประชาชนบริหารจัดการและตัดสินใจในการเดินทางได้ และติดตั้งป้ายบอกทางล่วงหน้าก่อนเข้าพื้นที่ก่อสร้าง เป็นระยะๆ และประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านแอปพลิเคชั่น ของกทพ.และทล. และติดตั้ง CCTV จุดก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์ด้านการจราจร
- มิติการบริหารจราจร ในการกั้นพื้นที่ก่อสร้างบริเวณเกาะกลางถนนพระราม 2 ออกไปฝั่งละ 1 ช่องจราจร กว้างไม่เกิน 12 เมตร โดยเบี่ยงช่องจราจรและคงช่องทางหลัก (Main Road) ที่ 3 ช่องจราจร
- มิติการบริหารและเร่งรัดการก่อสร้าง โดยแบ่งเป็น 4 เรื่อง ซึ่งตามแผนจะเริ่มดำเนินการในเดือนก.ค. 2563 –ปี 2566 (ระยะเวลา 3 ปี) และจะมีการกำกับการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยให้รายงานความคืบหน้าทุกเดือนหากมีปัญหาอุปสรรค จะต้องเร่งแก้ไข
- มิติการบริหารพื้นที่ร่วม ทล.และกทพ.มีการดำเนินการ ไม่เข้าทำงานพร้อมกันในพื้นที่ทับซ้อนเพื่อหลักเลี่ยงในการปิดพื้นที่เพิ่ม
“ผมไม่ต้องการให้การก่อสร้างทางด่วนสายพระราม 3- ดาวคะนอง มีปัญหาเหมือนการก่อสร้างถนนพระราม 2 ในอดีต นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม ทล. กทพ.จะบูรณาการทำงานร่วมกับ ตำรวจและกระทรวงมหาดไทย