

นักวิชาการระบุ จีนต้องทำให้สำเร็จเพราะไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของโครงการ One Belt One Road
สถานฑูตเอกอัครราชฑูตจีนประจำประเทศไทย เปิดเผยในบัญชีเฟสบุ๊กว่า นายหวัง อี้ รมว.ต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนจะเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 14-15 ตุลาคม ตามคำเชิญของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกฯและรมว.ต่างประเทศ
ทั้งนี้ หนึ่งในภารกิจสำคัญก็คือการเข้ามาเซ็นสัญญาในโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทยจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ One Belt One Road เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักที่จีนริเริ่มดำเนินการในช่วงไม่กี่ปี ที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างจีนกับบรรดาประเทศต่าง ๆ
หลังจากคณะตัวแทนของสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงในส่วนของร่างสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท
ด้านสื่อของฮ่องกงรายงานถึงการเซ็นสัญญาดังกล่าวว่า นับเป็นอีกความคืบหน้าโครงการนี้มีความล่าช้ามาหลายปี เส้นทางรถไฟดังกล่าวกับความเร็วสูง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งจากเมืองคุนหมิงทางตอนใต้ของตีน ข้ามพรมแดนลาวและข้ามมาหนองคายปลายทางสิงคโปร์
โดยวิศวกรชาวจีนได้ระเบิดผ่านภูเขาและสร้างสะพานข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดการปี 2021 เพื่อเปิดการเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายรถไฟขนาดใหญ่ของจีน
สำหรับโครงการนี้ฝ่ายไทยมีความไม่สบายใจกับการจัดแหล่งแหล่งเงินทุนของจีนที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูง การออกแบบรางไปจนถึงความจำเป็นในโครงการ
ในที่สุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีไทยได้มีมติคลอดงบประมาณจำนวน 380 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อซื้อรถไฟและรางรถไฟที่ผลิตในจีน

ร.ศ.ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาความมั่นคงและนานาชาติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นักการทูตระดับสูงของจีน ต้องการที่ที่จะบรรลุโครงการนี้ในไทยให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีประโยชน์ใด ๆ ที่มีทางรถไฟจากกรุงเวียงจันทน์ ลาวแต่ไม่ผ่านประเทศไทย”
นักวิเคราะห์กล่าวว่าที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ของไทยและศักยภาพในการเชื่อมโยงทางทะเลทางอากาศและทางรถไฟทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับจีนและเป็นส่วนสำคัญของโครงการ One Belt and Road ของรัฐบาลจีน
ทางด้าน เซลินาโฮ ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านนโยบายสาธารณะระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าวว่า พลังการต่อรองกับรัฐบาลจีนของหลายๆ ประเทศขึ้นอยู่กับ ทำเลที่ตัเงและขีดความสามารถของรัฐ ทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้บางประเทศสามารถเจรจาและดำเนินโครงการรถไฟกับจีนได้
ยุทธศาสตร์ของไทยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของสายตะวันออกกลางและตะวันตกที่ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก “โฮ” กล่าวซึ่งหมายถึงเส้นทางที่จะผ่านพม่าลาวและไทยและเวียดนามในที่สุดตามลำดับ
ประเทศมหาอำนาจสายกลางเช่น อินโดนีเซีย, ไทยและมาเลเซียมีอำนาจเหนือกว่าลาวในการเจรจากับจีน “โฮ” กล่าวเสริมและเช่นเดียวกันสำหรับสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่มีความสามารถของรัฐที่ดี
สำหรับเครื่องมือการต่อรองอื่นๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ก็คือการเมืองภายในประเทศและความคิดเห็นของประชาชนในปะเทศนั้น ๆ และระบุถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่ผู้นำถูกโจมตีว่า “ขายประเทศให้จีน” และชาวบ้านมีความกังวลว่าจะได่รับประโยชน์อะไร และจะสร้างงานอย่างไร เพื่อเสริมความแข็งแกร่งเพื่อการเจรจา

“พวกเขาสามารถบอกจีนได้ดูสิเรากำลังวางตำแหน่งในประเทศของเราไว้ที่นี่คุณต้องให้สัมปทานกับเรามากกว่านี้” โฮกล่าวและว่า ความลำบากของจีนต้องเผชิญในการก่อสร้างทางรถไฟโดยอ้างถึงความไม่คุ้นเคยกับระบบการเมืองที่แตกต่างกัน
อย่างเช่นกรณีของอินโดนีเซียก็คือ การซื้อที่ดินเป็นชั้นตอนแรกในกระบวนการก่อสร้าง มักส่งผลให้เกิดความล่าช้าเนื่องจากการต่อต้านจากรัฐบาลท้องถิ่น “โฮ” กล่าวชี้ให้เห็นว่า 29 เขตและ 95 หมู่บ้านในชวาตะวันตกได้รับผลกระทบโดยตรงกับการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง จาการ์ตา-บันดุง
“ดังนั้นคุณสามารถจินตนาการได้ถึงความยากลำบากที่ บริษัท ก่อสร้างของจีนต้องเผชิญในขณะที่พวกเขาจัดการกับหน่วยงานท้องถิ่นที่มีอำนาจและกฎหมายการครอบครองที่ดินที่แข็งแกร่งมากในอินโดนีเซีย” โฮกล่าว
“ มันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับ [จีน] มีการลองผิดลองถูกมากมายมีการเรียนรู้มากมายในกระบวนการนี้” โฮกล่าว
สำหรับโครงการ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย)
ระยะที่1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท เริ่มการก่อสร้างงานโยธาเมื่อปี 2561 แล้วเสร็จในปี 2566 (ดำเนินการ 5 ปี)
ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 211,757 ล้านบาท เริ่มดำเนินการในปี 2563 -2568 (ระยะเวลา 5ปี) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะทำให้การเชื่อมต่อขนส่งทางราง จากกรุงเทพฯ-หนองคาย และเชื่อมไปยัง สปป.ลาวและประเทศจีนตอนใต้