- จับมือมหาวิทยาลัยสุรนารี นครราชสีมา
- แปรรูปขยะปนเปื้อนกลับมาใช้งานได้ใหม่
- เปิด3มาตรการร่วมรักษ์โลก
นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซีเปิดเผยว่า จีซีได้ เดินหน้าต่อยอดแพลตฟอร์ม การจัดการขยะพลาสติกแบบครบวงจร โดยการรีไซเคิลพลาสติกผ่านกระบวนการ Chemical Recyclingหรือ กระบวนการแปรรูปขยะพลาสติกปนเปื้อน ให้สามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ พร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน (Ecosystem) ด้วยแผนการจัดการขยะพลาสติก (End-to-End Waste Management) เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (SDGs) และ การดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (SUT)
ท้ังนี้ จีซี ได้ ริิเริ่ม โครงการ “YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม” ที่ เป็นตัวอย่างของแผนการจัดการขยะพลาสติก (End-to-End Waste Management) เพื่อนำขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวน การรีไซเคิลอย่างถูกต้อง สามารถแก้ปัญหาขยะพลาสติกแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การคัดแยก รวบรวมขยะพลาสติก ที่เป็นวัตถุดิบจากเครื่องรับขยะ (Drop Points) และขนส่งไปยังปลายทาง เช่น โรงงานรีไซเคิล หรือ โรงงานอัพไซเคิล ที่ในปีชนี้ จีซี จะเปิดดำเนินการโรงงานพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (Food Grade) ครบวงจรเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
“จีซีและ SUT จะร่วมมือกับพันธมิตรภาคการศึกษา ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติก เพื่อร่วมกันวางแผนการจัดการคัดแยกขยะพลาสติกที่ต้นทาง ส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะพลาสติก พร้อมสนับสนุนถังขยะต้นแบบเพื่อการคัดแยก รวมถึงจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะพลาสติก ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อนำไปสู่รูปแบบการจัดการคัดแยกขยะพลาสติกต้นทาง ที่สามารถลงมือทำได้จริงสู่ปลายทางแบบครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ โดย จีซี มีบริษัทในกลุ่มที่สามารถส่งเสริมมหาวิทยาลัยฯ ในการขยายผลไปในระดับประเทศได้ และจีซี ยังร่วมศึกษาวิจัย และสนับสนุนงบประมาณในการทดสอบ การแปรรูปขยะพลาสติกปนเปื้อนให้สามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับขยะพลาสติกปนเปื้อนในรูปแบบต่าง ๆ อีกด้วย”
ขณะเดียวกัน ความร่วมมือครั้งนี้ ส่งผลให้ จีซี มีแผนการจัดการขยะพลาสติก (End-to-End Waste Management) ครอบคลุม 3 ด้านคือ 1.พลาสติกชีวภาพ (Bio-based) ที่จะเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถสลายตัวได้ด้วยการฝังกลบเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียว 2. พลาสติกทั่วไป (Fossil-based) ที่ เน้นการใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยความรับผิดชอบ นำขยะพลาสติกกลับมารีไซเคิล (Recycle) หรืออัพไซเคิล (Upcycle) เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่สามารถคัดแยกและนำกลับ มารีไซเคิล 3. การ Chemical Recycling ที่ ได้ร่วมมือกับ SUT ในการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูป ขยะพลาสติกปนเปื้อน ที่ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบปกติ (Mechanical Recycling) ได้ ให้สามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ พร้อมวางระบบการจัดการขยะด้วยเทคโนโลยีอื่น ๆ