- บอร์ดกสทช.ชุดเก่าทำงานมา 8 ปี เหลือ 5 คน
- ตั้งกรรมาธิการพิจารณาแก้กฎหมาย45วัน
- คาดปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า มีกสทช.ชุดใหม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ก.พ.2563 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ได้พิจารณารับหลักการ แก้ไขพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) โดยส.ส.เข้าร่วมประชุม 359 คน เห็นด้วย 339 คน ไม่เห็นด้วย 11 คน และงดออกเสียง 9 คน
สำหรับขั้นตอนนับจากลงคะแนนโหวตครั้งนี้ ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการแก้ไขร่างพ.ร.บ.กสทช. มีกรรมการรวม 49 คน ประกอบด้วย
คณะรัฐมนตรี
- นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
- ศาสตราจารย์พิเศษประสพสุข บุญเดช
- นายฐากร ตัณฑสิทธิ์
- นางสาวพรพักตร์ สถิตเวโรจน์
- นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา
- นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์
- นายยอดฉัตร ตสาริกา
- นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา
- นายชำนาญ งามมณีอุดม
- นายสิโรตม์ รัตนามหัทธนะ
- นายบุญยอด สุขถิ่นไทย
- นายบุญยอด สุขถิ่นไทย
พรรคเพื่อไทย
- นายสุชาติ ภิญโญ
- นายสยาม หัตถสงเคราะห์
- นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์
- นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์
- นายชลน่าน ศรีแก้ว
- นายสงวน พงษ์มณี
- นายนพ ชีวานันท์
- นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์
- นายเมฒินทร์ เพ็ชรพลาย
- นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
พรรคพลังประชารัฐ
- นายสิระ เจนจาคะ
- นายยงยุทธ สุวรรณบุตร
- นายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์
- นายฐาปกรณ์ กุลเจริญ
- นายสันติ กีระนันทน์
- นางสาววทันยา วงษ์โอภาสี
- รองศาสตราจารย์รงค์ บุญสวยขวัญ
- นางสาวภาคาท์ วรกานนท์
- นายทวี สุระบาล
พรรคอนาคตใหม่
- นายวิรัช พันรุมะผล
- นายไกลก้อง ไวทยการ
- นายณัฐวุฒิ บัวประทุม
- นายธีรเศรษร พัฒนราพงษ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
- นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง
พรรคประชาธิปัตย์
- นายสราวุธ อ่อนละมัย
- นางกันตวรรณ ตันเถียร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชนัญสรา อรนพณ อยุธยา
- นายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ์
พรรคภูมิใจไทย
- นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
- พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรศิลป์ จยาวรรณ
- นายเจษฎา ศิวรักษ์
พรรคชาติไทยพัฒนา
- นายปรเมศวร์ กุมารบุญ
พรรคเสรีรวมไทย
- นางสาวณัฏฐา มหัทธนา
พรรคประชาชาติ
- นางราตรี สุทธิสารากร
พรรคเศรษฐกิจใหม่
- นายนิคม บุญวิเศษ
ทั้งนี้โดยกมธ.จะพิจารณารายละเอียดของกฎหมาย 45 วัน และสามารถขยายเวลาพิจารณาได้ โดยในระหว่างนี้จนถึงต้นเดือนมี.ค.2563 ส.ส.คนใด ต้องการเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายสามารถเสนอได้ภายใน 7 วัน เพื่อให้คณะกรรมาธิการ นำไปพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม และเมื่อคณะกรรมาธิการแก้ไขเสร็จเรียบร้อย ให้นำเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาวาระ 2 และวาระ 3 เพื่อลงคะแนนเสียงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยต่อไป หลังจากนั้นเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ต่อไป ซึ่งการพิจารณาของส.ว.นั้น ก็ต้องพิจารณาตามลำดับขั้นตอนของ ส.ส.เช่นเดียวกัน ราว 45-60 วัน ดังนั้นคาดว่าการพิจารณาแก้ไขพ.ร.บ.กสทช.จะใช้เวลา 4-5 เดือน เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ ก็สามารถประกาศสรรหากรรมการ กสทช.ชุดใหม่ได้ ส่วนกระบวนการสรรหา จะใช้เวลาดำเนินการเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับการแก้ไขกฎหมายครั้ง จึงคาดว่าภายในปีนี้ หรือกลางปีหน้าจึงจะมีกรรมการกสทช.ชุดใหม่
สำหรับกรรมการกสทช.ชุดปัจจุบัน จากเดิมที่กรรมการทั้งสิ้น 11 คน ซึ่งได้รับการสรรหาและเข้ามาทำหน้าที่กสทช.เมื่อเดือนต.ค.2554 ต่อมาสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ได้มีการหลอมรวมเทคโนโลยีทั้งกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคม จึงได้เสนอให้เหลือกรรมการกสทช. 7 คน ซึ่งได้มีแก้ไขพ.ร.บ.กสทช.ไปแล้ว และได้มีการสรรหากรรมการกสทช.ไป 1 ครั้งแต่ไม่สำเร็จ มีการล่มการสรรหาครั้งนั้น ทำให้กรรมการกสทช.ชุดปัจจุบัน ยังคงทำงานมาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 8 ปีกว่า จากกรรมการจำนวน 11 คน ปัจจุบันเหลือ 6 คน ประกอบด้วย พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร .พ.อ.นที ศุกลรัตน์,พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ ,นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ นายธวัจชัย จิตภาษนันท์. และน.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศ์ษา ซึ่งขณะนี้น.พ.ประวิทย์ ได้ยื่นหนังสือลาป่วยเป็นเวลา 3 เดือน ทำให้เหลือกรรมการกสทช.เพียง 5 คน ทำให้ต้องตีความตามกฎหมายนว่า กสทช.ที่เหลืออยู่ยังคงมีอำนาจในการทำงานอยู่หรือไม่
ดังนั้นพิจารณารายละเอียดแล้วว่า แม้กรรมการจะเหลือเพียง 5 คน ยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ไม่ควรพิจารณาเรื่องที่เป็นสาระสำคัญ ดังนั้นรัฐบาลจึงเห็นควรให้เร่งดำเนินการสรรหากรรมการกสทช.ชุดใหม่ แต่การสรรหากรรมการกสทช.จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องแก้ไขพ.ร.บ.กสทช.ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะดำเนินการได้