การท่าเรือ ได้ฤกษ์ลงนามในสัญญากับกลุ่มร่วมค้า GPC สร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3



  • รองรับการขนส่งตู้สินค้า 18 ล้านตู้/ปี 
  • พร้อมพัฒนาเป็นท่าเรืออัจฉริยะ เสริมศักยภาพสู่การเป็น Gate Way Port 
  • ก้าวประตูสู่การค้าอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเชื่อมโยงตลาดโลก 
  • ด้านท่าเรือมั่นใจ ได้ค่าสัมปทานตลอด 35 ปี ที่ 3.2 หมื่นล้านบาท

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่3 ในส่วนของท่าเรือ F ระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กับ กลุ่มร่วมค้า GPC ซึ่งประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (PTT TANK) บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ว่า โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเรือ F เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนครั้งสำคัญเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจยกระดับความสามารถทางการค้า และเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศไทยในการรองรับการขนส่งการค้าทางทะเลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้งป็นการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทยเพื่อให้ภาคโลจิสติกส์สามารถบริหารจัดการส่งได้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนและเชื่อมโยงกับนานาประเทศโดยเฉพาะประเทศใน CLMV ผลักดันศักภาพไทยให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคของอินโดจีนและเป็นประตูการค้าที่สำคัญของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือเป็น Gate Way Port และพร้อมต่อการก้าวสู่การเป็นท่าเรือระดับโลก

นอกจากนี้ ความร่วมมือในการพัฒนาครั้งนี้จะก่อให้เกิดบรรยากาศที่จูงใจต่อการลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติในการขยายการลงทุนมาสู่พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อีกทั้งพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทยให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออกและตะวันตกที่เรียกว่า east-west corridor ให้ไปสู่ประเทศจีนทางตะวันตก จีนตอนใต้ และอินเดียซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาตร์ที่สำคัญของภูมิภาคนี้ ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตทางการค้าการลงทุนด้านอุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มมูลค่าในมิติต่างๆ ทั้งขนส่ง ท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และบริการ สามารถสรางรายได้ให้ประเทศ ประชาชน กระจายความเจริญไปยังภูมิภาคต่างๆ ประชาชนเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำของพี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นตั้งใจแท้จริงของรัฐบาลชุดนี้

อย่างไรก็ตามการลงนามในโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเรือ F ครั้งนี้ จะทำให้ โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลักในอีอีซี ทั้ง4 โครงการ ได้เอกชนที่เข้ามาร่วมลงทุนกับรัฐ (PPP) ครบทุกโครงการ ต่อจากโครงการที่ได้เอกชนผู้ร่วมลงทุนและเดินหน้าลงทุนไปแล้ว ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบินโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3   โดยมูลค่าลงทุนรวมในโครงสร้างพื้นฐานหลัก  4 โครงการอยู่ที่ 633,401 ล้านบาท เป็นการลงทุนภาคเอกชน387,018 ล้านบาท (61%) และเป็นการลงทุนของภาครัฐ 196,940 ล้านบาท (39%)

ด้านเรือโทยุทธนา โมกขาว รองผู้อำนวยการ สายบริหารการเงินและกลยุทธ์องค์กร รักษาการแทนผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวว่า โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนของท่าเทียบเรือ F  จะมีระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี มีเงื่อนไขสัญญากลุ่มที่กลุ่ม GPC จะเริ่มจ่ายค่าสัมปทานในปีที่ 3 นับจากออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้างอย่างเป็นทางการ(NTP) ในวงเงินประมาณ 70 ล้านบาท และปรับเพิ่มขึ้นตามการเจรจาข้อตกลงในสัญญา จนถึงปีที่35 คิดเป็นค่าตอบแทนทั้งหมด 87,471 หมื่นล้านบาท โดยเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) จะอยู่ที่ 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานแปรผันที่ 100 บาทต่อทีอียู โดยมีกำหนดเปิดบริการปี 68 

โดยโครงการจะรองรับเรือที่มีขนาดบรรทุกขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้ มีการบริหารจัดการสินค้าด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยด้วยระบบอัตโนมัติ พร้อมทั้งมีโครงข่ายเชื่อมโยงท่าเรือ ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางเรือชายฝั่ง อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพทำให้รองรับตู้สินค้าเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 7 ล้านตู้/ปี หรือเพิ่มจาก 11 ล้านตู้/ปี เป็น 18 ล้านตู้/ปี  และยังรองรับการขยายตัวของปริมาณเรือขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มขึ้น และเชื่อมต่อการพัฒนาสู่ท่าเรือบก(Dry port) กับประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้า และเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าภูมิภาคเอเชียไปสู่ตลาดโลก 

ด้านนายรัฐพล ชื่นสมจิตต์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะตัวแทน กลุ่มร่วมค้า GPC ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับสัมปทาน กล่าวว่า กลุ่ม GPC ถือเป็นจุดแข็งที่แต่ละบริษัทได้มาร่วมงานกันโดยขั้นตอนต่อไปทาง กทท.จะเป็นผู้ถามทะเลในขณะที่ GPC จะก่อออกแบบก่อสร้างท่าเทียบเรือเพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้าด้วยระบบจัดการตู้สินค้าแบอัตโนมัติ ซึ่งมีความสามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าๆด้อย่างน้อย 4ทีอียู/ปี โดย GPCจะไ้รับรายได้จากการประกอบกิจการท่าเรือ เช่น ค่าภาระการใช้ท่าเรือ ค่าภาระยกขนตู้ และรายได้อื่นๆในระยะเวา 35ปี ทั้งนี้คาดว่าท่าเทียบเรือเฟส1จะเริ่มสร้างปี66เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี68 ส่วนท่าเทียบเรือเฟส2 เริ่มก่อสร้างในปี70 เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี 72

ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.)กล่าวว่า  โครงการท่า้เรือแหลมฉบัง ถือเป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานร่วมระหว่าง รัฐ-เอกชน หรือ PPP โดยขณะนี้โครงสร้างพื้นฐานหลักใน อีอีซี ได้ดำเนินการครบ 4โครงการ ทั้งรถไฟความเร็ซสูงเชื่อม3สนามบิน ,โครงการท่าอากาศยานอู่ตะเภา , โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 และโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3  โดยทั้ง4โครงการมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 654,921 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนภาคเอกชน 416,080 ล้านบาท และเป็นการลงทุนของภาครัฐ238,841 ล้านบาท ส่วนผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ภาครัฐจะได้รับจากโครงการเป็นค่าสัมปทานคงที่ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรอีกประมาณ 4,000 ล้านบาท รวมแล้วรัฐจะได้ค่าสัมปทานตลอด 35 ปีที่ 32,000 ล้านบาท