กระชับความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น ในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน

ไทย-ญี่ปุ่น ในโอกาสร่วมคณะนายกรัฐมนตรีได้รับเชิญไปกล่าวปาฐกถาต่อที่ประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ ๒๙ ที่กรุงโตเกียว
ไทย-ญี่ปุ่น ในโอกาสร่วมคณะนายกรัฐมนตรีได้รับเชิญไปกล่าวปาฐกถาต่อที่ประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ ๒๙ ที่กรุงโตเกียว

ไทย และญี่ปุ่น ตกลง กระชับความร่วมมือ ในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership: CSP)

มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พบหารือนางคามิกาวะ โยโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น
มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พบหารือนางคามิกาวะ โยโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้พบหารือนางคามิกาวะ โยโกะ (Ms. Kamikawa Yoko) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ในโอกาสร่วม คณะนายกรัฐมนตรีได้รับเชิญไปกล่าวปาฐกถา ต่อที่ประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ ๒๙ ที่กรุงโตเกียว โดยก่อนหน้านี้ นางคามิกาวะฯ ได้มีหนังสือแสดงความยินดี ที่นายมาริษฯ เข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศด้วย

กระชับความร่วมมือ CSP

ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เกี่ยวกับการกระชับความร่วมมือ ในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership: CSP) โดยเฉพาะความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมการค้าการลงทุน ระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเกิดจากวิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND ที่มุ่งยก ระดับอุตสาหกรรมไทยให้เป็นศูนย์กลาง (hub) ในภูมิภาค ทั้งยานยนต์แห่งอนาคต การแพทย์และสุขภาพ อาหาร การบิน การท่องเที่ยว ขนส่ง เศรษฐกิจดิจิทัล และการเงิน

รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่าง start up และ SMEs ไทยกับญี่ปุ่น ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัด การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย – ญี่ปุ่น (Thailand-Japan High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ ๖ โดยเร็ว โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม เพื่อหารือนโยบายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ส่งเสริมการท่องเที่ยว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ย้ำว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชนทั้งสองประเทศ เป็นหัวใจสำคัญของความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น นักท่องเที่ยวไทย เป็นนักท่องเที่ยวคุณภาพที่สำคัญต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น

รัฐบาลไทย พยายามส่งเสริมการ แลกเปลี่ยนระดับประชาชน โดยจะพิจารณามาตรการ เพื่ออำนวยความสะดวก ในการเดินทางเข้าประเทศ และพำนักในไทยให้แก่กลุ่มบุคคลที่เป็น digital nomad ด้วย

ฝ่ายญี่ปุ่นรับจะพิจารณาต่ออายุมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่คนไทย ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหา overstay ต่อไป

ไทยพร้อมจะร่วมมือสร้างสันติภาพในเมียนมา

ทั้งสองฝ่ายยัง ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ในประเด็นระหว่างประเทศ โดยไทยพร้อม จะร่วมมือกับญี่ปุ่น เพื่อสร้างสันติภาพที่ยังยืนในภูมิภาค ประสงค์ที่จะเห็นเมียนมาที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาค

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่าย ยังย้ำความจำเป็นของการให้ ความช่วยเหลือ ทางมนุษยธรรมแก่ ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ได้แสดงความชื่นชม ข้อริเริ่มของไทย ในการให้ความช่วยเหลือ ทางมนุษยธรรม แก่ชาวเมียนมา ตามแนวชายแดน ซึ่งได้รับการยอมรับ และสนับสนุนจากสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าสอดคล้องตามแนวทางการปฏิบัติตามฉันทามติ ๕ ข้อของอาเซียนด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : “นฤมล” เผย ไทย-ญี่ปุ่น เดินหน้าขยายความร่วมมือ

นิกเคอิ จัดงานนี้ เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่พ.ศ.2538 ได้ชื่อว่าเป็นเวทีประชุมสำคัญ ที่สุดเวทีหนึ่งของเอเชีย ที่ผู้นำภาคการเมือง เศรษฐกิจ และวิชาการแสดงมุมมองต่อปัญหาภูมิภาค และ บทบาทของเอเชียต่อโลก

งานนี้จัดขึ้นทันทีหลังจากผู้นำกลุ่ม Quad เพิ่งพบกันแบบเจอหน้าค่าตา ครั้งที่ 2 ที่กรุงโตเกียว นักวิเคราะห์ เผยกับโกลบอลไทม์ส ว่า การจัดงานไล่หลังกันแบบนี้เป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องของนายกฯ คิชิดะเพื่อดึงดูดประเทศในภูมิภาคมาร่วมกรอบความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF)ที่สหรัฐเป็นผู้นำ ประเทศที่มาร่วมนิกเคอิฟอรัมเข้าร่วม IPEFเพียงน้อยนิด ส่วนใหญ่ไม่ร่วม

IPEF มีสมาชิกเบื้องต้น 13 ประเทศ นอกเหนือจากสมาชิก Quad ได้แก่สหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอินเดีย รวมถึงพันธมิตรสหรัฐในภูมิภาค อาทิ เกาหลีใต้ และสมาชิกอาเซียนจำนวนหนึ่ง เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน