ททท. ลุยขายกรีนทัวร์ 3 จังหวัดแดนใต้ Q1/67 ยอดพักฉลุย 77%

ททท.และกอรมน.ภาค4 ส่วนหน้านำทุกภาคส่วนนำการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ไตรมาส 1 ปี 2567 สัญญาณดีธุรกิจโรงแรมที่พักมียอดพักกว่า77%
ททท.และกอรมน.ภาค4 ส่วนหน้านำทุกภาคส่วนนำการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ไตรมาส 1 ปี 2567 สัญญาณดีธุรกิจโรงแรมที่พักมียอดพักกว่า77%

ททท. ขานรับนโยบายรัฐบาล ต่อยอดท่องเที่ยว 3 จังหวัดชายแดนใต้ ไตรมาส 1 ปี’67 เศรษฐกิจคึกคัก โรงแรมห้องพักฉลุย 77 % กอรมน.ภาค 4 ส่วนหน้านำทุกฝ่ายลุยจัด “สุขทันทีเที่ยวหน้าฝน” หนุนท่องเที่ยว โดยชุมชน เน้นขายทัวร์ป่าธรรมชาติ อาหารพลังศรัทธา

นางสาวนวพร ชัวชมเกตุ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนราธิวาส
นางสาวนวพร ชัวชมเกตุ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนราธิวาส

นางสาวนวพร ชัวชมเกตุ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนราธิวาส เปิดเผยว่า สถานการณ์ท่องเที่ยว 3 เดือนแรก ระหว่างมกราคม -มีนาคม 2567 มีนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติ เดินทางเข้ามายังพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วกว่า 8.5 แสนคน มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย (OR :Occupacy Rate) เปรียบเทียบแล้วดีกว่าปีก่อนมาก คือ “นราธิวาส” 2.6 แสนคน มีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 62 % “ปัตตานี” 1.3 แสนคน มีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 54 % “ยะลา” 4.6 แสนคน มีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 77 % พร้อมจะเดินหน้าขายการท่องเที่ยวสีเขียวเน้นธรรมชาติ หรือ Green Tourism

ช่วง 4 เดือนแรก มกราคม-เมษายน ททท.ทำกิจกรรมท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ต่อเนื่องถึงพฤษภาคม 2567 กว่า 4 งานใหญ่ เช่น งานที่ 1 เที่ยวงานประเพณี “สมโภชเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ สุไหงโกลก”  อำเภอสุไหงโกลก จ.นราธิวาส พร้อมการแสดงเชิดสิงโตนานาชาติ เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิ ภาครัฐ เอกชน เป็นงานใหญ่ประจำปี งานที่ 2 Coffee Run Classic Festival ที่สวนศรีเมือง จ.ยะลา ผู้ประกอบการ้านคาแฟ รถคลาสสิก และการจำหน่ายอาหาร ทำให้เศรษฐกิจคึกคักพอสมควร

งานที่ 3 Amazing Jungle by UTMB ที่สนามกีฬาเทศบาลเมืองเบตง จ.ยะลา ดึงดูดคนนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติลงทะเบียนเข้าร่วมงานคับคั่ง งานที่ 4 มหกรรมอาหารจานเด็ดปัตตานี เมื่อ 13-17 พฤษภาคม 2567 จัดบริเวณลานศิลปวัฒนธรรม จ.ปัตตานี โดยเครือข่ายการท่องเที่ยวปัตตานี โดยมี ททท.เข้าไปสนับสนุนจัดกิจกรรมพิเศษ “Chef Table” เปิดให้ผู้ที่สนใจลิ้มลองรับประทานเมนูประสบการณ์ “ลังกาสุกะ” เป็นวัฒนธรรมอาหารการกินในแดนใต้ของอาณาจักรมลายูโบราณตั้งอยู่ในคาบสมุทรมาลายู มีบรรยากาศ รสชาติ และความสวยงาม

เมนูอาหาร “ลังกาสุกะ” ต้นตำรับมาลายู หนึ่งในซอฟท์ พาวเวอร์ อันทรงพลังของการท่องเที่ยว
เมนูอาหาร “ลังกาสุกะ” ต้นตำรับมาลายู หนึ่งในซอฟท์ พาวเวอร์ อันทรงพลังของการท่องเที่ยว

สำหรับ“ลังกาสุกะ” เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้าน และซอฟท์ พาวเวอร์ ด้านอาหารที่แตกต่างจากอาหารภาคใต้ทั่วไปอย่าง บูดู ข้าวยำ และอื่น ๆ แต่เมนูลังกาสุกะ ในงานมหกรรมอาหารจะเสนอให้ชิมตั้งแต่เมนูเครื่องดื่ม

อาหารจานหลัก นำเครื่องเทศผสมผสานเข้ากับวัตถุดิบผ่านกรรมวิธีการปรุงตามแบบดั้งเดิม คาดหวังจะบอกเล่าเรื่องราวทั้ง 3 จังหวัด ผ่านจานอาหารได้อย่างลึกซึ้ง เช่น เกลือหวานปัตตานี หรือลูกหยีก็รังสรรค์เป็นเครื่องดื่มรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งจะต้องเดินทางมาสัมผัสด้วยตนเอง

ผอ.นวพร กล่าวว่า หลังจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอรม.) ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นผู้นำหารือร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องทั้งหมดในพื้นที่ 3 จังหวัด

ได้แก่ ททท.สำนักงานนราธิวาส การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนราธิวาส ปัตตานี ยะลา พร้อมหน่วยงานเฉพาะกิจในพื้นที่ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) หาแนวทางขับเคลื่อนการท่องเที่ยวทุกด้านลุล่วงไปได้ด้วยดี

ไฮไลต์เน้นแผนงาน “การท่องเที่ยวโดยชุมชน” นักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติสนใจเข้ามาเที่ยว โดยคนในชุมชนร่วมกันนำเสนอ สามารถสร้างความยั่งยืนได้ จึงมีเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยว 3 จังหวัดเข้าร่วมเวทีสรุปการขายท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับตลาดปัจจุบัน และชี้แนวทางให้ภาครัฐยื่นมือเข้าร่วมแก้ไขหรือสนับสนุนส่งเสริมอย่างเป็นระบบต่อไป

ขณะที่เอกชนจากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 3 จังหวัด ขอให้ทาง กอรมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จากหน่วยทหาร เข้ามาเสริมมาตรการความปลอดภัย เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่ชายแดนใต้ซึ่งมีจุดขายการท่องเที่ยวโดดเด่นเรื่องเที่ยวชุมชนซึ่งมีป่าธรรมชาติรองรับ ด้วยไฮไลต์การท่องเที่ยวโดยชุมชนในแต่ละจังหวัดดังนี้

พุทธอุทยานเขากง อ.เมือง จ.นราธิวาส 1 ในเส้นทางยอดนิยมของทัวร์สายศรัทธาทั้งคนไทยและต่างชาติ
พุทธอุทยานเขากง อ.เมือง จ.นราธิวาส 1 ในเส้นทางยอดนิยมของทัวร์สายศรัทธาทั้งคนไทยและต่างชาติ

ท่องเที่ยว 3 จังหวัด

  • “นราธิวาส” มีชุมชนจุฬาภรณ์ 12 คนอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าธรรมชาติ พร้อมจัดกิจกรรมท่องเที่ยวได้ เช่น ดูนก ล่องแก่ง เดินป่า กินอาหารถิ่น มีความโดดเด่น สดใหม่ และเมนูอาหารวิถีคนในท้องถิ่นผสมผสานรวมอยู่ด้วย

แต่ละแห่งยังได้รับรางวัลดีเด่นด้านการท่องเที่ยว Tourism Awards และรางวัลมูลนิธิใบไม้เขียว ทางด้านชุมชนอยู่กับป่าได้อย่างลงตัว ส่วน ชุมชนภูเขาทอง” ก็มีกิจกรรมการร่อนแร่ทอง และชุมชนบ้านบาลาย

  • “ปัตตานี” มีชุมชนรอบอ่าวปัตตานี โดดเด่นเรื่องต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ จัดกิจกรรมล่องเรือลอดอุโมงค์โกงกาง วิถีชีวิตริมน้ำ เรียกว่าเป็นตู้เย็นชุมชน แล้วยังมีสวนผลไม้บริการนั่งรถเข้าไปรับประทานตามฤดูได้ด้วย
  • “ยะลา” มีชุมชนจุฬาภรณ์ 9 และ 10 อยู่ในธรรมชาติป่าฮาลาบารา เปิดรับนักท่องเที่ยวเดินทางสัมผัสโอโซนบริสุทธิ์ของผืนป่า รับประทานอาหารจากพืชสมุนไพร ดีต่อสุขภาพทุกคน โดยเฉพาะ ซูปสมุนไพร ผักน้ำ
การท่องเที่ยวโดยชุมชน เส้นทางท่องเที่ยวธรรมชาติยอดนิยมผาหินโยก อ.ธารโต จ.ยะลา
การท่องเที่ยวโดยชุมชน เส้นทางท่องเที่ยวธรรมชาติยอดนิยมผาหินโยก อ.ธารโต จ.ยะลา

ผอ.นวพร กล่าวว่า การท่องเที่ยวช่วงหน้าฝน จะเน้นป่าธรรมชาติทะเลหมอก ผนวกวิถีพหุวัฒนธรรม ไทยพุทธ-มุสลิม-จีน” ตัวอย่าง เส้นทางที่ 1 “สายศรัทธาใจฟู” นำชมวัดศักดิ์สิทธิ์ ผนวกแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ทุกปีตั้งแต่กุมภาพันธ์จะได้ร่วมสมโภชน์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว สร้างจิตใจให้ผ่องใส เป็นสิริมงคลกับชีวิต เส้นทางที่ 2 วัดช้างไห้ ปัตตานี

เส้นทางที่ 3 สักการะศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ สุไหงโกลก นราธิวาส เส้นทางที่ 4 ไหว้พระพิฆเนศ นราธิวาส ต่อเนื่องไปจนถึงมัสยิดต่าง ๆ ที่มีความงดงาม นักท่องเที่ยวสามารถเลือกแวะตามสถานที่ศรัทธาได้ตามจริตที่ต้องการได้ทุกแห่ง

ปัจจุบัน 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีนักท่องเที่ยวเพื่อนบ้านจากต่างประเทศเข้ามาเที่ยวด้วย ได้แก่ “นราธิวาส” เข้ามาทางด่านสุไหงโกลก ด่านตาบา ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ เป็นช่องทางการท่องเที่ยวและค้าขายมีร้านดิวตี้ฟรี อยู่ตรงด่านศุลากรเพนกาลันกูโบ รัฐกลันตัน และด่านเบตง มาเลเซียนิยมชอบมาเที่ยวทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ใช้จ่ายเงินจำนวนมากรับประทานอาหารช่วยเศรษฐกิจท้องถิ่นคึกคัก

เพราะในเบตงมีวัตถุดิบปรุงเมนูขึ้นชื่อ ไก่เบตง ปลาสายน้ำไหล ปลาพวงชมพู ผักน้ำ หมี่เบตง ผลไม้ในภาคใต้ช่วงกรกฎาคม-กันยายน ของทุกปี มีทุเรียนสะเด็ดน้ำหลายสายพันธุ์ในยะลา กับลองกองของนราธิวาส ซึ่งสามารถใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสร้างรายได้ทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องเพิ่มขึ้นทุกปี

-เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ททท. ภาคกลางผุดแผนทัวร์ 4 บุรี QuickFin ขาย 6 เทศกาล