สุริยะ ดันต่อ รถไฟความเร็วสูงไทย – จีน

รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สุริยะ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ร่วมกับ นายอู่ ฮ่าว เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ร่วม ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ครั้งที่ 31 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

“ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ” ประชุมร่วม คณะกรรมการความร่วมมือ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ณ กรุงปักกิ่ง ดันเดินหน้าเต็มที่ เร่งรัดให้การก่อสร้างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 นาย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ร่วมกับ นายอู่ ฮ่าว เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน

ได้ร่วม ประชุม คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือ ด้าน รถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ครั้งที่ 31 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

สุริยะ ชี้ก้าวสำคัญผลักดันความร่วมมือ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

นายสุริยะ กล่าวว่า การประชุม ครั้งนี้ ถือเป็น อีกก้าวสำคัญ ในการผลักดัน ความร่วมมือ โครงการพัฒนาเส้นทาง รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เชื่อมโยง ระหว่าง สองประเทศ

ทั้งนี้ ฝ่ายไทย-จีน  ได้แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ดังนี้

ด้านงานก่อสร้างโครงการช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา (ระยะที่ 1)

ที่ประชุมร่วม คณะกรรมการ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ได้เห็นชอบ แนวทาง และ มาตรการ ร่วมกัน ในการเร่งรัด ให้การดำเนินงาน ก่อสร้า งเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

ซึ่งฝ่ายไทย แจ้งความคืบหน้า ของโครงการ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา โดยปัจจุบันก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 2 สัญญาจากทั้งหมด 14 สัญญา

อีก 10 สัญญา อยู่ระหว่างดำเนิน การก่อสร้าง และ รอการลงนาม จำนวน 2 สัญญา ทั้งนี้ คาดว่า จะสามารถ ดำเนินการก่อสร้าง ได้ตามแผนงาน คาดว่า จะแล้วเสร็จ และเปิด ให้บริการ ในปี 2571

ความคืบหน้า การดำเนินการ ของ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 (ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย)

ฝ่ายไทย ได้ออกแบบ รายละเอียด งานโยธาแล้วเสร็จ ซึ่งปัจจุบัน รายงานการศึกษา ผลกระทบสิ่งแวดล้อม( EIA ) ผ่านความเห็นชอบ จากคณะกรรมการ ผู้ชำนาญการ แล้ว

และเตรียม เสนอ ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณา ให้ความเห็นชอบ ไปพร้อม กับการ ขออนุมัติโครงการ โดยในการประชุม คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย มีมติ  การประชุม ครั้งที่ 5/2567

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เห็นชอบ อนุมัติ การดำเนิน โครงการ ก่อนเสนอ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา คาดว่า จะเริ่ม ก่อสร้าง ได้ในปี 2568 และจะแล้วเสร็จ เปิดให้บริการ ในปี 2573

การเชื่อมต่อโครงการ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เชื่อมต่อจากหนองคายไปยังเวียงจันทน์

รวมทั้ง ความคืบหน้า การก่อสร้างสะพาน ข้ามแม่น้ำโขง แห่งใหม่ ใกล้กับ สะพานเดิม ที่มีอยู่ โดยระยะห่าง ประมาณ 30 เมตร ประกอบด้วย ทางรถไฟ ขนาดมาตรฐาน และทางขนาด 1 เมตร

ปัจจุบัน กรมทางหลวง (ทล.) ได้ศึกษา ความเหมาะสม แล้วเสร็จ และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขอรับ การจัดสรร งบประมาณ ในปี 2567 สำหรับ การออกแบบ รายละเอียด และ จัดทำรายงาน EIA จำนวน 125 ล้านบาท

ทั้งนี้ อยู่ระหว่าง การจัดทำ ร่างขอบเขต ของงาน และราคากลาง เพื่อจ้างที่ปรึกษา ออกแบบ รายละเอียด และ การพัฒนา พื้นที่นาทา เพื่อเป็นศูนย์ เปลี่ยนถ่ายสินค้า และ ย่านกองเก็บ ตู้สินค้า

สะพาน ข้ามแม่น้ำโขง แห่งใหม่ คาดเปิดใช้ปี 2571

โดย รฟท. ดำเนินการ ศึกษา ในรูปแบบ การให้เอกชน ร่วมลงทุน ในกิจการของรัฐ เพื่อเป็น สถานีขนส่งสินค้า คอนเทนเนอร์  ที่รับรอง การเปลี่ยนถ่ายสินค้า ทางรถไฟ ระหว่างทางรถไฟขนาด 1 เมตร และขนาดทางมาตรฐาน

รวมถึง เป็นพื้นที่ การขนส่ง ต่อเนื่อง หลายรูปแบบ ระหว่างทางถนน และทางราง และ ใช้เป็นพื้นที่ สำหรับรวบรวม และกระจายสินค้า จัดให้มี สิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ อาคาร คลังสินค้า การให้บริการคลังสินค้า

รวมทั้ง การให้บริการ พิธีการทางศุลกากร เพื่อตรวจปล่อย สินค้า X–ray ตู้สินค้า การตรวจรังสี โดยกำหนดให้ นาทา เป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า ระหว่างประเทศ

เพื่อสนับสนุน การขนส่งสินค้า ข้ามพรมแดนระหว่าง 3 ประเทศ คือ ไทย ลาว และจีน โดยในการประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย มีมติการประชุม ครั้งที่ 5/2567

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 เห็นชอบ ให้เสนอ กระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณา เสนอต่อ สำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจต่อไป คาดว่า จะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการ ในปี 2571

ไทย-จีน เห็นชอบ จัดประชุมคณะกรรมการร่วม รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ครั้งต่อไปในไทย

ซึ่งทั้งสองฝ่าย เห็นชอบ ในการปรับปรุง และดำเนินความร่วมมือ ให้ลึกซึ้ง และประสานงาน อย่างใกล้ชิด ในการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน

เพื่อผลักดันให้โครงการ รถไฟคามเร็วสูงไทย-จีน เชื่อมต่อเส้นทางรถไฟดังกล่าวก้าวหน้าต่อไป

ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทย ได้แจ้งให้จีน ทราบถึง การจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (สทร.) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน ภายใต้ กระทรวงคมนาคม

โดย สทร. จะทำหน้าที่ เป็นหน่วยงาน ประสานงานหลัก ในการอำนวยความสะดวก และถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านระบบราง จากต่างประเทศ

และที่ประชุมฯ ได้ให้การรับรอง และ เห็นชอบ ในหลักการ ให้จัดการประชุมคณะกรรมการร่วม เพื่อความร่วมมือด้าน รถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ครั้งที่ 32 ขึ้นใน ประเทศไทย

และร่วมกัน ขับเคลื่อน โครงการต่างๆ ให้คืบหน้า ตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยความร่วมมือ และสัมพันธไมตรี ที่ดีต่อกันเพื่อให้บรรลุประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนา ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการขนส่งรถไฟ ของทั้งสองประเทศ อย่างยั่งยืน

กระทรวงคมนาคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงคมนาคม เตรียม ผลักดัน รถไฟ ความเร็วสูง ไทย – จีน