“Green Finance” ยกระดับ ภาคเกษตร และ อาหาร

“Green Finance” ยกระดับ ภาคเกษตร และ อาหาร
“Green Finance” ยกระดับ ภาคเกษตร และ อาหาร

Green Finance” ยกระดับ ภาคเกษตร และ อาหาร Krungthai Compass แนะ ภาครัฐฯ สนับสนุนให้ภาคเกษตร และ อาหาร ของไทย เข้าถึง Green Finance เพื่อยกระดับ ผลผลิต และ สร้างรายได้ ที่เป็นมิตร กับ สิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ระบุ ตลาดโลก มีอัตราการเติบของ Green Finance สูงถึง 7-44 เท่าตัว 

Green Finance ยกระดับ ภาคเกษตร และ อาหาร Krungthai Compass แนะนำ รัฐบาล และ หน่วยงาน กำกับดูแล ให้มีส่วน ในการผลักดัน Green Finance หรือ การจัดสรรเงินทุน เพื่อ วัตถุประสงค์ ด้าน สิ่งแวดล้อม และ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในภาคเกษตร และ อาหาร เพื่อที่จะเป็น ส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน ให้ ภาคเกษตร และ อาหาร มีอัตราการเติบโต อย่างยั่งยืน

 โดย แนะให้ มีการสนับสนุนทางการเงิน จัดหาเงินทุน ให้ภาคเกษตร และ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ให้สามารถเข้าถึง แหล่งทุน ในการพัฒนา แนวทางในการทำการเกษตร และ อาหาร ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ลดผลกระทบ ในการ ปล่อย ก๊าซเรือนกระจก 

Green Finance เป็น การจัดหาเงินทุน ที่เป็น มิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ให้แก่ ภาคส่วนต่างๆ การสนับสนุน การลงทุน ในเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และ เทคโนโลยีสีเขียว รวมทั้ง การจัดหาเงินทุน สำหรับ เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อส่งเสริม การใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ อย่างยั่งยืน

“Green Finance” ยกระดับ ภาคเกษตร คาด จะมีมูลค่าแตะ 45.61 ล้านล้านบาท ปี 2573

จาก ผลการศึกษา Green Finance ทั่วโลก พบว่า Green Finance ในภาคเกษตร ยังอยู่ใน ระดับต่ำ เมื่อเทียบ กับ ภาคธุรกิจ อื่น โดยพิจารณา เทียบเคียง กับ มูลค่า Climate Finance ซึ่งจัดเป็น ส่วนหนึ่ง ของ Green Finance ในปี 2562/2563 ของธุรกิจเกษตร และ อาหารทั่วโลก พบว่า

อยู่ที่ 28.5 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1.02 แสนล้านบาท) หรือ คิดเป็น สัดส่วน เพียง 4.3% ของ มูลค่า Climate Finance ทั้งหมดที่ มีอยู่ที่ 660.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ( ประมาณ 23.76 ล้านล้านบาท) 

 ยิ่งไปกว่านั้น มูลค่า Climate Finance ของ ผู้ประกอบการ ธุรกิจเกษตร และ อาหารรายย่อย มีอยู่เพียง 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 198,000 ล้านบาท) หรือคิดเป็น 0.8% ของมูลค่า Climate Finance ทั้งหมด 

เช่นเดียวกับ อัตราส่วนเม็ดเงิน เพื่อการลงทุน Climate Finance ของ ภาคเกษตร และอาหาร ต่อปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ ภาคเกษตรและอาหาร ในปี 2562 พบว่า 

ยังอยู่ในระดับต่ำ เพียง 3.5 เหรียญสหรัฐฯ  (ประมาณ 126 บาท) ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า(ปริมาณ การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ของ ภาคเกษตร และ อาหาร อยู่ที่ 8,148  ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า) 

ซึ่งยังต่ำกว่า สัดส่วนมูลค่า Climate Finance ทั้งหมดทั่วโลก ต่อ ปริมาณ การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ของโลก ซึ่งอยู่ที่ 17.8 เหรียญสหรัฐฯ ( ประมาณ 640.8 บาท)  ต่อ ตัน คาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า (ปริมาณ การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ทั่วโลก อยู่ที่ 37,040 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า)

ขณะที่งานวิจัย ต่างประเทศ ชี้ว่า ความต้องการ ของ Climate Finance ใน ธุรกิจเกษตร และ อาหาร อยู่ที่ราว 212-1,267 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ปี (ประมาณ 7.63-45.61 ล้านล้านบาท) ตั้งแต่ ปี 2562-2573

หรือ สูงถึง 7-44 เท่า เมื่อเทียบกับมูลค่า เงินลงทุน ใน Climate Finance ของ ธุรกิจเกษตร และ อาหาร ในปี 2562/63

ซึ่งเป็นช่วง ก่อนเกิด COVID-19ที่มีมูลค่า อยู่ที่ 28.5 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1.02 ล้านล้านบาท)

อย่างไรก็ดี ในปี 2564 ความต้องการ ของ Climate Finance ใน ภาคเกษตร และ อาหาร ลดลง ราว 12% YoY ซึ่งเป็นการลดลง ครั้งแรก

นับตั้งแต่ มีการลงนาม ความตกลง ปารีส ในปี 2559

สาเหตุหลัก มาจาก ผลกระทบของ COVID-19 ที่ส่งผลให้ หลายประเทศ หันไปให้ ความสำคัญ กับ ด้านสาธารณสุข

และมาตรการ กระตุ้น เศรษฐกิจ ซึ่ง การเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวนี้ อาจ ลดส่วนแบ่ง การจัดสรรเงินทุน ให้กับ Climate Finance ในระดับโลก เป็นการชั่วคราว

Green Finance ยกระดับ ภาคเกษตร และ อาหาร ในไทย

สำหรับ ประเทศไทย ปัจจุบันมี กลุ่มธุรกิจเกษตร บางกลุ่ม ได้ เริ่มนำ Green Finance มาใช้ในการ ระดมทุน พัฒนาผลิตภัณฑ์ อาทิ

บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิต ถุงมือยางที่ ใช้ในทางการแพทย์ จากยางพารา ได้ออก หุ้นกู้เพื่อ อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม

โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อลงทุน ในโครงการ เพื่อ อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ ด้านพลังงาน หมุนเวียน โครงการ ด้านการป้องกัน และ จัดการ มลพิษ

โครงการ ด้านการเพิ่ม ประสิทธิภาพ การใช้ พลังงาน โครงการ ด้านการ บริหารจัดการน้ำ และ น้ำเสีย อย่างยั่งยืน และ โครงการ ด้านการขนส่ง ที่สะอาด เป็นต้น

นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ ของไทย ก็มี การออกผลิตภัณฑ์ สินเชื่อ ด้านเกษตร ที่ให้ความสำคัญ กับ สิ่งแวดล้อมแล้ว เช่น ธนาคารกรุงไทย ที่เปิดตัว โครงการ สินเชื่อ เพื่อช่วยลด PM 2.5 ใน อุตสาหกรรม อ้อย และ น้ำตาลทราย

โดยมี วงเงินสินเชื่อรวม 4,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้ มีเป้าหมาย เพื่อสนับสนุน การตัดอ้อยสด แทนการ เผาอ้อย ซึ่งจะช่วยลด ปัญหาฝุ่น PM 2.5

และ ส่งเสริมให้ อุตสาหกรรมอ้อย และ น้ำตาลทราย เป็นมิตร กับ สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

จากแนวโน้มทั่วโลก และ ในประเทศไทย  Krungthai Compass เชื่อว่า การนำ Green Finance มาใช้ ในภาคเกษตร และ อาหาร เหมาะที่ จะนำมาใช้ ในประเทศไทย เนื่องจาก 

ภาคเกษตร ของไทย มีความเปราะบาง จากปัญหา ภาวะโลกร้อน เพราะ เกษตรกร ของไทยพึงพา ธรรมชาติ โดยเฉพาะ น้ำ ที่เกษตรกร ไทย ใช้น้ำ ประมาณ 77% ของ การใช้น้ำใน แต่ละปี ของไทย

และ มักจะเผชิญ กับ ภาวะภัยแล้ง ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการ ผลิต การนำ Green Finance มาใช้ เพื่อการ บริหารจัดการน้ำ จึงเป็นโอกาสที่ดี และ ปลดล็อค ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

“Green Finance” ต้องขับเคลื่อน และ ผลักดันโดย ภาครัฐฯ

โดยการพัฒนา Green Finance ในประเทศไทย จำเป็น ที่ภาครัฐ ต้อง เข้ามาสนับสนุน เหมือน ที่รัฐบาล ของหลายประเทศ ริเริ่ม และ ให้การสนับสนุน เช่น

สิงคโปร์ ได้มีการ จัดตั้ง องค์การ เงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ ( Monetary Authority of Singapore : MAS) และ หน่วยงาน กำกับดูแล ทางการเงิน

ทำหน้าที่เป็น ธนาคารกลาง ของ สิงคโปร์ มีบทบาท สำคัญ ในการ ส่งเสริม สถาบันการเงิน และ ภาคเอกชน ในการระดมทุน เพื่อสนับสนุน กิจกรรม การเงินสีเขียว ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

ธนาคารกลาง ของเยอรมัน (Deutsche Bundesbank) ได้จัดทำ Data Hub จัดตั้งขึ้นใ นปี 2563 ซึ่งเป็น ศูนย์กลาง ในการรวบรวม ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับ สภาพภูมิอากาศ อย่างโปร่งใส และเ ข้าถึงง่าย

 เพื่อรวบรวม เป็นฐาน ข้อมูลกลาง ด้านสิ่งแวดล้อม ของประเทศเ ป็นสิ่งสำคัญ รวมถึง ข้อมูล ทางการเงิน ที่ยั่งยืน เพื่อตอบสนอง ต่อ การนำ ไปใช้ ออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บริการทางการเงิน ได้หลากหลาย

รัฐบาล บราซิลไ ด้จัดตั้ง โครงการ Plano Safra ในปี 2566 เพื่อมุ่ง ลดการ ปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ในภาคเกษตร และ อาหาร โดย สนับสนุนวงเงินสินเชื่อ (Renovagro) ดอกเบี้ยต่ำ ที่ได้รับ เงินอุดหนุน จาก รัฐบาล สำหรับ การจัดหา เงินทุน Green Finance

มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม การปรับตัว ต่อ การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และ ลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกใน ภาคเกษตรและปศุสัตว์

เช่นเดียวกับ ภาครัฐ ของ อินโดนีเซีย จัดตั้ง โครงการ อุดหนุน Green Finance เพื่อ ลดต้นทุน และ ผลักดัน การเติบโต ของ Green Finance

โดยภาครัฐ สนับสนุน ค่าใช้จ่าย ในการจ้าง หน่วยงาน ภายนอก มาประเมิน ว่า หุ้นกู้ นี้เข้าเกณฑ์ Green Finance หรือไม่ เป็นต้น

“การเข้าถึง Green Finance เพื่อนำ เงินทุน ต้นทุนต่ำ มาใช้พัฒนา กระบวนการ ด้าน การเกษตร และ อาหาร ของไทย ภายใต้แนวคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน

จะเป็น โอกาส ในการขับเคลื่อน ภาคเกษตร และ อาหารของไทย ให้สามารถเติบโต ได้ โดยที่ สามารถรักษา สมดุล ด้าน ระบบนิเวศน์ และ สิ่งแวดล้อมไว้ได้ “

ที่มาของข้อมูล : https://krungthai.com/th/content/calender2022/june/world-environment-day

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :https://thejournalistclub.com/gdp-thailand-economics-growth/260909/