“ณ หทัย”-ชนินทร์” ชู “ผ้าทอนางิ้ว”จังหวัดหนองคายส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์

“ณ หทัย”-ชนินทร์” ชู “ผ้าทอนางิ้ว” จังหวัดหนองคาย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ ลุยพื้นที่ตรวจราชการ แก้ปัญหาน้ำกัดเซาะตลิ่ง

  • พัฒนาภูมิปัญญาการย้อมสีผ้าทอจากสีสกัดธรรมชาติ
  • จากดอกไม้ ใบไม้ และดินในพื้นที่ที่มีแร่ธาตุพิเศษเฉพาะตัว 

วันที่ 3 ธันวาคม 2566 ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี และนายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่แทนนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยคณะทำงาน ลงพื้นที่ตรวจราชการฝนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ( บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี) เพื่อรับฟังปัญหา และเร่งแก้ไขความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นทึ่

ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี และนายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ลงพื้นที่ตรวจราชการฝนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ( บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี)

โดยได้ลงพื้นที่สำรวจปัญหาผลกระทบจากอุทกภัยที่ผ่านมา บริเวณตลิ่งริมฝั่งลำน้ำพร้าว บ้านนางิ้ว หมู่ที่ 1 ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ที่ถูกกัดเชาะเข้าใปในพื้นที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชน ได้รับควมเสียงหายต่อเนื่องมาทุกปีในฤดูน้ำหลาก พร้อมรับฟังข้อเสนอโครงการเรียงหินกล่องเกเบี้ยน ลำน้ำพร้าว บ้านนางิ้ว ที่เป็นการสร้างแนวป้องกันตลิ่งพังเฟสแรก ความกว้าง 3 เมตร ความยาว 300 เมตร จากความยาวรวม 3 กิโลเมตร และเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สามารถใช้ประโยชน์ในการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ให้เกิดซ้ำอีก

นายชนินทร์ กล่าวว่า ขอรับข้อเสนอโครงการเพื่อไปพิจารณาจัดหางบประมาณมาดำเนินการแก้ปัญหาให้ในระยะเร่งด่วนในพื้นที่ที่เสียหายหนักก่อน แต่เห็นว่า กรมชลประทานควรเร่งรัดการศึกษาแผนการจัดการน้ำทั้งลุ่มน้ำ เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่ามีแนวทางในการเบี่ยงน้ำ หรือลดการกัดเซาะ จากน้ำที่หลากมากหรือไม่ โดยบูรณาการการจัดการทั้งลุ่มน้ำไปพร้อมกัน มิใช่เพียงพิจารณาการจัดการเป็นช่วงๆแยกจากกัน

นอกจากนี้ ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม ยังได้พบปะพูดคุยกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ้าทอนางิ้ว ที่พัฒนาภูมิปัญญาการย้อมสีผ้าทอจากสีสกัดธรรมชาติ จากดอกไม้ ใบไม้ และดินในพื้นที่ที่มีแร่ธาตุพิเศษเฉพาะตัว  ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรได้รับการสนับสนุนให้เป็นสินค้าที่สร้างเศรษฐกิจให้คนในพื้นที่ แต่ยังขาดแหล่งทุน และขาดช่องทางในการทำการตลาด

นอกจากนี้ดินของตำบลที่สังกัดอำเภอสังคมก็ยังสามารถปลูกผลไม้ได้หลากหลายชนิด ชาวชุมชนต่อยอดผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งและปรุงแต่งให้น่ารับประทาน ถือเป็นการส่งเสริม Soft power ในระดับชุมชน และสามารถสนับสนุนให้ อำเภอสังคม เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวหลักของจังหวัดหนองคายได้