“ส่งออก” เดือน เมษายน 2567 ขยายตัว 6.8%

“ส่งออก” เดือน เมษายน 2567 ขยายตัว 6.8 % ทำให้ 4 เดือน แรก ของปี 2567 พลิกกลับ มาเป็น บวก 1.4 %
“ส่งออก” เดือน เมษายน 2567 ขยายตัว 6.8 % ทำให้ 4 เดือน แรก ของปี 2567 พลิกกลับ มาเป็น บวก 1.4 %

“ส่งออก” เดือน เมษายน 2567 ขยายตัว 6.8 % ทำให้ 4 เดือน แรก ของปี 2567 พลิกกลับ มาเป็น บวก 1.4 %

“ส่งออก” เดือน เมษายน 2567 นาย พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงาน นโยบาย และ ยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวง พาณิชย์ แถลง ภาวะการค้า ระหว่างประเทศ ของไทย เดือนเมษายน 2567 มี มูลค่า 23,278.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (834,018 ล้านบาท)
ขยายตัว 6.8 % หากหัก สินค้า เกี่ยวเนื่อง กับ น้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย จะทำให้ ภาคการส่งออก ของไทย เดือน เมษายน 2567 ขยายตัว 11.4 %

การส่งออก ที่เพิ่มขึ้น ในเดือน เมษายน ทำให้ การส่งออก ของ ไทย พลิกกลับมา ขยายตัวเป็นบวก อีกครั้ง โดย 4 เดือนแรก (มกราคม – เมษายน 2567 ) มูลค่า การส่งออก ของไทย ขยายตัว 1.4 % และ เมื่อหัก สินค้า เกี่ยวเนื่อง กับ น้ำมัน ทองคำ และ ยุทธปัจจัยแล้ว การส่งออก 4เดือนแรก 2567 ของ ไทย ขยายตัวที่ 3.7 %  

สอดคล้อง กับ การคาดการณ์ ของ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ระบุว่า เศรษฐกิจโลก มีการฟื้นตัวที่ดี จาก อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ของโลก ที่ชะลอตัวลง ทำให้ ความเชื่อมั่น ของผู้บริโภค ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งส่งผลดี ต่อ ภาคการผลิตทั่วโลก 

โดยการส่งออก สินค้า อุตสาหกรรม ปรับตัวดีขึ้น หลายรายการ ขณะที่ ผลกระทบ จาก ปัญหาภัยแล้ง ทำให้ ผลผลิตทางการเกษตร ลดลง แต่ อานิสงส์ ด้านราคา ตามความต้องการ ของตลาดโลก ส่งผลให้ การส่งออก สินค้าเกษตร บางรายการ ยังขยายตัว ได้อย่าง ต่อเนื่อง

ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้า ในเดือน เมษายน 2567 มีมูลค่า 24,920.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว  8.3 % ทำให้ ดุลการค้า ขาดดุล 1,641.7 ล้านเหรียญสหรัฐ 

ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 94,273.9 ล้าน เหรียญสหรัฐ ขยายตัว 1.4 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 100,390.7 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัว 4.9 %  ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 6,116.9 ล้านเหรียญสหรัฐ

“ส่งออก” เดือน เมษายน 2567 ตลาดสหรัฐ ขยายตัว 26.1% จีน ยัง หดตัว

นาย พูนพงษ์ กล่าว เพิ่มเติมว่าตลาดส่งออก สำคัญส่วนใหญ่ กลับมา ขยายตัว หลังจาก หดตัว ในเดือนมีนาคม สอดคล้อง กับ สัญญาณ การขยายตัว ของ ภาคการผลิต โลก

โดยตลาดหลัก อย่าง สหรัฐฯ ขยายตัว 26.1 % สหภาพยุโรป ขยายตัว 20.2 % CLMV ขยายตัว 5.1 % อาเซียน ขยายตัว 3.7 %

อย่างไรก็ตาม การส่งออกไป ตลาดจีน หดตัว 7.8 % และ ญี่ปุ่น หดตัว 4.1%

ขณะที่ ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 14.4 โดยตลาด ทวีป ออสเตรเลีย ขยายตัวต่อเนื่อง 18.6 % และ กลับมา ขยายตัวใน ตลาดเอเชียใต้ 13.0 %  ตะวันออกกลาง  17.8 % แอฟริกา  32.1 % ลาตินอเมริกา  41.9 % รัสเซียและกลุ่ม CIS  8.6 %

ขณะที่สหราชอาณาจักร หดตัว  33.7 %  และ  สวิตเซอร์แลนด์ หดตัว 79.3 %

คาดตลาดส่งออก จะเติบโตได้ดี ในช่วงที่เหลือของปี 

ในขณะที่ แนวโน้ม การส่งออก ในช่วงที่เหลือ ของปี นั้น นาย พูนพงษ์​ กล่าวว่า ทาง กระทรวงพาณิชย์คาดว่า

การส่งออก ของไทยใน ช่วงที่เหลือ ของปี 2567 จะยัง สามารถเติบโต ได้ดี จาก ความต้องการ สินค้าอุตสาหกรรม ที่เติบโต ตาม ภาวะ เศรษฐกิจโลก ที่ฟื้นตัว

และ ปัญหา เงินเฟ้อ ที่เริ่ม บรรเทาลง ส่งผลดี ต่อ กำลังซื้อ ใน หลายประเทศ

ขณะที่ สภาพอากาศ แปรปรวน สร้างแรงผลักดัน ต่อ ราคาสินค้าเกษตร และ ความต้องการนำเข้า เพื่อ ความมั่นคง ทางอาหาร แต่ กดดัน ปริมาณ ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดโลก

นอกจากนี้ ยังมี ความไม่แน่นอน จากปัญหาด้าน ภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะ ความขัดแย้ง ใน ภูมิภาค ตะวันออกกลาง ที่มี แนวโน้มขยาย วงกว้าง

ซึ่ง กระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตาม ประเมิน สถานการณ์ เป็นระยะ และ จะทำงาน ร่วมกับ ทูตพาณิชย์ ในแต่ละประเทศ เพื่อแสวงหา แนวทาง สร้างโอกาส และ ลดอุปสรรค ในการส่งออกต่อไป นาย พูนพงษ์ กล่าว

ที่มาของข้อมูล : https://tpso.go.th/home

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : https://thejournalistclub.com/gdp-thailand-economics-growth/260909/