EXIM BANK ประกาศความสำเร็จในการออกพันธบัตรสกุลเงิน ดอลลาร์สหรัฐ

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ประกาศความสำเร็จในการออกพันธบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ประกาศความสำเร็จในการออกพันธบัตรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

EXIM BANK ประสบความสำเร็จในการเสนอขาย พันธบัตร สกุลดอลลาร์สหรัฐ มูลค่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.354% ต่อปี ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนชั้นนำทั่วโลก ด้วยยอดจองซื้อสูงกว่า 3,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การเสนอขาย พันธบัตร สกุลดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อสถานะทางการเงินและการดำเนินภารกิจของ EXIM BANK ในการสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนทั้งในและต่างประเทศของผู้ประกอบการไทย ขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIMBANK) เปิดเผยว่าEXIMBANK ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการเสนอขายพันธบัตรสกุลดอลลาร์สหรัฐ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.354% ต่อปี มูลค่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ยอดจองซื้อสูงกว่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ทั้งนี้การเสนอขายได้รับความสนใจจากนักลงทุนชั้นนำทั่วโลกทั้งจากภูมิภาคยุโรปและเอเชียอย่างท่วมท้น ด้วยยอดจองซื้อสูงกว่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อEXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ซึ่งเดินหน้าสู่บทบาท Green Development Bank ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและโลกโดยรวม

การระดมทุนด้วยการออกพันธบัตรสกุลดอลลาร์สหรัฐของEXIM BANK ในครั้งนี้นับเป็นการออกและเสนอขายพันธบัตรสกุลดอลลาร์สหรัฐครั้งแรกในปีนี้ของผู้ออกตราสารหนี้จากประเทศไทย และ มียอดจองซื้อสูงสุดสำหรับการออกพันธบัตรสกุลดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 ของสถาบันการเงินจากภูมิภาคเอเชียใต้และอาเซียนจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันคุณภาพชั้นนำจากทั่วโลกกว่า 130 ราย ได้แก่ ธนาคารกลาง กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) บริษัทบริหารเงินลงทุน ธนาคาร และบริษัทประกัน พันธบัตรดังกล่าวจดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจาก Moody’s และ Fitch ที่ระดับ Baa1 และ BBB+ ตามลำดับ

ผู้จัดการการจัดจำหน่ายพันธบัตร ได้แก่ BNP Paribas, Mizuho Securities Asia Limited, Standard Chartered Bank (Singapore) Limited และ The Hongkong and Shanghai Banking Corporation Limited, Singapore Branch

การออกพันธบัตรจะใช้รองรับการขยายตัวของสินเชื่อ

“เงินที่ได้จากการออกพันธบัตรในครั้งนี้EXIM BANK จะนำไปใช้รองรับการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกและการลงทุนทั้งในและต่างประเทศของผู้ประกอบการไทยทุกขนาดธุรกิจและทุกอุตสาหกรรม เติมเต็ม Supply Chain การส่งออกไทย รวมถึงการสนับสนุนการปรับตัวทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและรับมือความท้าทายของตลาดโลกได้ โดยเชื่อมโยงการพัฒนาธุรกิจกับการพัฒนาในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน และแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในตลาดการค้าโลก” ดร.รักษ์ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :EXIMBANK ส่งเสริมผู้ส่งออกขายผ่านแพลตฟอร์มระดับโลก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) (Export-Import Bank of Thailand หรือEXIMBank) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2536[1] เพื่อประกอบธุรกิจอันเป็นการส่งเสริม และ สนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

กล่าวโดยสรุป ธสน. สามารถทำธุรกิจทุกประเภทที่ธนาคารพาณิชย์ทำได้ยกเว้นเพียงการรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปเท่านั้น สำหรับนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ สนับสนุนการลงทุนในรูปของการให้บริการทางการเงินทั้งสินเชื่อระยะสั้นและระยะยาว และ เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้แก่นักลงทุน ยังพร้อมที่จะร่วมลงทุนถือหุ้นในกิจการอีกด้วย การรับประกันความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจากการส่งออก

ธสน. มีขอบเขตอำนาจในการทำธุรกิจ ไว้อย่างกว้างขวาง ธสน. จึงสามารถ ให้สินเชื่อได้ทุกรูปแบบ เช่น สินเชื่อระยะสั้น และ สินเชื่อระยะยาว สินเชื่อในประเทศ และ สินเชื่อต่างประเทศ โดยสามารถทำธุรกิจ ได้ทั้งที่เป็นสกุลเงินบาท และ สกุลเงินตราต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังสามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินทุกประเภท ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ และ ออกตราสารการเงินระยะสั้น และ ระยะยาวขายแก่สถาบันการเงิน และ ประชาชนทั่วไปทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ

โดย ธสน. เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับหมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลาง และ ขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้ เป็นหลัก รวมไปถึงหมุดหมายที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุน และ ยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ ที่สำคัญของภูมิภาค และ หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ