การจ้างงาน ลดลง 0.1% ใน Q1

สภาพัฒน์ เผย สถานการณ์แรงงาน การจ้างงาน ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567
สภาพัฒน์ เผย สถานการณ์แรงงาน การจ้างงาน ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567

สถานการณ์แรงงาน การจ้างงาน ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 การจ้างงาน ลดลง 0.1% จากการลดลงของการจ้างงาน ภาคเกษตรกรรม ขณะที่สาขานอกภาคเกษตรกรรมยังขยายตัวได้

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒน์
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒน์

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถานการณ์แรงงานไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 การจ้างงานลดลงร้อยละ 0.1% จากการลดลงของการจ้างงาน ภาคเกษตรกรรม ขณะที่ สาขานอกภาคเกษตรกรรม ยังขยายตัวได้ นอกจากนี้ ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยลดลง และอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.01

สภาพัฒน์ เผย ผลการจ้างงาน ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 การจ้างงานลดลง 0.1% จากการลดลงของการจ้างงาน ภาคเกษตรกรรม ขณะที่สาขานอกภาคเกษตรกรรมยังขยายตัวได้
สภาพัฒน์ เผย ผลการจ้างงาน ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 การจ้างงานลดลง 0.1% จากการลดลงของการจ้างงาน ภาคเกษตรกรรม ขณะที่สาขานอกภาคเกษตรกรรมยังขยายตัวได้

ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 ผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน ลดลงเล็กน้อย จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ที่ร้อยละ 0.1 ซึ่ง เป็นผลจากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ลดลงกว่าร้อยละ 5.7 ในช่วงนอกฤดูการทางเกษตรกรรม ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรมยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.2

สาขาโรงแรมยังขยายตัวต่อเนื่อง

สาขาโรงแรม และภัตตาคาร ขยายตัวต่อเนื่อง ที่ร้อยละ 10.6 จากการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 9.3 ล้านคน เช่นเดียวกับสาขาการก่อสร้าง ที่ขยายตัว กว่าร้อยละ 5.0 ทั้งนี้ การจ้างงานสาขาการผลิต เริ่มปรับตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 0.7 ชั่วโมง การทำงานลดลงตามการลด การทำงานล่วงเวลา โดยภาพรวม และเอกชนอยู่ที่ 41.0 และ 44.0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งผู้ทำงานล่วงเวลาลดลงกว่า ร้อยละ 3.6 และผู้เสมือนว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6การว่างงานทรงตัว อยู่ที่ร้อยละ 1.01 หรือมีผู้ว่างงานจำนวน 4.1 แสนคน

ประเด็นที่ต้องติดตาม

  • 1) การขาดทักษะของแรงงานไทย ที่อาจกระทบต่อ เศรษฐกิจในระยะยาว โดยผลการสำรวจทักษะ และความพร้อมเยาวชน และประชากรวัยแรงงาน (ASAT) ในประเทศไทย พบว่า เยาวชน และกลุ่มวัยแรงงานของไทยจำนวนมาก มีทักษะต่ำกว่าเกณฑ์
  • 2) ความยั่งยืนของ กองทุนประกันสังคม ซึ่งกองทุนฯ มีแนวโน้มจะต้องจ่ายเงินบำเหน็จ บำนาญให้แก่ผู้ประกันตน ที่เกษียณอายุมากขึ้น อย่างรวดเร็วในอนาคตตาม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยในปี 2575 อาจมีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพมากถึง 2.3 ล้านคน และ
  • 3) การพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อให้ได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น โดยช่องว่างระหว่าง ค่าจ้างแรงงาน และ GDP มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจาก แรงงานส่วนใหญ่ยังมีทักษะไม่สูง และทำงานในสาขาที่มีผลิตภาพ แรงงานไม่มากนัก จึงได้รับค่าจ้างน้อย ทั้งนี้ ผลิตภาพแรงงานไทยในปัจจุบัน ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 ค่าจ้างจึงยังปรับตัวได้ไม่มาก โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงาน ทักษะปานกลางที่ส่วนใหญ่ทำงานลักษณะงานประจำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สภาพัฒน์ แถลง จีดีพีไทย ไตรมาสแรก ปี2567 ขยายตัว 1.5%

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบด้วยประธานสภา 1 คน และกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 15 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากบุคคล ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ ในทางเศรษฐกิจ และสังคมตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ จำนวน 7 คน และกรรมการสภาโดยตำแหน่ง 7 คน

ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการสภาและเลขานุการ และ ให้เลขาธิการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ ประธานสภา หรือกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี ซึ่งหลังจากพ้นตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระ ไม่ได้