GPSC – CIP โชว์ผลสำเร็จ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลม 600 MW ในไต้หวัน

GPSC และ CIP ได้โชว์ผลสำเร็จ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลม 600 MW ในไต้หวัน
GPSC และ CIP ได้โชว์ผลสำเร็จ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลม 600 MW ในไต้หวัน

GPSC ฉลองความสำเร็จการก่อสร้างโครงการพลังงานลมแห่งแรกในพอร์ต ร่วมกับ CIP โชว์ศักยภาพการพัฒนาโครงการร่วมทุนพลังงานลมนอกชายฝั่ง (CFXD) ขนาด 600 MW ในไต้หวันได้ตามแผน ก้าวข้ามข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ ภัยธรรมชาติ

รวมถึงความท้าทาย ในการใช้ซัพพลายเชน ในท้องถิ่น เพื่อ สนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานลมในไต้หวัน เพิ่มความเชี่ยวชาญ และ ส่งต่อองค์ความรู้ในการพัฒนาโครงการร่วมกัน พร้อมขยายโอกาสพัฒนาโครงการต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชีย

วรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท GPSC
วรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทGPSC

นาย วรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือGPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2567GPSC ได้ร่วมกับ บริษัท โคเปนเฮเกน อินฟราสตัคเจอร์ พาร์ทเนอร์ส หรือ CIP ฉลองความสำเร็จในการพัฒนาโครงการ ร่วมทุนในพลังงานลมนอกชายฝั่ง (Changfang and Xidao Offshore Windfarm, CFXD) ขนาดกำลังการผลิต 600 MW (เมกะวัตต์) ที่ปัจจุบันได้ติดตั้งกังหันลมแล้วเสร็จครบทั้ง 62 ต้น

การติดตั้งไดเตามแผนงาน สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ด้านการบริหารจัดการโครงการ ภายใต้เงื่อนไข และข้อจำกัด ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ สภาพอากาศ รวมถึง การบริหารจัดการด้านอุปกรณ์ เพื่อการผลิต และติดตั้ง โดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Supply Chain)

เดินหน้าโครงการในอนาคตของ ในภูมิภาคเอเชีย

นับเป็นการพัฒนาโครงการที่สามารถสร้างระบบซัพพลายเชนด้านนวัตกรรมพลังงานที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และความเชี่ยวชาญระหว่างพันธมิตรของทั้งสองฝ่ายร่วมกัน ที่จะนำไปสู่การพัฒนาโครงการในอนาคตของGPSC และ CIP ในภูมิภาคเอเชีย

โครงการพัฒนากังหันลมนอกชายฝั่ง ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง GPSC และ CIP
โครงการพัฒนากังหันลมนอกชายฝั่ง ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง GPSC และ CIP

การดำเนินงานโครงการ CFXD เป็นการพัฒนากังหันลมนอกชายฝั่ง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างGPSC และ CIP เป็นโครงการแรกในไต้หวัน ที่สามารถก่อสร้างได้แล้วเสร็จ ภายใต้เงื่อนไขการใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่น โดยสามารถติดตั้งกังหันลมด้วยเทคโนโลยี Vestas V174 ขนาดกำลังการผลิตต้นละ 9.6 MW จำนวน 62 ต้น ที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2561 และทยอยผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้ครั้งแรกในปี 2565

หลังจากการเดินเครื่องทั้งโครงการจะสามารถส่งไฟฟ้าพลังงานสะอาดไปยังภาคครัวเรือนจำนวน 650,000 หลัง “โครงการ CFXD นับเป็นก้าวแรกที่มีความสำคัญของการพัฒนาโครงการ ภายใต้การร่วมทุนในโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่ง ที่เป็นไปตามกลยุทธ์ทางธุรกิจของGPSC ในการก้าวไปสู่การเป็นผู้นำ ในธุรกิจนวัตกรรมไฟฟ้าอย่างยั่งยืน และ ขอขอบคุณทีม CFXD และคู่ค้าสำหรับความทุ่มเท ในการดำเนินโครงการฯ จนประสบความสำเร็จในครั้งนี้” นายวรวัฒน์ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : บางจาก โชว์นายกฯบูมเที่ยวเมือง พลังงาน โครงการชั่งหัวมัน

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และ สาธารณูปโภคต่างๆ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังดำเนินธุรกิจในลักษณะ การเข้าถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และ สาธารณูปโภคต่างๆ รวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ทั้งในและ ต่างประเทศ

ฟาร์มกังหันลม เป็นกลุ่มของกังหันลมในสถานที่เดียวกับที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ฟาร์มกังหันลมขนาดใหญ่อาจประกอบด้วยจำนวนหลายร้อยแต่ละกังหันลม และ ครอบคลุมพื้นที่ระยะยาว หลายร้อยตารางไมล์ แต่ดินแดนระหว่างกังหันอาจจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเกษตรหรืออื่น ๆ ฟาร์มกังหันลมอาจยังมีอยู่ในต่างประเทศ

ในการดำเนินงานของฟาล์มกังหันลมจำนวนมาก ที่ใหญ่ที่สุดบนฝั่งที่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศจีน ฟาร์มกังหันลมกานซู ในประเทศจีนมีมากกว่า 5,000 เมกะวัตต์ ติดตั้งโดยมีเป้าหมาย 20,000 เมกะวัตต์ ในปี 2020 ประเทศจีนมีอีกหลายแห่ง “ฐานพลังงานลม” ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ในศูนย์พลังงานลมแอลต้า ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นฟาร์มกังหันลมที่ใหญ่ที่สุด บนฝั่งนอกประเทศจีน มีกำลังการผลิต 1,020 เมกะวัตต์ ของพลังงาน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ฟาร์มกังหันลมวอลนี ในสหราชอาณาจักร เป็นฟาร์มกังหันลมที่ใหญ่ที่สุด ในต่างประเทศในทั่วโลกด้วย 367 เมกะวัตต์ ตามมาด้วยฟาร์มกังหันลมธเนศ (300 เมกะวัตต์) ซึ่งตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน