บางจาก นำธุรกิจ Q1/67 โกย 1.35 แสนล้าน-ทำสถิติใหม่ 2 โรงกลั่น

กลุ่มบริษัทบางจาก ไตรมาส 1 ปี’67 ทำรายได้ยอดขายและบริการทะยานสูงกว่า 1.35 แสนล้านบาท ทยอยเปลี่ยนโลโก้เอสโซ่เป็นบางจากทั้งหมดภายในปี 2567
กลุ่มบริษัทบางจาก ไตรมาส 1 ปี’67 ทำรายได้ยอดขายและบริการทะยานสูงกว่า 1.35 แสนล้านบาท ทยอยเปลี่ยนโลโก้เอสโซ่เป็นบางจากทั้งหมดภายในปี 2567

กลุ่ม บางจาก ยิ้ม Q1/67 กวาดรายได้การขาย และบริการ 135,382 ล้านบาท EBITDA ทะลุ 15,308 ล้านบาท บางจาก บริษัทใหญ่กำไร 2,437 ล้านบาท นำ 2 โรงกลั่นมาตรฐานโลก ทำสถิติใหม่กำลังการผลิต 271,700 บาร์เรล/วัน กลุ่มธุรกิจการตลาดขายน้ำมันพุ่ง 3,541 ล้านลิตร

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2567

เติบโตตามแผนธุรกิจและเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีรายได้จากการขายและให้บริการ 135,382 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 68 % เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน มีกำไรก่อนหักภาษีและอื่น หรือ EBITDA รวม 15,308 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น 39 % มีกำไรงวดในส่วนของบริษัทใหญ่ 2,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนกว่า 100 % กำไรต่อหุ้น 1.68 บาท

ไตรมาส 1 ปี 2567 กลุ่มบริษัทบางจากเริ่มรับรู้การรวมธุรกิจหรือ Synergy กับเอสโซ่ จึงรับรู้ผลการดำเนินงานแล้วบางส่วนประมาณ 1,500 ล้านบาท จากธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ธุรกิจการตลาด โลจิสติกส์ และผลประโยชน์ร่วมสนับสนุนการบริหารงาน)

โดยมุ่งมั่นใช้การรวมธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายตาม EBITDA Synergy (ก่อนหักภาษี) ปีนี้กว่า 2,500 ล้านบาท และปีต่อ ๆ ไปอีกไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท คาดปีหลัง 2567 จะสามารถทำ Single Linear Program (LP) ได้เพื่อให้ทำการกลั่นน้ำมันได้ดียิ่งขึ้น และภายในสิ้นปีนี้ก็จะเปลี่ยนป้ายสถานีบริการน้ำมันเป็นบางจากทั้งหมด

รวมทั้งช่วงต้นปี 2567 ได้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างหน่วยผลิตน้ำมันอากาศยานยั่งยืนหรือSAF :Sustainable Aviation Fuel แห่งแรกของไทย จะเริ่มผลิต SAF ได้ภายในไตรมาส 2 ปี 2568 ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดหาวัตถุดิบหลักผ่านโครงการ “ทอดไม่ทิ้ง” รับซื้อน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว

และร่วมมือกับ ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น จัดหาน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วเพื่อผลิตและจำหน่าย(UCO-to-SAF) และได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับ คอสโม ออยล์ และซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น ด้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ SAF ด้วย

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ไตรมาส 2 ปี 2567 มีหลายประเด็นต้องคอยจับตามอง ได้แก่ 1.ค่าการกลั่นลดลงจากเศรษฐกิจชะลอตัวและเงินเฟ้อทั่วโลก 2.ต้องปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นพระโขนง และอุปสงค์ลดลงตามฤดูกาล จะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ควบคู่กับบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการทำงาน เดินหน้าสร้างการเติบโตต่อเนื่องเพราะปี 2567 กำลังก้าวสู่ทศวรรษที่ 5

โดยยึดมั่นจุดยืนการรักษาสมดุลทำธุรกิจภายใต้แนวคิด “Greenovate to Regenerate สมดุลธรรมชาติ สรรค์พลังไม่สิ้นสุด” และร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Net Zero Emissionsอย่างยั่งยืน

นางสาวภัทร์ภูรี ชินกุลกิจนิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานบัญชีและการเงิน บมจ.บางจาก รายงานไตรมาสแรกปี 2567 แต่ละกลุ่มธุรกิจมีผลการดำเนินงานดังนี้

บางจาก รวมพลัง 2 โรงกลั่นศรีราชากับพระโขนง ทำสถิติใหม่ด้วยกำลังการผลิตเฉลี่ยรายไตรมาสสูงสุดในประวัติศาสตร์271,700 บาร์เรลต่อวัน
บางจาก รวมพลัง 2 โรงกลั่นศรีราชากับพระโขนง ทำสถิติใหม่ด้วยกำลังการผลิตเฉลี่ยรายไตรมาสสูงสุดในประวัติศาสตร์271,700 บาร์เรลต่อวัน

ผลการดำเนินงาน

  • กลุ่มที่ 1 ธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน(โรงกลั่นพระโขนงและโรงกลั่นศรีราชา) มี EBITDA 4,404 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนกว่า100 % และเพิ่มขึ้น 9 % จากช่วงเดียวกับปี 2566 สร้างสถิติใหม่มีกำลังการกลั่น 2 โรงกลั่นน้ำมันมาตรฐานระดับโลกรวมกว่า 271,700 บาร์เรลต่อวัน มีปัจจัยหลักจาก 1.โรงกลั่นศรีราชเพิ่มกำลังการผลิตเฉลี่ย 150,300 บาร์เรลต่อวัน จากเดิม 119,300 บาร์เรลต่อวัน จึงเป็นไตรมาสการสร้างประวัติศาสตร์ผลิตและกลั่นได้สูงสุด และ 2.โรงกลั่นพระโขนง รักษากำลังการกลั่นสูงไว้ได้ที่ 121,400 บาร์เรลต่อวัน

ไตรมาส 1 ปี 2567 ค่าการกลั่นพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็น 6.08 เหรียญสหรัฐฯ จากไตรมาส 4 ปี 2566 อยู่ที่  4.65 เหรียญสหรัฐฯ  และการรับรู้ Inventory Loss ลดลง ธุรกิจการค้าน้ำมันโดยบริษัท BCPT เติบโตจากการจัดหาน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ให้โรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง รวมถึงมีเพิ่มช่องทางซื้อขาย การขยายธุรกิจไปยังประเทศใหม่ๆ จึงมีธุรกรรมซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันรวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 36 %

  • กลุ่มที่2 ธุรกิจการตลาดมี EBITDA 1,899 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 100 จากช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนด้วยปริมาณการจำหน่ายน้ำมันรวมทุกช่องทางสูงถึง 3,541 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนกว่า 100 % เติบโตจากเครือข่ายปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ 2,217 สถานี

โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำกลยุทธ์การตลาดผสานรวมอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมียอดขายเพิ่มขึ้นจากสถานีบริการภายใต้ บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) (BSRC) ไตรมาส 1 ปี 2567 BSRC เปลี่ยนเป็นแบรนด์บางจากแล้วเสร็จ 332สถานี ทำยอดขายและส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น 29.2 %
จากเดิมสิ้นสุดปี 2566 ทำไว้ 28.8 %

  • กลุ่มที่4 ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพโดย บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) มี EBITDA 284ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 12 % และเพิ่มจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน 100 % ด้วยปัจจัยหลักมียอดขายสูงขึ้นจากความต้องการเพิ่มขึ้นของบางจากศรีราชา
  • กลุ่มที่ 5 ธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติมี EBITDA รวม 7,404 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 30 % และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน 37 % สร้างสถิติรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์จากปริมาณการผลิตและปริมาณการขายเพิ่มขึ้น โดยรับรู้ผลการดำเนินงานเต็มไตรมาสของแหล่งผลิต Statfjord ที่ OKEA ASA เข้าถือกรรมสิทธิ์เมื่อ 29 ธันวาคม 2566 กับแหล่งผลิต Hasselmus เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อตุลาคม 2566

ปี 2567 Statfjord มีปริมาณการผลิตน้อยกว่าคาดการณ์ไว้ จึงต้องตั้งด้อยค่าจากการลงทุนสุทธิกับรายการกลับรายการด้อยค่าของ Yme คิดเป็นขาดทุนจากการด้อยค่าหลังหักภาษีตามราว 366 ล้านบาท

-เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน

Bangchak

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : บางจาก ศรีราชา ทุบสถิติกลั่น น้ำมัน ทำรายได้ 6.3 หมื่นล้าน