“ไฮสปีดเทรน” อีก 5 ปีเปิดบริการ

  • “ศุภชัย”ยันชีพีเอชพร้อมแบกรับความรับเสียง
  • คุยฟุ้งเร่งผุดโรงแรม-อาคารสำนักงาน 100 ไร่
  • ดันซีพีเอชเข้าตลาดหุ้นลดสัดส่วนซีพีเหลือ51%

“บิ๊กตู่” ร่วมเป็นสักขีพยานลงนามโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท มั่นใจโครงการนี้ เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลลงมือแก้ไขปัญหาให้ทั้งหมด ด้าน “ศุภชัย” ยอมรับโครงการรถไฟความเร็วสูงถือเป็นเงิน “หิน” สุดที่ แต่ยืนยัน จะก่อสร้างเสร็จ และพร้อมเปิดให้บริการภายในปี2566 ส่วนเส้นทางแรกที่เปิดให้บริการคือ มักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมโชว์พื้นที่สวย ซีพีเอชคว้าชัยได้พัฒนาพื้นที่อสังหาริม ทรัพย์แปลงใหญ่ 100 ไร่ ผุดอาคารสำนักงานและโรงแรมขนาด 2 ล้านตารางเมตร บนพื้นที่มักกะสัน มูลค่ากว่า 1.4 แสนล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า วานนี้ (24 ต.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) หรือไฮสปีดเทรน มูลค่า 224,544 ล้านบาท ระหว่างการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยมีนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะกรรมการผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ในฐานะผู้แทนกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร หรือซีพีเอชในฐานะผู้ชนะการประมูลรถไฟความเร็วสูงฯ และนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกันลงนาม

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ดีใจกับความก้าวหน้าของโครงการดังกล่าว เพราะเราทำงานขับเคลื่อนเรื่องนี้มานานกว่า 2 ปีแล้ว วันนี้ (24 ต.ค.) ถือเป็นการนับหนึ่งลงนามสัญญาในการเริ่มก่อสร้าง โดยมีหลายภาคส่วนมาร่วมมือกัน ซึ่งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นไม่เพียงแต่เป็นการเชื่อมทั้ง 3 สนามบินเท่านั้น ยังเชื่อมไปถึงโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีนที่กำลังดำเนินการก่อสร้างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะเชื่อมโยงไปยังประเทศอื่นด้วย สำหรับภาพ รวมในการลงทุนของโครงการนี้ จะใช้เงินไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท เพราะจำเป็นต้องพัฒนาประเทศไทย ทั้งในเรื่องทางบก รถไฟฟ้าความเร็วสูง ทางอากาศรวมถึงท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ

“การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะเป็นไปตามสัญญาอย่างแน่นอน โดยรัฐบาลได้หาทางออกไว้แล้ว อย่างกรณีการรื้อย้ายสาธารณูปโภคเดิมที่กีดขวางในเส้นทางการก่อสร้าง ก็จำเป็นต้องแก้ปัญหา ในฐานะความรับผิดชอบของรัฐบาล โดยกระทรวงมหาดไทยจะเป็นเจ้าภาพในการประชุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การรื้อย้ายเป็นไปตามแผนงานที่กำหนด”

นายศุภชัย กล่าวว่า นับจากวันนี้ เป็นต้นไป กลุ่มซีพีเอช ได้วางแผนระยะเวลาในการก่อสร้างไว้ว่าต้องดำเนินการก่อสร้างให้ได้ภาย ใน 1 ปี หรือ 12 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 24 เดือน เพื่อให้การก่อสร้างโครงการต้องแล้วเสร็จ และพร้อมเปิดให้บริการภายในปี2566 โดยเส้นทางสายแรกที่จะเปิดให้บริการคือสถานีมักกะสัน ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันมีรถไฟแอร์ พอร์ต ลิงค์ เปิดให้บริการอยู่แล้ว โดยซีพีเอชสามารถเข้าปรับปรุงระบบงาน และเปิดให้ บริการโดยใช้เวลาไม่นานนัก

ส่วนเส้นทางที่ 2 คือ สนามบินสุวรรณภูมิ ถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร (กม.) ร.ฟ.ท.ระบุว่า จะส่งมอบพื้นที่ได้เร็วขึ้น จากเดิม 2 ปี ลดลงเหลือ 1 ปี 3 เดือน และเส้นทางที่ 3 สนามบินดอนเมืองถึงสนามนีมักกะสัน จะส่งมอบพื้นที่ได้เร็วขึ้น จากเดิม 4 ปี ลดลงเหลือ 2 ปี 3 เดือน ซึ่งหากการส่งมอบพื้นที่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำ หนด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะก่อสร้างเสร็จทั้งหมด

โดยกลุ่มซีพีเอช วางแผนให้สนามนีรถไฟมักกะสัน เป็นจุดศูนย์กลางของโครงการรถไฟความเร็วสูงที่สามารถเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ และถนนหนทางเพื่อให้นักเดินทาง มีจุดพักอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งพื้นที่บริเวณสถานีมักกะสั้นนั้น ร.ฟ.ท.มอบพื้นให้กลุ่มซีพีเอสสามารถนำไปพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ได้รวมพื้นที่ใช้งานประมาณ 2 ล้านตารางเมตร เช่น โรงแรม อาคารสำนักงาน โดยจะใช้จำนวนเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 140,000 ล้านบาท

ส่วนกรณีที่นักลงทุนเป็นห่วงเรื่องของทุนในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เนื่องจากเป็นโครงการรร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP) และในเงินลงทุนจำนวนมากกว่า 200,000 ล้านบาท ในเบื้อง ต้นจะมีการลงทุนตามสัดส่วนของกลุ่มพันธมิตรที่กำหนด ซึ่งปัจจุบันเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดคือ 70% เพื่อเป็นแกนนำและมีอำนาจในการบริหารโครงการ แต่ในอนาคตจะมีการหาพันธมิตรเพิ่มทุนและนำโครง การดังกล่าว จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นจะต้องลดลงแต่ซีพีจะถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% อย่างแน่นอน

“โครงการนี้ เราได้หารือกับ ร.ฟ.ท.มาโดยตลอด ยอมรับว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ถือเป็นงาน หิน มากที่สุดเท่าที่ เคยทำงาน เนื่องจากเป็นโครงการแรกของอีอีซี มีการใช้เงินทุนในการก่อสร้างจำนวนมาก และยังมีเรื่องของการส่งมอบพื้น ที่อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นความเสี่ยงของโครงการ แต่กลุ่มซีพีเอช ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้ซีพีเอช สามารถรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้หากโครงการเปิดให้บริการได้แล้ว คาดว่า จะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 650,000 ล้านบาท ส่งผลให้เกิดการจ้างงาน 16,000 อัตรา และจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่องมากกว่า 100,000 อัตรา ใน 5 ปีข้างหน้า”

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า พื้นที่ที่มอบให้กลุ่มซีพีเอช บริเวณสถานรถไฟมักกะสัน มีประมาณ 100 ไร่ ตั้งอยู่ฝั่งตรงของสถานีมักกะสันก่อนขึ้นทางด่วน โดยพื้นที่ตรงจุดนี้ จะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ได้ โดยมั่นใจว่า กลุ่มซีพีเอช จะออกแบบอาคาร สำนักงานและโรงแรมให้มีความทันสมัยอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องการเวนคืนพื้นที่นั้น ได้ข้อสรุปเรียบร้อยแล้ว และคาดว่าวันที่ 29 ต.ค.นี้ จะนำพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา