ไม่ตกขบวน อิตาเลียนไทยฯโดดรวมชิงประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

  • อิตาเลียนไทย เข้าซื้อซองเอกสารประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
  • รวมเป็นรายที่ 5 ต่อจาก BEM – กลุ่ม BTS และ STEC
  • สัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.4 แสนล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดขายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน(Request for Proposal Documents: RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์เป็นวันที่ 2 โดยมีเอกชนให้ความสนใจติดต่อขอซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ ในวันนี้ จำนวน 1 ราย ได้แก่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันแรกที่เปิดขายเอกสารฯ มีผู้ให้ความสนใจติดต่อขอซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ จำนวนทั้งสิ้น 5 ราย ดังนี้ 1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) 3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)4. บริษัท ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชนและ 5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents : RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้จนถึงวันที่ 24 ..63 เวลา 9.00 ถึง 15.00  ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร 1 รฟม.

ทั้งนี้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์รฟม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.4 แสนล้านบาท โดยการประมูลครั้งนี้จะได้ผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยจะเริ่มเดินรถจากสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ –มีนบุรี (สุวินทวงศ์ก่อน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างมีความคืบหน้า 64% เร็วกว่าแผน 3% คาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จในปี 65 กำหนดเดินรถในปี 66 หากได้ตัวผู้เดินรถจะมีระยะเวลาเตรียมการทั้งตัวรถไฟฟ้าและระบบการเดินรถด้วย

สำหรับโครงการดังกล่าวมีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรีระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานีและส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)