“โรเบิร์ตวอลเทอร์ส”เปิดโพลล์ตลาดงานในไทยปี’66

  • .โรเบิร์ตวอลเทอร์สเปิดผลสำรวจการจ้างงานในไทยปี’66 เข้าสู่ยุค “พนักงานบูมเมอแรง”
  • .พบ 5 เรื่องโดนๆพนักงานเก่า-นายจ้างเก่า-หัวหน้างานยินดีรับกลับเข้าทำงานโดยไม่ลังเล
  • .ผู้เชี่ยวชาญชี้เป้าจ้างคนเก่าเสริมแนวคิดเชิงบวกดีกว่าจ้างคนใหม่ต้องใช้เวลาหลายปีปลูกฝังทักษะงาน

โรเบิร์ตวอลเทอร์ส รายงานว่า ได้จัดทำผลสำรวจเกี่ยวกับสถานการณ์แนวโน้มการจ้างงานปี 2566 จะเป็นยุคของพนักงานบูมเมอแรง (Boomerang Workforce) โดยเฉพาะในประเทศไทยพบพนักงาน 72% ยินดีที่จะกลับไปทำงานกับบริษัทเก่าอีกครั้ง โดยคำตอบที่น่าสนใจเป็นไฮไลต์ 5 เรื่องหลัก ดังนี้ คือ

เรื่องที่ 1 มีพนักงาน 41% กำลังพิจารณาจะกลับมาทำงานกับนายจ้างเก่าเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพและค่าตอบแทนที่ดีขึ้น

เรื่องที่ 2 พนักงานจำนวน 1 ใน 3 หรือคิดเป็น 35% ของผู้สำรวจทั้งหมดยอมรับว่าได้ติดต่อกับนายจ้างคนเก่าเรียบร้อยแล้ว

เรื่องที่ 3 พนักงานมากกว่า 9 ใน 10 คิดเป็น 92% ยังคงติดต่อกับนายจ้างคนเก่า ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจทำแบบนี้ 27% ก็เพื่อยังคงเปิดโอกาสทางอาชีพต่อไป

เรื่องที่ 4 นายจ้างมากกว่า 80% เปิดรับการจ้างพนักงานเก่า ในจำนวนนี้มีนายจ้างมากถึง 88% ไม่ลังเลเลยที่จะดำเนินการจ้างพนักงานเก่ากลับเข้ามามาทำงาน

เรื่องที่ 5 พนักงานเกือบ 3 ใน 4 หรือคิดเป็น 72% ในประเทศไทย กล่าวว่าพวกเขาเปิดใจจะกลับไปทำงานกับนายจ้างคนเก่า ซึ่งมีแนวโน้มจะได้การตอบรับที่ดีด้วย เพราะนายจ้างมากถึง 80% ยินดีจะรับพนักงานเก่ากลับมาทำงานด้วยอย่างไม่ลังเลอีกต่อไป 

 โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ระบุการทำผลสำรวจจากพนักงานเกือบ 1,000 คน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6 ประเทศ มาจากประเทศไทย 130 คน โดยมีพนักงานในไทยที่ลาออกจากงานเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมามารวมอยู่ด้วย 41% ลาออกเพราะต้องการค่าจ้างและสวัสดิการที่ดีขึ้น ส่วนพนักงานอีก 40% ลาออกเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพที่ดีขึ้น

สำหรับใน “ประเทศไทย” มีผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก 26% ตั้งใจจะกลับไปร่วมงานกับนายจ้างเก่าอีกครั้ง ถ้าหากได้รับข้อเสนอทางโอกาสก้าวหน้าในอาชีพที่ดี  กลุ่มสอง 25% เปิดกว้างต่อข้อเสนอถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้นำหรือทีม กลุ่มสาม 14% เต็มใจจะกลับมาทำงานกับนายจ้างเก่าหากพได้รับค่าตอบแทนที่ดีกว่า

ขณะเดียวกันในผลสำเร็จของ “โรเบิร์ต วอลเทอร์ส” ยังพบประเด็นสำคัญอีก 2 เรื่อง คือ

เรื่องที่ 1 การรักษาโอกาสทางอาชีพเดิมไว้ พบว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเมืองไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถามติดต่อกับอดีตบริษัทที่ตนเคยทำงานด้วยมากที่สุด ซึ่งใกล้เคียงกับอินโดนีเซียและเวียดนาม โดยมีพนักงานในไทยน้อยกว่า 1 ใน 10 หรือเพียง 8% เท่านั้นไม่ได้ติดต่อกับอดีตนายจ้างเลย เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี 13%

ทางผู้ตอบแบบสำรวจ 92% ยอมรับว่าพวกเขายังคงติดต่อกับหัวหน้าเก่าอยู่บ้างมากกว่า 1 ใน 4 กล่าวว่าการทำเช่นนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเปิดประตูสู่โอกาสทางอาชีพในอนาคต คิดเป็น 27% ส่วนผลสำเร็จใน“ประเทศไทย” พนักงาน 35% ยอมรับว่าพวกเขาได้ติดต่อกลับไปที่ทำงานเก่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเพื่อสอบถามถึงข้อเสนอการทำงาน ส่วนพนักงานอีก 13% ตั้งใจจะติดต่อกลับไปเช่นกัน

ทั้งนี้มีประเทศที่ทำสำรวจรวม 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนาม

เรื่องที่ 2 หัวหน้าเปิดกว้างในการรับพนักงานเก่ากลับมาทำงาน โดยรวมพนักงานส่วนใหญ่ในประเทศไทยตอบรับต่อแนวคิดเชิงบวก ประกอบด้วย “นายจ้าง”กว่า 80% ในไทยยินดีจะพิจารณาจ้างงานอดีตพนักงานอีกครั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม ส่วน “ผู้จัดการ”เกือบ 70% จะพิจารณาให้ “อดีตพนักงานที่มีผลงานดี” กลับมาทำงาน และผู้จัดการอีก 12% เปิดกว้างแนวคิดนี้ แต่จะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและรอบคอบมากที่สุด

โดยมีผู้จัดการในไทยถึง 19% มีความเห็นว่าพวกเขาจะไม่พิจารณาจ้างพนักงานเก่าอีกครั้ง เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเพียง 9% แสดงให้เห็นว่าเมืองไทยในมุมนี้มีความระแวดระวังมากที่สุด

“ปุณยนุช ศิริสวัสดิ์วัฒนา” ผู้จัดการโรเบิร์ตวอลเทอร์ส ประจำประเทศไทย กล่าวว่า จากผลการสำรวจของบริษัทพบว่า ผู้จัดการในประเทศไทยเปิดรับพิจารณาการจ้างอดีตพนักงานของตนอีกครั้ง ขณะที่พนักงานส่วนใหญ่ยังคงติดต่อกับนายจ้างเก่าของตน ปัจจุบันพนักงานตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาสายสัมพันธ์ที่ดีกับอดีตนายจ้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ การได้รับคำปรึกษา การพัฒนาวิชาชีพ หรือเป็นเพราะความสัมพันธ์ที่ดีที่ได้สร้างร่วมกันมาตลอดการทำงานช่วงที่ผ่านมา 

ในทางกลับกันนายจ้างควรรักษาการสื่อสารกับอดีตพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้มีกรอบความคิดสอดคล้องกับวัฒนธรรมของบริษัท รวมทั้งมีทักษะวิชาชีพตอบโจทย์ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบกว่าการสรรหาพนักงานใหม่ วิธีการเหล่านี้ถือเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสจ้างพนักงานเก่ากลับมาทำงานใหม่ได้ในอนาคตต่อไป

โทบี้ฟาวล์สตัน” ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทที่ปรึกษาด้านการสรรหาบุคลากรระดับโลกโรเบิร์ต วอลเทอร์ส แสดงความคิดเห็นว่า ช่วงปี 2566 ตลาดการสรรหางานชั้นนำระดับโลกชะลอตัวลง ยังขาดแคลนผู้สมัครงานยังคงมีอยู่ ความเป็นจริงคือมีกลุ่มคนพร้อมกลับเข้ามาร่วมธุรกิจน่าจะเป็นข่าวดีของผู้นำองค์กร เพราะทักษะของอดีตพนักงานยังสามารถนำมาใช้งานได้ทันที เนื่องจากได้รับการสอนงานเพื่อเข้าสู่ธุรกิจของเดิม และยังมีความคุ้นเคยกับกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้งมีความสนใจในแบรนด์มาก่อนด้วย หากต้องหาพนักงานใหม่ต้องใช้เวลาหลายปีปลูกฝังคุณลักษณะเหล่านี้

เมื่อพิจารณาจากการวิจัยนี้สะท้อนถึงบริษัทที่กำลังมองหาการจ้างงาน สามารถพิจารณาให้โอกาสกับอดีตพนักงานเพื่อเข้าร่วมงานด้วยอีกครั้ง และฝึกอบรมผู้จัดการให้มีทัศนคติเชิงบวก โดยพนักงานบูมเมอแรง (Boomerang Employees) อาจเป็นทางเลือกที่ดีกับการแก้ไขปัญหาด้านการขาดแคลนทักษะความสามารถด้วย

“สิ่งสำคัญของนายจ้าง” คือการบริหารจัดการการพนักงานบูมเมอแรงที่กลับมาทำงานอีกครั้งท่ามกลางพนักงานในบริษัทที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะเมื่อมีอดีตพนักงานกลับมาทำงานตำแหน่งสูงกว่าตอนออกจากงานไป นายจ้างจำเป็นจะต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น และควรประเมินว่ากำลังทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเปิดโอกาสภายในองค์กรอย่างเต็มที่ ไม่เช่นนั้นอาจเสี่ยงเรื่องจะมีการส่งข้อความเรื่องการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง และได้รับสวัสดิการที่ดีกว่า ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งของพนักงานที่ต้องเลือกเส้นทางลาออกแล้วกลับมาทำงานอีกครั้ง (Boomerang Route) นั่นเอง

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen