โรบินฮู้ดฟู้ดเดลิเวอร์รี่เขย่า“แกร็บ-ไลน์แมน – แพนด้า”

  • ไทยพาณิชย์โดดอุ้มร้านอาหารรายย่อย เปิดตัวแอปฯโรบินฮู้ด ฟู้ดเดลิเวอร์รี่
  • บริการฟรีไม่เก็บค่าหัวคิว 30-35 % ร้านค้ารับเงินภายใน 1 ชั่วโมง เริ่มบริการเดือนก.ค.นี้

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้รับจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม ภายใต้ชื่อ “Robinhood” (โรบินฮู้ด ) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่สัญชาติไทยเจ้าแรก เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อย พร้อมเปิดให้บริการในเดือนก.ค.นี้ โดยเริ่มแรกจะเปิดให้บริการในกรุงเทพฯและปริมณฑ ก่อนขยายไปยังต่างจังหวัด เริ่มต้นจะร้านอาหารเข้าร่วม 20,000 ร้าน สิ้นปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 40,000-50,000 ร้าน


“แอปพลิเคชันโรบินฮู้ด ที่ธนาคารเตรียมเปิดให้บริการ ไม่ต้องการไปล้มใคร และไม่ได้ตั้งเป้าต้องขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของฟู้ดเดลิเวอร์รี่ เพียงแต่ขอเป็นทางเลือกของคนในสังคม สามารถเลือกใช้บริการที่ถูกลง อีกทั้งเป็นการช่วงผู้ประกอบการร้านอาหาร เป็นการช่วยเหลือสังคม ธนาคารรับเป็นตัวกลางบริการให้ฟรีทั้งหมด ร้านค้าไม่ต้องเสียค่าส่วนแบ่งจากการขาย(จีพี) 30-35 % ของค่าอาหาร เจ้าของร้านได้รับเงินเร็วภายใน 1 ชั่วโมง”


ทั้งนี้แพลตฟอร์มฟู้ด เดลิเวอรี่ โรบินฮู้ด จะดำเนินการภายใต้บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเครือของเอสซีบี เท็นเอกซ์ ใช้งบลงทุนในการพัฒนาแอปฯกว่า 100 ล้านบาท และต้องมีพนักงานทำงานในบริษัทดังกล่าว 40-50 คน ไม่รวมพนักงานคอลเซ็นเตอร์ ส่วนรถจักรยานยนต์ที่จัดส่งอาหาร เริ่มแรกจะร่วมกับสกู๊ตตาร์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ พร้อมกับเปิดกว้างให้เจ้าอื่นๆ เข้าร่วม ภายใต้การแบ่งเป็นผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมระหว่างผู้สั่งอาหาร ร้านอาหาร และรถจักรยานยนต์ที่ส่งอาหาร


อย่างไรก็ตามในส่วนของธนาคารนั้น การให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่บินฮู้ดฟรีทั้งหมด ไม่มีรายได้จากให้บริการ และไม่มีการทำโฆษณา เป็นการทำขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือสังคม และช่วยเหลือคนไทยให้สามารถทำธุรกิจได้ยั่งยืนในยุคของ New Normal อีกทั้งช่วยเกื้อกูลกันในยามยาก ให้สามารถรอดพ้นวิกฤติได้ แต่ในส่วนของธนาคารหากมีการเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก ก็จะได้รับข้อมูลการซื้อขาย ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดด้วยการสนับสนุนสินเชื่อ หรือบริการอื่นๆของธนาคารต่อไปในอนาคต


นายอาทิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิกฤติโควิด-19 ยัง ไม่จบ กว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะกลับมาแข็งแรงแบบที่เคยเป็นมา คงต้องใช้ เวลาพอสมควร ดังนั้นธนาคารจึงใช้ห้วงเวลาดังกล่าวมาเป็นโอกาสในการพัฒนาองค์กรและเปลี่ยนแปลงตัวเอง ผ่านยุทธศาสตร์ “SCB New Normal” ซึ่งจากรากฐานที่แข็งแรงจากการทำ Digital Transformation (ดิจิทัล ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ) ทำให้ธนาคารมี ขีดความสามารถในการเป็นองค์กรที่มีความตัวเบา และสามารถกำหนดรูปแบบการทาธุรกิจ (Business Model) การปรับต้นทุนการให้บริการ แนวทางการสร้างปฏิสมั พันธ์กับลูกค้า (Customer Engagement) การให้บริการกับ ลูกค้าในทุก ๆ เซ็กเมนต์ และนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริการ การสร้างคุณ ค่าใหม่ (CoreValue )


“ในย่ามนี้เราต้องยื่นมือมาช่วยลูกค้าให้รอดไปด้วยกัน เพราะหากลูกค้าไม่รอดธนาคารก็ไม่รอดเช่นกัน ดิจิทัลทำให้ต้นทุนถูกลง ทั้งในฝั่งของธนาคาร และการนำดิจิทัลเข้าไปช่วยให้ต้นทุนของลูกค้าถูกลง และตัวเบาขึ้น ถือว่าเป็นการช่วยสังคมให้รอด อีกทั้งเป็นการสร้างความแข็งแกร่งในระยะยาว ซึ่งส่งผลดีต่อธนาคารด้วย”