เปิดโพลส.อ.ท.เรื่องการช่วยเหลือเอสเอ็มอีอย่างไรให้ตรงเป้าหมาย

  • 89.4%ระบุโควิด-19เดือนเม.ย.รุนแรงกว่าปีท่ีผ่านมา
  • เป็นห่วงการติดเชื้อในโรงงานมากที่สุด
  • เงินกู้5แสนล้านบาททำให้ไทยสู่ภาวะปกติกลางปีหน้า

นายสุพันธ์ุ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจส.อ.ท.โพล( FTI Poll )ประจำเดือนพ.ค. ท่ีผ่านมา ภายใต้หัวข้อ “มาตรการเยียวยาแบบไหนถูกใจ เอสเอ็มอี ” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน170 กิจการ จาก45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ75 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ซ่ึงส่วนใหญ่ มองว่าเอสเอ็มอี  ได้รับผลกระทบจากการโควิด-19 ระลอกใหม่ มากกว่าการแพร่ระบาดโควิด-19 เมื่อปีท่ีผ่านมา จากความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของแรงงานในสถานประกอบการ และการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นสมาชิกของส.อ.ท. ต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการเยียวยาช่วยเหลือ เอสเอ็มอี ในการลดภาระค่าใช้จ่ายในการประกอบการ เช่น การลดค่าน้ำ ค่าไฟ %และการลดค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการ ค่าส่วนกลางของห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และพื้นที่เช่าโรงงาน 50 %เป็นต้น

นายสุพันธ์ุ กล่าวว่า เมื่อถามว่า การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอี มากกว่าการแพร่ระบาดโควิด-19 เมื่อปีท่ีผ่านมา พบว่า การระบาดระลอกใหม่เมื่อเดือนเม.ย.ท่ีผ่านมา มีความรุนแรงมากกว่าปีท่ีผ่านมา 89.4 %รองลงมามองว่าได้รับผลกระทบเทียบเท่ากับปี 2563 และน้อยกว่าปีปีท่ีผ่านมา คิดเป็น5.3 %และ 4.1% ตามลำดับ 


 “ในส่วนของมุมมองเรื่องผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจพบว่า 3 อันดับแรก ผู้บริหาร ส.อ.ท. มีความเป็นห่วงในเรื่องความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ของแรงงานในสถานประกอบการ คิดเป็น 91.2 %รองลงมาเป็นเรื่องการขาดสภาพคล่องทางการเงินในการดำเนินธุรกิจจากการหยุดกิจการ คิดเป็น74.1 %และเรื่องความต้องการสินค้าและบริการที่ลดลง รวมถึงการชะลอการรับสินค้า คิดเป็น67.1  %”

สำหรับมาตรการเยียวยาของภาครัฐ ในปัจจุบัน ที่ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบ ได้ 3 อันดับแรก ได้แก่ มาตรการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ เช่น คนละครึ่งเฟส 3, เราชนะ, ม.33, ขยายวงเงินช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ เป็นต้น คิดเป็น 71.2 %รองลงมาเป็นมาตรการลดเงินสมทบประกันสังคม เหลือฝั่งละ 2.5 %เป็นเวลา 3 เดือน คิดเป็น64.7 %และมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู และสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 คิดเป็น 61.8% ที่สำคัญรัฐบาล ยังมีความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการเยียวยาช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ มาตรการลดค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าสาธารณูปโภค 30 %คิดเป็น59.4 %

รองลงมาเป็นการลดค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการและค่าส่วนกลางของห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า พื้นที่เช่าโรงงาน 50% โดยผู้ให้เช่าสามารถนำส่วนลดไปลดหย่อนภาษีในรอบบัญชีถัดไปได้ คิดเป็น 55.3 %ถัดไปเป็นการขยายระยะเวลาจัดเก็บภาษี มูลค่าเพิ่ม(แวต) และเร่งคืนแวตให้เอสเอ็มอี ที่ส่งออก ภายใน 15 วัน และการอนุญาตให้นิติบุคคลที่เป็น เอสเอ็มอี เข้าร่วมโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐได้ มีคะแนนเท่ากันที่53.5%

ขณะเดียวกัน โพลดังกล่าว ยังได้เจาะลึกถึงกรณีที่รัฐบาลจะออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) กู้เงิน 5 00,000 ล้านบาท ว่าควรนำเงินไปใช้ในเรื่องใด พบว่า 3 อันดับแรก เห็นว่าต้อง ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ คิดเป็น 74.1 %รองลงมาเป็นการช่วยเหลือ เยียวยาให้แก่ประชาชน และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ คิดเป็น70.6% และแก้ไขปัญหาการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 คิดเป็น 65.9 %

“ ผู้บริหาร ส.อ.ท. ได้ประเมินว่า แผนการใช้เงินกู้ จะช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในช่วงใด โดยส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจไทย จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในกลางปีหน้า คิดเป็น 37.1% รองลงมาเป็นช่วงปลายปี หน้า 23.5% อีกทั้งมองว่า จำนวนเงินดังกล่าว ไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ คิดเป็น21.8 %และคาดว่าเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในปลายปี นี้ คิดเป็น 17.6 %”

นอกจากนี้คำถามสุดท้ายคือ หลังจากวิกฤตโควิด-19 สิ้นสุดลง เอสเอ็มอี ควรให้ความสำคัญกับการปรับตัวเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจในอนาคตเรื่องใดบ้าง พบว่า 3 อันดับแรก ผู้บริหาร ส.อ.ท. ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 75.9% รองลงมาเป็นการพัฒนาทักษะแรงงาน คิดเป็น64.1 %และการบริหารจัดการด้านการเงิน เพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคต คิดเป็น 58.8%

#TheJournalistclub #วัคซีนโควิด #สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย #เอสเอ็มอี