“อาคม”​ตอกย้ำนโยบาย “ขาดดุล”เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พัฒนาประเทศ

  • ทุกวิกฤตเศรษฐกิจ ก็ต้องกู้เงิน
  • ประเทศไทย ต้องปรับโครงสร้างรายได้และขยายฐานภาษี
  • เพื่อหาเงินมาพัฒนาประเทศ -เบี้ยคนชรา เพราะไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เกิดวิกฤติโควิดและส่งผลกระทบต่ออัตรการการเติบโตของเศรษฐกิจ ไม่ใช่ประเทศไทยประเทศเดียวแต่เกิดขึ้นทั่วโลก ฉะนั้นเมื่อเกิดวิกฤตรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงิน ต้องดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล  และกู้เงิน เหมือนวิกฤตเศรษฐกิจลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เมื่ือปี2552 ที่ผ่านมา ซึ่งทุกวิกฤติก็มีีการออกพ.ร.ก.กู้เงิน เมื่อกู้เงินก็เป็นภาระการคลัง  แต่รัฐบาลก็ต้องบริหารจัดการ  เช่นเดียวกับหนี้สาธารณะที่มีการปรับเพดานขึ้นเหมือนในอดีต แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวก็มีการปรับเพดานลงมา ถือเป็นการช่วยประคองเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง 

ส่วนเรื่องที่จำเป็นต้องทำในอดีตไม่มีการทำ คือ การปรับโครงสร้างประเทศด้านการจัดเก็บรายได้จากภาษี การขยายฐานภาษี ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง มีแต่นโยบายลดอัตราภาษี เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องปรับลดลงมา เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้ ดังนั้นเมื่อลดภาษีจำนวนมาก ทำรายได้ของรัฐลดลง  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างภาษี โครงสร้างรายได้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บราไยด้ได้เพิ่มขึ้น  

“ในอดีตที่ผ่านมา ภาครัฐไม่ได้ทำการปรับโครงสร้างรายได้  มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศไทย ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นที่ฐาน เพื่อพัฒนาประเทศ การลงทุนถนนเพื่อเชื่อมต่อเมืองกับชนบท ช่วยขนส่งสินค้าออกสู่ตลาด  ขณะที่รายจ่ายประจำก็เพิ่มขึ้นสูงเรื่อยๆ

โดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการต่างๆ อาทิ เงินดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งในอนาคตจะเพิ่มขึ้นมาก เพราะสังคมไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย ทุกครั้งที่พูดเรื่องปรับโครงสร้างภาษี จัดเก็บรายได้ ก็จะไม่สามารถทำได้ เพราะทุกคนไม่ชอบ ซึ่งกระทบต่อโครงสร้าง  แต่เป็นสิ่งที่กระทรวงการคลังจะต้องทำในช่วงต่อไป” 

นายอาคม กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายการเงิน ก็ต้องทำให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว และมีโอกาสฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นค่อนข้างเร็ว เมื่อเห็นสัญญาณเศรษฐกิจเริ่มฟื้น ก็ปรับดอกเบี้ยขึ้นเลย แต่ครั้งนี้ต้องชื่นชมธนาคารแห่งประเทศ(ธปท.)​ ที่เข้าใจ คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ เพราะดอกเบี้ยคือต้นทุน ดังนั้นนโยบายการคลัง และการเงิน ก็ต้องสอดคล้องกัน

“การทำงานที่ผ่านมาของกระทรวงการคลังกับธปท.มีการประสานงานมาตลอดกัน ขณะที่กระทรวงการคลังก็ไม่ได้มีการใช้จ่ายเกินตัว และในปีงบประมาณ 66 ได้ตั้งงบประมาณขาดดุลลดลง ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าต่อไปการขาดดุลยังมีอยู่ แต่จะต้องลดขนาดของการขาดดุลลงเรื่อยๆ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ”

ด้านนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ  ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ประเทศไทย

นายกฤษฎา ปลัดคลัง กล่าวถึงกรณีที่อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุถึงการทำงบประมาณขาดดุลอย่างต่อเนื่องและยาวนานของรัฐบาลว่า ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการทำงบประมาณขาดดุลมาโดยตลอด มีเพียงแค่ 2 ครั้งที่สามารถทำงบประมาณสมดุลได้ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา จึงจำเป็นที่ต้องมีการลงทุนโครงสร้าง เพื่อให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต ดังนั้นตราบใดที่เป้าหมายตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องการให้เติบโต เราก็ต้องมีงบลงทุน ดังนั้นจึงเป็นนโยบายเพื่อให้เศรษฐกิจโตขึ้น ซึ่งก็คือนโยบายขาดดุลที่รัฐบาลได้ดำเนินการมาโดยตลอด 

ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวอีกว่าขณะเดียวกันตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยก็ยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ ยังไม่ถึง 70% ตามกรอบเพดานที่ได้ขยายไว้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 59% ต่อจีดีพีเท่านั้น เพราะฉะนั้นยังมีรูมที่สามารถดำเนินการได้ และเงินคงคลังก็ไม่มีปัญหา โดยปัจจุบันมีเงินคงคลังต้นงวดอยู่ประมาณ 580,000 ล้านบาท และคาดว่าปิดปลายงวดจะจัดเก็บรายได้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งก็จะทำให้เงินคงคลังปลายงวดใกล้เคียงที่ 5 แสนกว่าล้านบาท 

“ในช่วงวิกฤตนโยบายการเงินก็ควรมาช่วยนโยบายการคลังในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนในปัจจุบันนโยบายการเงินจะต้องทำอะไรเพิ่มอีกหรือไม่นั้น ไม่ขอพูด แต่ก็ถือเป็นการส่งสัญญาณเล็กๆไปถึง ธปท.” ปลัด ก.คลัง กล่าว