อันตราย!!ที่มาพร้อมธุรกรรมการเงินยุค 4.0 แสนง่ายเพียงปลายนิ้ว

ในยุคที่โลกเราก้าวสู่เทคโนโลยีอันทันสมัย “ยุค 4.0” แน่นอนก็นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินของมนุษย์โลก 

“ทุกสิ่งอย่างแสนง่ายแค่เพียงปลายนิ้ว ของแค่มีสมาร์ทโฟนหรือแล็ปท็อป คู่กายก็ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นเยอะ”

ไม่เว้นแม้กระทัั่งการทำธุรกรรมด้านการเงิน ที่ในอดีตจะเบิก-ถอน-โอน-จ่าย ก็ต้องต่อแถวเข้าคิวดำเนินธุรกรรมกันที่เคาน์เตอร์สาขาธนาคาร ไม่ก็ยืนกดดำเนินการกันที่หน้าตู้เอทีเอ็ม ถึงขั้นบ้างทีคนยืนต่อหลังรอจนท้อ!!

แต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์เรามากขึ้น นำมาซึ่งการพัฒนาระบบการทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ผ่านแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน 

อยากโอนเงินใช้จ่ายเงินเวลาไหนก็ทำได้อย่างที่ใจปรารถนา ซึ่งอย่างที่ประเทศไทยกำลังผลักดันอยากให้เกิดกับ “สังคมไร้เงินสด” (Cashless Society) อยู่เต็มรูปแบบ 

แต่ในความสะดวกสบายในการใช้จ่ายธุรกรรมการเงินในโลกยุคดิจิทัลนั้น ก็มีความอันตรายซ่อนตัวอยู่เช่นกัน วันนี้ทีม The Journalist Club ก็ขอยกตัวอย่างข้อมูลดีจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับการโจรกรรมทางการเงินยุค 4.0 

3 รูปแบบ “โจรกรรม” ทางการเงินยุค 4.0

1.การหลอกลวงทางอีเมล, โซเชียลมีเดีย โดยวิธีที่มิจฉาชีพเลือกใช้คือ หลอกให้โอนเงินชำระค่าสินค้าที่ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์, ติดต่อผ่านมาทางเฟซบุ๊ก หรืออีเมล หลอกว่าจะส่งพัสดุมาให้แต่ต้งโอนเงินไปให้ก่อนเพื่อจ่ายค่าธรรมเนียม/ภาษีก่อน, ถูกขโมยบัญชีเฟซบุ๊ก/ไลน์ แล้วแอบอ้างเป็นญาติ คนรู้จักเพื่อหลอกอีกฝ่ายให้โอนเงิน รวมถึงมีวิธีหลอกให้ดาวน์โหลดแอปฯปลอม เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว รหัสผ่าน ไปใช้ทำธุรกรรมทางการเงินต่อไป

2.มาในรูปแบบการปลอมแปลงบัตร อิเล็กทรอนิกส์ หรือถูกบุคคลอื่นนำบัตรไปใช้ โดยมิจฉาชีพจะใช้วิธีขโมยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ และขโมยข้อมูลบัตรและรหัสผ่าน

3.การหลอกลวงให้ลงทุน หรือซื้อขายสินทรัพย์ต่างๆ โดยจะเข้ามาในรูปแบบชวนให้เหยื่อลงทุนในเงินดิจิทัล (Crypto) ลงทุนใน Forex, ชวนให้ลงทุนธุรกิจที่มีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ รวมถึงชวนให้หากำไรจากเว็บไซต์รับพนันกีฬาในต่างประเทศ (Sport Arbitrage)

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท.

นี้เป็นตัวอย่างคร่าวๆที่เหล่ามิจฉาชีพ หัวขโมย เลือกใช้วิธีการลวงหลอกดูดเงินจากเราไป ซึ่งทางที่ดีหากจะลงทุนอะไร หรือมีใครมาชวนให้ทำธุรกรรมอะไรที่ดูไม่น่าไว้วางใจ ก็ควรศึกษาให้รอบครอบ หาคนที่มีความรู้เพื่อปรึกษา เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพพวกนี้

ข้อมูล : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท.