“สุริยะ”รอผลการศึกษาสถาบันปิโตรเลียม “ถมทะเล” รองรับทัพลงทุนจากทั่วโลก3,000 ไร่

  • ไม่ใช่ทำเพื่อเอ็กซอนฯรายเดียว 
  • หากผลการศึกษาทำได้ก็เดินหน้า ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องยุติ 
  • หาท่ีตั้งโรงงานราคาถูกให้เอสเอ็มอีในอีอีซี       

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการตรวจเยี่ยมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)ว่า  กนอ.เตรียมลงนามว่าจ้าง สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ทำการศึกษาแนวทางการถมทะเลบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง 3,000 ไร่ อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่นอกเหนือจากเป็นการถมทะเล รองรับการลงทุนของกลุ่มเอ็กซอน โมบิล คอร์ปอเรชั่น ที่จะขยายการลงทุนปิโตรเคมีในไทยมูลค่า 330,000 ล้านบาท ในพื้นที่ดังกล่าว ยังเป็นการศึกษาเพื่อรองรับ การลงทุนจากนักลงทุน ท้ังในและต่างประเทศในอนาคต ที่เป็นการเปิดกว้างอีกด้วย โดยคาดว่าใช้เวลาศึกษา 6 เดือน
 

“ขณะนี้เอ็กซอนฯ มีโรงกลั่นน้ำมัน อยู่แถวท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา การที่เขาจะขยายลงทุนก็เลยอยากได้พื้นที่เพิ่มอีก 1,000 ไร่ และต้องการพื้นที่ที่ใกล้เคียงการลงทุนเดิม แต่ขณะนี้พื้นที่บนฝ่ังก็เต็มหมดแล้ว ก็เลยต้องมองเรื่องถมทะเล ผมเห็นว่าการศึกษา ควรมองพื้นที่เพิ่มเติมไปเลย ที่ไม่ใช่รองรับกับเอ็กซอนรายเดียว และหากผลการศึกษาออกมา ที่ต้องดูให้รอบคอบ ท้ังเรื่องของสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจโดยรวม ว่าสามารถดำเนินการได้จึงจะเดินหน้า แต่หากผลศึกษาไม่เห็นด้วย ทุกอย่างก็ต้องหยุดทันที” 
               

สำหรับกรณีที่มีกระแสต่อต้านการถมทะเล ขอชี้แจงว่า หากผลศึกษาออกมาแล้วเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวม ก่อให้เกิดการจ้างงานและพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ก็พร้อมจะเดินหน้า ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับผลการศึกษา และการถมทะเลหากเกิดขึ้น ก็ไม่ได้ถมให้นักลงทุนฟรีๆ เพราะต้องคิดค่าเช่าจากนักลงทุน
             

นอกจากนี้ ยังได้มอบให้กนอ.ไปจัดหาพื้นที่รองรับการลงทุน ของเอสเอ็มอี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการลงทุน โดยขอให้พิจารณาค่าเช่าที่ดิน ราคาที่ต่ำกว่าราคาท้องตลาด ซึ่งให้กนอ.พิจารณางบประมาณ ที่มีอยู่หากไม่พออาจจะพิจารณาของบจากรัฐเพิ่มเติม เบื้องต้นในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)กนอ.ก็มีการลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค 1,500 ไร่ ที่จะกันพื้นที่ส่วนหนึ่งมารองรับเอสเอ็มอี ให้มีที่ยืนในการลงทุน 
              

ล่าสุด ได้หารือกับผู้บริหารบริษัทปตท. จำกัด(มหาชน)เพื่อร่วมกัน เชื่อมโยงการพัฒนาเอสเอ็มอีในอีอีซีไปสู่การเพิ่มมูลค่าในสินค้าเกษตรแปรรูป ด้วยการนำระบบห้องเย็น มาบริหารจัดการ ซึ่งนิคมฯสมาร์ทปาร์ค ก็รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่เน้นการเพิ่มมูลค่าอยู่แล้ว เช่นการเก็บผลไม้สด ,ดอกไม้สด ท่ีมีอายุการจำหน่ายส้ันๆ ให้เข้ามาสู่ระบบห้องเย็นเพื่อยืด อายุในการจำหน่ายท้ังตลาดในประเทศและเพื่อส่งออก ที่ต้องใช้เวลาขนส่งหลายๆวัน เพราะผลไม้หรือดอกไม้สดของไทย เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ เช่นกล้วยหอม เงาะ มังคุด ลำไย  แต่ด้วยเวลาการส่งส่งที่ยาวนาน ทำให้ผิวของผลไม้ดำคล่้ำไม่สวยงาม ไม่ดึงดูดสายตาผู้บริโภค แต่หากผ่านระบบการยืดอายุด้วยห้องเย็น ผลไม้เหล่านี้ จะยังคงความสด สีสรรสวยงามตามธรรมชาติ สร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคมากขึ้น  
              

“ผมเตรียมหารือกับกรมธนารักษ์ ที่จะผลักดันให้ราคาที่ดิน เพื่อการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน(SEZ) ของกนอ.ที่ได้มีการพัฒนาพื้นที่ต่างๆเพื่อรองรับการลงทุนไปยังภูมิภาค ให้มีราคาที่เอื้อต่อการลงทุนมากขึ้น “
               

น.ส.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่ากนอ. กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ถมทะเลกนอ.ได้ดำเนินการแล้ว ในส่วนของท่าเรือมาบตาพุดระยะที่  1 และ 2 แต่ด้วยเป็นการพัฒนาท่าเรือ กฏหมายกำหนดให้รัฐบาลต้องเป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น ดังนั้นกรณีการถมทะเล เพื่อรองรับการลงทุนเอ็กซอนฯ ต้องรอผลการศึกษาจากสถาบันปิโตรเลียมฯก่อน เบื้องต้นมี 3 รูปแบบคือ 1.กนอ.ลงทุน 2.กนอ.ร่วมกับเอกชน 3.เอกชนพัฒนาทั้งหมด
              

“ความคืบหน้าท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่  3 (ช่วงที่1)ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก ในอีอีซีที่ขณะนี้ร่างสัญญาการร่วมทุนของกลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์ จะส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุด พิจารณาได้ในเร็วๆนี้  คาดว่าจะลงนามร่วมทุนได้ในเดือนก.ย.นี้”