“สวนดุสิตโพล” เผยการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้ความเอื้ออาทร ของคนไทยลดลง

  • รอบครัวและสถานศึกษา ควรเป็นจุดเริ่มต้นปลูกฝังค่านิยม
  • สร้างนิสัยความเอื้ออาทรให้เป็นคุณลักษณะของคนไทยอย่างยั่งยืน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ความเอื้ออาทรของคนไทย ณ วันนี้” จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างรวม 1,236 คน เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 12-16 ต.ค. 63

ทั้งนี้สภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ส่งผลให้วิถีการดําเนินชีวิตของประชาชน เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ทําให้ปัจจุบันพบเห็นข่าวปัญหาสังคมมีมากยิ่งขึ้น คนไร้น้ําใจ ขาดความเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “ความเอื้ออาทรของคนไทย ณ วันน้ี”

น.ส. พรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพล รายงานผลการสำรวจพบว่า สาเหตุที่ความเอื้ออาทรของคนไทยลดลง เพราะการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 73.35% รองลงมาคือ การเอาตัวรอด 56.95% โดยความเอื้ออาทรที่ควรเร่งสร้างให้มีเพิ่มขึ้น คือ ความมีน้ำใจ 74.94% วิธีการปลูกฝังความเอื้ออาทรอย่างเป็นรูปธรรม คือ ปลูกฝังในครอบครัว 87.91% ส่วนคนที่ควรทำหน้าที่นี้ คือ ครอบครัว 89.93% รองลงมาคือ สถานศึกษา 84.86%

ความเอื้ออาทรเป็นวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไป ค่านิยมและวิถีประพฤติปฏิบัติก็เปลี่ยนไปด้วย คนแก่งแย่ง เอาตัวรอดกันมากขึ้น กอปรกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำส่งผลกระทบต่อปากท้องชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ทำให้เกิดปัญหาสังคมและปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ ตามมา ครอบครัวและสถานศึกษาจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการปลูกฝังค่านิยมอันดีงามนี้ รวมถึงสถาบันการเมืองเองที่มีหน้าที่บริหารประเทศก็ย่อมมีส่วนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและพัฒนาบ้านเมืองให้ดีขึ้น เพื่อให้คนไทยอยู่ในสถานการณ์บ้านเมืองที่ดีเอื้อต่อการมีน้ำใจอารีต่อกัน

ด้าน ผศ.ดร.ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ความเอื้ออาทร เป็นการแสดงออกของอารมณ์และจิตใจที่สะท้อนความรู้สึกอันดีระหว่างกัน ซึ่งมิได้มีวงจํากัด แต่เพียงกับผู้เป็นที่รักหรือคนในครอบครัวเท่านั้น หากยังแสดงถึงเยื่อใยยึดเหนี่ยวระหว่างกันของคนในสังคมด้วย คนไทย ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีน้ําใจ ชอบช่วยเหลือผู้ท่ีตกทุกข์ได้ยาก โดยเฉพาะเม่ือมีวิกฤติการณ์ใดๆเกิดขึ้น คนไทย พร้อมที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามพละกําลังของตน ความเอื้ออาทรของคนไทยจึงเป็นที่รับรู้รับทราบกันโดยทั่วไปทั้งใน และต่างประเทศ ด้วยสายตาที่ปลอบประโลม รอยยิ้มที่ให้กําลังใจ น้ําเสียงที่แสดงความเข้าใจ เห็นใจและอุ้งมือที่อบอุ่น ล้วนเป็นสิ่งสะท้อนความเอื้ออาทรได้ทั้งสิ้น ผู้รับที่ทุกข์จะคลายทุกข์ผู้รับที่สุขจะสุขยิ่งๆขึ้นไป ความเอื้ออาทรจึงเป็น ความรู้สึกลึกซึ้งยิ่ง ผลการสํารวจนี้ยืนยันได้เป็นอย่างดีถึงบทบาทของครอบครัวและสถานศึกษาซึ่งเป็นสังคมปฐมภูมิ ที่สําคัญยิ่งสําหรับการบ่มเพาะ ปลูกฝัง สร้างนิสัยของความเอื้ออาทรให้เป็นคุณลักษณะของคนไทยอย่างยั่งยืน