สมอ. บังคับมอก.เหล็กเคลือบสังกะสี ท่ีนำไปทำหลังคา ตู้เย็น

  • ป้องกันการเข้าเหล็กเถื่อนทะลัก
  • ส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคไม่ปลอดภัย
  • 5เดือนแรกของปีนี้ นำเข้าแล้ว 1.5 หมื่นล้านบาท

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดให้ เหล็กกล้าทรงแบนรีดเย็นเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อน แผ่นม้วน แผ่นแถบ แผ่นตัด และแผ่นลูกฟูกตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม( มอก. )50-2561 ให้เป็นมอก. ภาคบังคับ มีผลบังคับใช้ต้ังแต่วันที่ 27 ส.ค. นี้ เป็นต้น ทำให้ จากนี้ไป ผู้ประกอบการที่ผลิต หรือนำเข้าต้องขออนุญาตจากสมอ.ก่อนผลิต หรือนำเข้าเท่านั้น เนื่องจากเหล็กชนิดนี้ เป็นวัตถุดิบสำคัญที่นำไปผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น หลังคา ผนัง ตัวถังภายนอกของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ จึงต้องได้มาตรฐาน มอก.เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และปกป้องอุตสาหกรรมเหล็ก ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้

ท้ังนี้ จากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ตั้งแต่เดือนม.ค. – พ.ค.ท่ีผ่านมา มีผู้นำเข้าเหล็กดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยทั้งหมด 117 ราย คิดเป็นน้ำหนักรวม 750,000 ตัน มูลค่า15,100 ล้านบาท นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนของสินค้าต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งวัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนยานยนต์ หากเหล็กดังกล่าวไม่มีมาตรฐาน อาจจะส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าสำเร็จรูปที่จะมีการใช้เหล็กดังกล่าว ในกระบวนการผลิต ซึ่งมีผลกระทบต่อความปลอดภัย ของประชาชน ท่ีเป็นผู้ใช้งานสินค้าดังกล่าว

สำหรับในประเทศไทย มีผู้ประกอบการที่ผลิตเหล็กชนิดนี้จำนวน 11 ราย และในจำนวนนี้มี 9 ราย ได้มายื่นขอใบอนุญาตตามมอก.ใหม่จาก สมอ. แล้ว จึงขอเตือนไปยังผู้ประกอบการ ที่นำเข้าเหล็กดังกล่าว ให้มายื่นขอใบอนุญาตก่อนวันที่มอก. จะมีผลบังคับใช้ เพื่อให้การค้าขายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า สมอ.ขอเตือนไปยังผู้ประกอบการ ที่อาศัยช่องว่างทางกฎหมาย ในระหว่างที่มาตรฐานยังไม่มีผลบังคับใช้ เร่งนำเหล็กดังกล่าวที่ไม่ได้มาตรฐานเข้ามาในประเทศเป็นปริมาณมาก ว่าจะเข้าตรวจสอบโดยละเอียด และจะดำเนินการให้ถึงที่สุดกับผู้ประกอบการที่กระทำผิดกฎหมาย โดยที่ผ่านมาสมอ.ได้ดำเนินการตรวจควบคุมการจำหน่ายสินค้าในกลุ่มเหล็กอย่างเข้มงวด และต่อเนื่อง เพื่อสกัดกั้นสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ก่อนถึงมือผู้บริโภค โดยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2562 – 6 ก.ค. 2563 สมอ.ได้ยึดอายัดเหล็กไม่ได้มาตรฐานแล้ว1,000 ล้านบาท หากเหล็กดังกล่าวถูกนำไปใช้งานจะส่งผลเสียหายต่อความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก